บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.9K
3 นาที
26 มีนาคม 2562
สิ่งที่ต้องพิจารณาและข้อควรปฏิบัติในการทำสัญญาแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/Jpt8vN
 
หากกล่าวถึงสิ่งที่ต้องพิจารณานั้นมีรายละเอียดมากมายที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถปฏิบัติตามสัญญาแฟรนไชส์ได้ และเป็นข้อตกลงที่เป็นธรรม สำหรับประเด็นสำคัญๆ ที่ผู้ซื้อ แฟรนไชส์จะต้องตรวจสอบ มีหัวข้อหรือกลุ่มของข้อตกลงที่สำคัญมาก ดังนี้
 
1.ระยะเวลาของข้อผูกมัด


ภาพจาก perncoffee.com

คือ ช่วงเวลาที่สัญญาหรือนิติกรรมมีผลบังคับใช้ในการทำสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์ ผู้ขายแฟรนไชส์มักจะกำหนดช่วงระยะเวลาของสัญญาให้มีระยะสิ้นสุด ดังนั้น หากมีช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป แฟรนไชส์ซีก็อาจจะไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน หรือเสียโอกาสที่จะทำกำไรเพิ่มเติมทั้งที่ธุรกิจไปได้ดี
 
2.ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์-การลงทุน-ส่วนแบ่ง-ค่าตอบแทนอื่นๆ

การกำหนดที่เป็นตัวเลขที่แน่ชัดในสัญญา จะช่วยทำให้แฟรนไชส์ซีสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแฟรนไชส์ซอร์อาจจะมีข้อความในสัญญาที่เขียนทำนองว่า แฟรนไชส์ซอร์จะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเลข หรือเงื่อนไขในสัญญาได้ตามความเหมาะสม
 
3.ข้อผูกมัดในการซื้อสินค้า, อุปกรณ์, เครื่องจักร, เฟอร์นิเจอร์


ภาพจาก goo.gl/8j7szY

การที่แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสิ่งเหล่านี้จากแฟรนไชส์ซอร์ ก็จะได้ประโยชน์หลายด้านจากที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว แต่ก็อาจจะเป็นการเสียเปรียบหากแฟรนไชส์ซอร์แอบแฝงบวกกำไรหรือผูกมัดแฟรนไชส์ซีจนไม่สามารถหา ซัพพลายเออร์รายอื่นมาขายซัพพลายให้แทนได้ บางครั้งก็ทำให้เกิดความไม่สะดวกในทางปฏิบัติงาน

เช่น ต้องใช้เฟอร์นิเจอร์จากผู้รับเหมาที่อยู่ต่างถิ่น  ทำให้แฟรนไชส์ซีไม่สะดวกต่อ การควบคุมดูแล หรือต้องใช้วัตถุดิบ อาทิเช่น ขนมปังที่ใช้ในการทำฮอทดอก ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งทำให้ต้องใช้รถไปซื้อเพียงขนมปังจากอีกจังหวัดหนึ่ง เพราะในจังหวัดนั้นไม่มียี่ห้อดังกล่าวขาย
 
4.เงื่อนไขการชำระเงิน

ทุกการชำระแฟรนไชส์ซีจะต้องตรวจสอบว่า  สามารถและสะดวกในการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องคุยกันให้ละเอียดถึงขั้นตอนวิธีปฏิบัติ ตลอดจนเอกสารที่จะใช้ต่อกัน และให้ฝ่ายบัญชีทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยกันก่อน เพราะแผนกการเงิน-บัญชีแต่ละแห่ง ก็มักจะอ้างระเบียบปฏิบัติตามแบบฉบับของตน จนมักจะทะเลาะกันในภายหลัง
 
5.ความช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอร์


ภาพจาก goo.gl/images/fUKwr9

สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์บางฉบับ ก็จะมีการระบุ ถึงว่า แฟรนไชส์ซีจะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้างจากแฟรนไชส์ซอร์ อย่างไร และเมื่อใดบ้าง แต่เท่าที่สังเกต ส่วนใหญ่ก็จะเขียนไว้เพียงกว้างๆ

ดังนั้น ความคาดหวังที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับ จึงมักจะสูงกว่าสิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ให้จริง ทางที่ดีควรจะมีการประชุมเพื่ออธิบายและตอบข้อสงสัยให้เข้าใจกันก่อน แล้วมีการทำบันทึกรายงานการประชุมไว้ด้วย ก็จะเป็นการป้องกันการหลบหลีกของแฟรนไชส์ซอร์ในวันหลัง
 
6.ข้อต้องและข้อห้ามปฏิบัติหลังจากทำสัญญา

แฟรนไชส์ซีจำนวนมากมักจะไม่ได้อ่านสัญญาให้ละเอียด ดังนั้น เมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินการจริง แฟรนไชส์ซีจึงอาจเกิดความอึดอัด หรือไม่ก็ทำผิดข้อตกลงในสัญญา ทางที่ดีแล้ว ข้อความใดในสัญญาที่แฟรนไชส์ซีคิดว่าอาจจะปฏิบัติไม่ได้ ควรจะมีการแก้ไขหรือยกเลิกข้อนั้นจะดีกว่า

สำหรับข้อห้ามนั้น บางสัญญามีการห้ามถึงขนาดหลังจากแฟรนไชส์ซีเลิกธุรกิจแฟรนไชส์นั้นแล้ว ยังต้องห้ามประกอบธุรกิจชนิดเดียวกันอีกเป็นระยะช่วงเวลาหนึ่งอีกด้วย หรืออาจต้องขายหรือส่งคืนสินค้า วัตถุดิบ วัสดุ เครื่องจักร ฯลฯ แก่แฟรนไชส์ซอร์ด้วย
 
7.ข้อกำหนดที่จะถูกบอกเลิกสัญญา 


ภาพจาก goo.gl/images/ZChGhG

จะต้องระวังไว้ให้มาก ๆ และบ่อยครั้งที่แฟรนไชส์ซอร์จะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพียงแค่แฟรนไชส์ซีไม่สามารถทำยอดขายหรือสั่งซื้อได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งบางกรณีแฟรนไชส์ซอร์ก็ไม่ได้เอาปัจจัยเรื่องดินฟ้าอากาศ ภาวะเศรษฐกิจ ฯลฯ มาพิจารณา ทั้งที่ต้นเหตุเกิดจากภาวะที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ธุรกิจเกิดการสะดุดในบางช่วง เช่น เคยมีผู้ลงทุนแฟรนไชส์เจ้าหนึ่งไปกว่าห้าล้านบาท ต้องถูกบอกเลิกเพราะขายไม่ถึงเป้า
 
8.ข้อกำหนดและค่าใช้จ่าย

เมื่อจะต่อสัญญาแฟรนไชส์ซีจำนวนมาก มักจะไม่สนใจข้อนี้ แต่ในความเป็นจริง ระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาหากยาวเพียงไม่กี่ปี ถือว่าสั้นมากในเชิงธุรกิจ หากเงื่อนไขในการต่อสัญญา แฟรนไชส์ซีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกมากแล้ว ทางที่ดีก็ไม่ควรตกลงทำสัญญา หรือไม่ก็ขอเจรจาต่อรองแก้ไขให้เรียบร้อยไว้เลยจะดีกว่า

อนึ่ง จะต้องตรวจสอบด้วยว่า สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างกัน หากแฟรนไชส์ซีจะเลิกสัญญาก่อน จะต้องเสียค่าปรับหรือมีความเสียหาย อะไรเกิดขึ้นบ้าง และแฟรนไชส์ซี สามารถจะโอนสิทธิการซื้อแฟรนไชส์ไปให้ผู้อื่นได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไร เพราะอาจเป็นไปได้ที่วันหนึ่งข้างหน้า แฟรนไชส์ซีอาจจะอยากเลิกทำธุรกิจนี้แล้ว หรือติดปัญหาจำเป็นบางประการที่จะต้องเลิกธุรกิจก่อนกำหนดในสัญญา
 
9.พื้นที่ที่ได้สิทธิในการขาย/ให้บริการ


ภาพจาก goo.gl/images/yh23nn

หากสัญญาแฟรนไชส์ไม่ใช่ประเภท ซับแอร์เรียแฟรนไชส์ (Sub-Area Franchise) หรือ มาสเตอร์ (Master Franchise) ซึ่งจะมีการระบุพื้นที่ที่อนุญาต ให้แฟรนไชส์ซีดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว และในสัญญาแฟรนไชส์ไม่มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า แฟรนไชส์ซอร์จะไม่อนุญาตให้มีแฟรนไชส์ซีรายใหม่ในบริเวณเดียวกันแล้ว แฟรนไชส์ซีก็จะเกิดการเสียเปรียบอย่างมาก เพราะอาจจะมี แฟรนไชส์ซีรายใหม่เข้ามาแย่งลูกค้าของตนไป

ดังจะเห็นได้ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ที่จะมีเปิดติดๆ กัน และมีทั้งในตึกแถวในปั๊มน้ำมัน ในอาคารสำนักงาน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ห่างกันไม่ถึงร้อยเมตร
 
ข้อควรปฏิบัติในการทำสัญญาแฟรนไชส์


ภาพจาก facebook.com/akichamilktea
 
เนื่องจากสาระสำคัญของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนมากจะถูกระบุไว้ในสัญญาที่ทำต่อกัน และหากเกิดปัญหาขึ้นเมื่อใด สัญญาเท่านั้นที่จะใช้อ้างอิงทางกฎหมายได้ดีที่สุด พยานบุคคลหรือสิ่งอื่นๆ ย่อมใช้อ้างอิงสู้ตัวสัญญาไม่ได้ในส่วนใหญ่ของคดีความ ขณะเดียวกัน ที่คนไทยส่วนใหญ่ มักขาดความรู้เรื่องกฎหมาย และละเลยความสำคัญของการทำนิติกรรมสัญญา ผู้เขียนจึงขอให้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำสัญญาแฟรนไชส์ไว้ ดังนี้
  1. ยิ่งเป็นสินค้าหรือบริการที่มีชื่อเสียง ข้อกำหนดยิ่งสูง ยิ่งต้องระวัง
  2. ไม่ควรทำสัญญาที่มีระยะเวลาสั้นหรือยาวเกินไป
  3. ควรเจรจาต่อรองให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด ถ้าปฏิบัติไม่ได้อย่าเซ็น
  4. เก็บสัญญาให้ดี นำออกมาศึกษาทบทวนบ้างว่ามีการทำผิดสัญญาหรือไม่
  5. ปัจจุบันมี พรบ.สัญญาไม่เป็นธรรมบังคับใช้แล้ว อนาคตจะมี พรบ.แฟรนไชส์
  6. ไม่ว่าทำสัญญาอะไร ควรใช้ทนายความช่วยตรวจสอบ
 
ก็อย่าลืมนะครับ สุภาษิตไทยที่ว่า “กันดีกว่าแก้” การซื้อแฟรนไชส์ไม่ว่าจะใช้เงินลงทุนมากหรือน้อย ก็ล้วนแต่ต้องใช้เงินลงทุนและต้องเสียทั้งเวลา กำลังกาย กำลังความคิด โดยหวังไว้ว่าจะประสบความสำเร็จในธุรกิจ ไม่ได้อยากเป็นความบนโรงบนศาล การทำสัญญาที่เสียเปรียบจึงเท่ากับข้อต่อสู้ในทางกฎหมายอ่อนด้อย หากให้ผู้รู้มีประสบการณ์หรือทนายความเข้าช่วยสักนิด ถึงแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง ก็น่าจะดีกว่าเซ็นสัญญากันไปโดยที่ตนเองไม่ได้เข้าใจในรายละเอียดที่ดีพอ
 
ข้อคิดอีกประการหนึ่งของการทำสัญญาแฟรนไชส์คือ การทำสัญญาที่มีข้อตกลงที่ยุติธรรม น่าจะก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในระยะยาว เพราะเราต้องไม่ลืมว่า แฟรนไชส์ซีเองก็สามารถเห็นข้อเปรียบเทียบสัญญาแฟรนไชส์ของบริษัทอื่นที่ขายแฟรนไชส์เช่นกันได้ไม่ยาก การทำสัญญาที่ยุติธรรมย่อมจะนำมาซึ่งความยอมรับของทุกฝ่ายและแม้กระทั่งความภาคภูมิใจของฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์เอง


Mike Leven
ภาพจาก goo.gl/images/Vu2fmg

ดังเช่นที่ Mike Leven ผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจโรงแรมที่มีการขายแฟรนไชส์มายาวนาน และเขาสามารถทำให้สัญญาการขายแฟรนไชส์ของเขาเป็นที่ยอมรับ ของแฟรนไชส์ซี จนกระทั่งมีธุรกิจโรงแรมอื่นๆ นำสัญญาของเขาไปเป็นต้นแบบของสัญญาขาย แฟรนไชส์โรงแรมอื่นแม้กระทั่งโรงแรมที่เป็นคู่แข่งของเขา
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,467
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,575
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,270
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,241
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด