บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
29K
1 นาที
23 พฤศจิกายน 2553
คิดก่อนลงทุน ข้อดี – ข้อเสีย แฟรนไชส์

 

ใครต่อใครต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ยังไปได้ดี คนยังสนใจ
จนทำให้บางครั้งอาจลืมคิดถึงข้อดี ข้อเสีย ของระบบแฟรนไชส์ “พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์” จึงออกมาย้ำกันอีกครั้งด้วยข้อมูลเบื้องต้นง่ายๆ ไว้ถามใจตนเองดูก่อน ก่อนคิดลงทุน
 
 
ข้อดีของระบบแฟรนไชส์ 
  1. ลดความเสี่ยง ซึ่งหลายๆ คนได้บอกว่า ต้องการซื้อทั้งแพ็กเกจ ต้องการซื้ออะไรที่สำเร็จรูป คือ ซื้อแฟรนไชส์แล้วไม่ขาดทุน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เขาคาดหวังว่า ถ้าซื้อแล้วต้องกำไรแน่นอน แต่ไม่ได้ดูถึงปัจจัยอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งต้องมีการวิจัยตลาดก่อน
  2. ได้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและส่วนประสมทางการตลาด เช่น ถ้าเขาจะทำร้านอาหาร เห็นป้ายนี้แล้วจะต้องอร่อย ตรงนี้เขาจะต้องได้ประโยชน์
  3. ประหยัดเวลาและเงิน ใช้แบบระบบบัญชี คือ First in – First out เงินเข้ามาเราต้องเก็บให้นานที่สุด แต่เงินจะออกให้พยายามดึงให้นานที่สุด เช่น การวางบิล
  4. ได้รับความรู้ทางลัด คือ 1 อาทิตย์ คือ การเรียนรู้ แล้ว 1 อาทิตย์ต่อมา คือ การปฏิบัติ
  5. ได้รับสินค้าและระบบธุรกิจที่มีการวิจัยและพัฒนาใหม่ก็คือ ต้องมี Research และ Development ให้กับเขา
 

 
ข้อเสียของระบบแฟรนไชส์
  1. มีข้อจำกัดในการทำงาน ขาดความเป็นอิสระในการเป็นตัวของตัวเอง คือ ตามสัญญาที่ระบุ
  2. ค่าใช้จ่ายสูงในการชำระค่าธรรมเนียมและผลตอบแทน ข้อนี้สำคัญเพราะเงินแต่ละบาทที่เขาได้จ่ายไป แล้วเขาได้อะไรกับมาบ้าง ช่วยอะไรเขาได้บ้าง โฆษณาให้เขาได้บ้าง เพราะทุกอย่างที่เขาจ่ายเขาจะมองว่ามีอะไรกลับมาให้เขาบ้าง
  3. มีโอกาสถูกบอกเลิกสัญญาได้ง่าย ถ้าคุณไม่มีกำหนดในเรื่องการประกันยอดขาย คุณก็จะเกิดปัญหาเหมือนกัน
  4.  ความผิดพลาดของผู้ขายแฟรนไชส์ ที่ผ่านมาคนขายแฟรนไชส์จะมองว่าเห็นโอกาสธุรกิจดี เร่งขายโดยไม่มีระบบที่ถูกต้อง ในฐานะที่เราจะเป็นคนขายแฟรนไชส์ เราจะต้องมองว่าคนซื้อเขาจะมองเราอย่างไร มองว่าเรามีแผนอะไรได้บ้าง สิ่งที่เขามองก็คือ เจ้าของกิจการมีวิสัยทัศน์อย่างไร วิสัยทัศน์ที่จะมองในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อเขาจะได้มั่นใจว่า แฟรนไชส์ที่เขาซื้อมีแผนพัฒนาที่ถูกต้อง
 
ซึ่งการเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ทำไมต้องมีการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของระบบ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ร่วมกันของบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดความรู้ ความชำนาญ คือ แฟรนไชซี และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ คือ แฟรนไชซอร์ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์จากการมาร่วมกันในเชิงธุรกิจ
 
โดยมีแฟรนไชซอร์เป็นผู้ถ่ายทอดหรือสอนความรู้และ ประสบการณ์ของตนเองแก่แฟรนไชซี ทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้ในแนวทางอย่างที่ตนปฏิบัติจนประสบความสำเร็จมา แน่นอนหากธุรกิจใดที่ผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถสอน หรือถ่ายทอดความรู้ของตนที่มีอยู่ออกมาได้ ไม่ว่าด้วยสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดก็ตาม ความเป็นแฟรนไชส์ก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้ การขยายสาขาหรือบริการจึงถูกจำกัดด้วยกังวล ความสามารถของผู้ที่เป็นต้นดำเนินกิจการเท่านั้น
 
หากธุรกิจสามารถสอนและถ่ายทอดได้ แต่การเรียนรู้นั้นต้องใช้เวลานาน หรือคุณสมบัติของผู้ที่จะรับความรู้หรือความถ่ายทอด จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้หรือทักษะที่ค่อนข้างสูง เช่น ต้องเป็นผู้ที่จบปริญญาเอกเป็นอย่างต่ำ หากเป็นเช่นนี้ธุรกิจก็ถูกจำกัดเช่นเดียวกัน
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,103
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,421
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,894
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด