บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
7.0K
2 นาที
11 มิถุนายน 2555
ทฤษฎีการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทำยังไง?

กระบวนการแฟรนไชส์เป็นการขยายธุรกิจบนข้อจำกัดที่มีความต้องการพื้นฐานที่ต้องขยายธุรกิจครอบคลุมพื้นที่ของตลาดให้ได้มากที่สุด แต่การบริการหรือสินค้ามีความจำเป็นที่ต้องกระจายการผลิตด้วยตนเองของแต่ละพื้นที่ และจะต้องมีการควบคุมเงื่อนไขต่างๆที่มีรายละเอียด ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างมาตรฐานการนำเสนอสินค้าและบริการในทุกๆสาขาได้ด้วย สิ่งที่องค์กรจะต้องมีก็คือ ความได้เปรียบที่ได้รับความนิยมในตรายี่ห้อ หรือด้านต้นทุนจากการร่วมมือของธุรกิจที่มีวิธีการมาตรฐานเดียวกัน (Gary J. Castrogiovanni, 1998)


ในทางทฤษฎีแล้วระบบแฟรนไชส์จะมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหลายด้าน อย่างเช่นทฤษฎีด้านการบริหารแหล่งทรัพยากรหรือ Resource Scarcity ที่จะอธิบายถึงสภาพธุรกิจที่ขาดแคลนด้านเงินทุน กำลังคน ในการขยายธุรกิจจึงนำเอากลยุทธ์ด้านแฟรนไชส์มาใช้เพื่อขยายงานด้วยการใช้พลังการรวมตัวจากระบบสมาชิกระบบแฟรนไชส์เอง

แนวคิดอีกด้านเกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารทรัพยากรของธุรกิจนั้น Wernerfelt (1984) ผู้ที่พัฒนาแนวคิดการสร้างทฤษฎี Resource-based view ที่พูดถึงกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบด้วยการผสมผสานทรัพยากรที่องค์กรสร้างขึ้นหรือมีอยู่ที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ มีความยากต่อการสร้างขึ้นใหม่ ด้วยทรัพยากรดังกล่าวจึงทำให้องค์กรแตกต่างและสร้างความได้เปรียบทางการค้าขึ้นมาได้(Banny,1991)


เมื่อไรก็ตามองค์กรสร้างความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจหรือแม้แต่การควบคุมแหล่งวัตถุดิบให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เป็นของเฉพาะตัวทำให้กระบวนการบริหารแฟรนไชส์ก่อเกิดขึ้นมาด้วย การสร้างธุรกิจด้วยการให้สิทธิ์กับผู้ที่ต้องการมีกระบวนการอย่างที่องค์กรนั้นๆมี จึงกลายเป็นเรื่องของการให้สิทธิ์ไปโดยปริยาย
         
สำหรับอีกทฤษฎีด้านการบริหารตัวแทน(Agency theory) จะให้ข้อสังเกตว่าการบริหารงานที่ต้องใช้ทีมงานที่เป็นพนักงานนั้นอาจจะมีปัญหาในการควบคุมหรือต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานซึ่งคือปัญหาของการทำงานยิ่งต้องมีการบริหารงานที่ต่างพื้นที่มากสาขา การควบคุมให้เป็นไปตามความต้องการนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากธรรมชาติของผู้รับจ้างที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจนั้นย่อมมีความพอใจส่วนตัวและละเลยตามธรรมชาติมนุษย์ที่รักความสบายมากกว่าจะยอมทุ่มเทให้องค์กรตลอดเวลา

 
ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่ธุรกิจจะต้องใช้คนทำงานในรายละเอียดมากเท่าใดค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลก็จะสูง แต่เมื่อธุรกิจที่มีเงื่อนไขเรื่องต้นทุนของตัวสินค้าค่อนข้างต่ำและมีการบริโภคซ้ำต่อเนื่อง การนำแนวทางการบริหารแบบแฟรนไชส์จึงเหมาะกับการขยายตัวมากกว่าทำด้วยองค์กรเอง (Thomas O Hara, and Musgrave, 1990)

นอกจากนั้นเชลตัน (Shelton, 1967) ยังพบว่าสาขาในระบบแฟรนไชส์นั้นมีโอกาสสร้างผลประกอบการได้ดีกว่าสาขาของบริษัทเอง
การสร้างความรู้สึกร่วมที่ทำให้แฟรนไชส์ซีต้องการความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ (Caves and Murphy, 1976)

อีกหลักการในการแก้ปัญหาธุรกิจตามทฤษฏีตัวแทนนั้นก็คือ การที่แฟรนไชส์ซีเป็นผู้ลงทุนเองและจะเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสาขาของตัวเอง แรงจูงใจดังกล่าวสร้างให้แฟรนไชส์ซีมุ่งมั่นมากกว่าการบริหารงานด้วยการใช้ผู้จัดการที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานเข้าไปบริหาร ระบบแฟรนไชส์จึงเป็นการนำเอาศักยภาพของความเป็นเจ้าของ(Entrepreneurial Capacity) มาใช้ในการลดต้นทุนเชิงบริหาร (Norton, 1988, Gilman, 1990 ) แต่การคัดสรรผู้ที่จะเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีนั้นก็จะต้องดูจากความตั้งใจและความสามารถประกอบเพื่อให้ได้นักลงทุนที่มีความพร้อมต่อการทำธุรกิจได้จริง

 
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นกลายเป็นวิธีการลงทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการสร้างประโยชน์ของการมีเครือข่ายที่ใช้ตราเดียวกัน สาขาแต่ละสาขาที่เกิดขึ้นนั้นจะได้เปรียบมากกว่าธุรกิจที่เป็นสาขาเดี่ยว เนื่องจากความคุ้นเคยของลูกค้าเป้าหมายที่มีต่อตรายี่ห้อที่เห็นรับรู้หรือเคยใช้บริการในพื้นที่อื่น

ความคาดหวังต่อสิ่งที่จะได้รับในรูปแบบที่พอใจได้ในกระบวนการทางธุรกิจแบบเดียวกัน ความแข็งแรงของธุรกิจจึงเกิดขึ้นประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นแฟรนไชส์ซีก็จะต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริหารให้องค์กรกลางที่เป็นแฟรนไชส์ซอร์นั่นเอง (Cave and Murphy, 1976)

เหตุผลหลักของการสร้างระบบแฟรนไชส์เมื่อแยกเป็นข้อๆจะสรุปสั้นได้ก็คือ เริ่มจากระบบแฟรนไชส์สามารถแก้ปัญหาด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการขยายธุรกิจได้ทั้งในด้านการบริหารและเงินทุน ในเหตุผลต่อมาคือ ระบบแฟรนไชส์จะช่วยลดต้นทุนในการควบคุมดูแลสาขาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่กระจายตัวห่างออกไป ความสะดวกที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบระบบงานให้มีความง่ายต่อการดูแลด้วยแฟรนไชส์ซี แต่สามารถควบคุมมาตรฐานได้จริง แฟรนไชส์เป็นระบบที่ต้องมีต้นทุนการบริหารในด้านการสร้างกระบวนการสนับสนุนธุรกิจให้กับสาขาในระบบ จากรูปแบบของการควบคุมด้วยทีมงานกลายเป็นสนับสนุนดูแล รูปแบบและการวัดเป้าหมายพร้อมทั้งวิธีการแก้ไขก็จะแตกต่างกันออกไป


ที่สุดแล้วการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีจึงกลายเป็นความสำคัญ เนื่องจากสิทธิ์ที่มอบให้กับบุคคลที่กลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีนั้นไม่สามารถบังคับได้ตามลักษณะการว่าจ้างแต่ต้องเป็นการโน้มน้าวสร้างความเข้าใจ ความสำเร็จของระบบแฟรนไชส์ทั้งระบบก็จะขึ้นอยู่ที่ว่าแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่ใช่เน้นกันแต่จำนวน หรือขยายสาขาให้มากเข้าไว้ จะกลายเป็นข้างนอกสุกใส ข้างในกลับ.......กลวง


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,679
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด