บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.7K
2 นาที
28 มีนาคม 2562
ซื้อแฟรนไชส์ดีกว่าเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเอง จริงหรือ?

 
การซื้อแฟรนไชส์ถือเป็นทางลัดในการเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยโอกาสในการสร้างผลกำไรที่มีมากขึ้น แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่แบรนด์แฟรนไชส์ที่เลือกลงทุนด้วย เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่เห็นว่ามีผลกำไรทุกวัน แต่พอคุณซื้อมาเริ่มต้นธุรกิจ กลับขายไม่ได้ ไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ในที่สุดคุณก็เจ๊งอยู่ดี แม้ว่าสาขาแฟรนไชส์ต่างๆ ยังอยู่และทำยอดขายได้ดี
 
แต่ถ้าถามว่าการซื้อแฟรนไชส์ดีกว่าการสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเองหรือไม่ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะวิเคราะห์ให้ดูว่า การซื้อแฟรนไชส์ดีหรือไม่ดีกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง และคนซื้อแฟรนไชส์จะร่ำรวยอย่างแท้จริงหรือไม่

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
พื้นฐานของระบบแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/k3qpBH
 
ระบบการทำงานของแฟรนไชส์ แม้ว่าธุรกิจจะไม่ใช่ประเภทเดียว ยี่ห้อแตกต่างกัน แต่พื้นฐานการทำงานเหมือนกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามประเภทของธุรกิจ แต่ที่เหมือนกันก็คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า เพื่อแลกกับการรับสิทธิ์การบริหารแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ หรือขายผลิตภัณฑ์และบริการเดียวกันกับบริษัทแม่แฟรนไชส์ 
 
แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามนโยบายบางประการของบริษัทแม่ เช่น ทำเลที่ตั้ง การซื้อวัตถุดิบ ราคาขาย การจ้างพนักงาน และอื่นๆ แต่ถ้าแฟรนไชส์ที่ซื้อมาเริ่มต้นเมื่อไหร่ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็จะมีบทความในการบริหารจัดการร้าน รวมถึงการตัดสินใจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และอาจจะได้รับสิทธิ์บางส่วนหรือทั้งหมดของกำไรที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์สร้างขึ้น 
 
ศักยภาพในการสร้างรายได้ระยะยาว


ภาพจาก goo.gl/images/vGgTsw
 
ความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ทั่วโลก ดูเหมือนว่าจะเปิดโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ในระยะยาว เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบต่างๆ ให้แต่ละสาขาเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน 
 
ขายสินค้าชนิดเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างตามสภาพพื้นที่ ในอเมริกาเห็นได้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์นับพันแบรนด์ ใช้ระบบแฟรนไชส์ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง เพื่อรองรับการเกษียณอายุ และมีเงินใช้อย่างเพียงพอ 
 
แต่แน่นอนว่า ตัวเลขของการทำกำไรที่แท้จริง ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจแต่ละประเภทสามารถทำเงิน และมีรายรับก่อนหักภาษีแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม ในสหรัฐอเมริกากลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสันทนาการ พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ มีรายได้ก่อนหักภาษีเฉลี่ย 38,471 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีรายได้ก่อนหักภาษีพุ่งสูงถึง 106,000 ดอลลาร์สหรัฐ  
 
นอกจากนี้ ในเรื่องของงบการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรม พบว่าธุรกิจที่มีค่าใช้ในการลงทุนในการเริ่มต้น มีตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์หรือมากกว่านั้น แต่ก็ไม่ได้สร้างผลกำไรมากนัก เมื่อเทียบกับงบการลงทุนที่น้อย อีกทั้งยังมีธุรกิจที่สร้างยอดขายเพียงแค่ 100,000 ดอลลาร์ แต่กลับมีกำไรสุทธิถึง 50% เรียกว่ากำไรครึ่งต่อครึ่ง 
 
ข้อจำกัดของการซื้อแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/5PPq1r
 
การซื้อแฟรนไชส์ดูเหมือนว่า จะสามารถสร้างความมั่นคงให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ตามโมเดลที่วางเอาไว้ แต่อย่างก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ 
 
โดยเฉพาะผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า รวมถึงค่าสิทธิรายเดือน ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้าน รวมถึงต้องถูกบังคับให้ซื้อวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์ด้วย หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ที่ออกแบบค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าไว้ต่ำหลักหมื่นถึงหลักแสนบาท แต่ค่าตกแต่งร้านกำหนดไว้สูงมากหลักล้านบาทขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านบาทในการเปิดธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์กาแฟ ค้าปลีก รวมถึงแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น 
 
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และงบลงทุนก่อนเปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


ภาพจาก facebook.com/teeleksalapao
 
ขณะที่หลายๆ แฟรนไชส์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เป็นคีออสข้างถนน หรือใช้พื้นที่น้อยในการเปิดร้าน แฟรนไชส์กลุ่มนี้จะมีอัตรากำไรค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มรโอกาสสร้างความมั่งคั่งได้ยากมาก เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ขายสินค้าและบริการในราคาต่ำ จึงจำเป็นต้องอาศัยจำนวนลูกค้าเข้ามาซื้อและใช้บริการจำนวนมาก แต่ข้อจำกัดคือรายได้อาจไม่สม่ำเสมอ 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ www.thaifranchisecenter.com/search_invest/index.php


ภาพจาก goo.gl/images/2S3Fz9
 
ประการสุดท้ายที่จะเป็นอุปสรรคความมั่งคั่งของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ ตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง เพราะมองว่าการซื้อแฟรนไชส์มีสูตรความสำเร็จให้อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าถ้าเลือกทำเลที่ตั้งไม่ดี ไม่มีศักยภาพ ก็อาจทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาเจ๊งได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะแฟรนไชส์ค้าปลีก บริการ อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้ต้องอยู่ในพื้นที่คนพลุกพล่านจำนวนมาก 
 
จะเห็นได้ว่า การซื้อแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ไม่ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เพียงแค่เลือกแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในวงกว้าง ก็สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ แต่ก็อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ดังๆ ถ้าเลือกทำเลไม่ดี รวมถึงบริการจัดการร้านไม่เป็น ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทแฟรนไชส์ โอกาสที่จะล้มเหลวก็มีมากเช่นกัน      
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล goo.gl/a5C1qL
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด