บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.6K
3 นาที
18 กรกฎาคม 2562
30 วัน ทำแฟรนไชส์พร้อมขาย!
 

สังเกตหรือไม่ว่า เมื่อร้านขายดี มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของร้านหลายๆ ราย หรือ บางกิจการมักมีแผนขยายธุรกิจ ขยายกิจการ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และถ้าคิดจะขายแฟรนไชส์ ก็ไม้รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นทำอะไรก่อนบ้าง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอวิธีการขยายธุรกิจด้วยการสร้างแฟรนไชส์ แบบเร่งด่วน! ภายใน 30 วัน พร้อมขายได้ทันที ซึ่งการออกแบบธุรกิจให้เหมาะกับระบบแฟรนไชส์ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการสร้างโอกาสความสำเร็จ
 
1.ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์


การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงาน ที่มีความอดทนและมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เมื่อคุณมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ คุณก็จะตัดสินใจได้ว่าทำไมธุรกิจคุณต้องขายแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย อีกทั้งคุณยังต้องมีเงินทุนที่มากพอ ทั้งการสร้างแบรนด์ การขยายสาขาต้นแบบ 
 
ซึ่งเงินทุนจะใช้เป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดให้ธุรกิจของคุณมีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ก่อนที่จะขายสิทธิให้กับคนอื่น 
 
สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในการสร้างแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก! bit.ly/2GhQrbz
 
2.สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์


สิ่งที่จะพิสูจน์เรื่องของการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ก็คือ การสร้างร้านต้นแบบ ถือเป็นการจัดระเบียบธุรกิจใหม่ จากที่เคยทำอยู่เดิม เพื่อวางระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐานรูปแบบเดียวกันทุกสาขา เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน
 
การออกแบบการทำงานของร้านต้นแบบ จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานชัดเจนขึ้น เห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไรขาดทุนชัดเจนมากขึ้น ทำให้เห็นข้อดีข้อเสียของระบบงานที่คิดขึ้นมา มีประโยชน์ในการศึกษารายละเอียด และผลตอบรับในทุกแง่มุม 
 
ร้านต้นแบบ สามารถนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน จากรายละเอียดในการลงทุน อาทิ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ลูกค้ากี่คนถึงจุดคุ้มทุน ยอดขายต่อเดือนที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และควรมีเป้าหมายลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่
 
3.กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์


ก่อนที่จะตัดสินใจคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องตรวจสอบถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างรอบคอบ และความเป็นไปได้ว่าค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ หากแฟรนไชส์ซีอยู่ต่างประเทศ ก็จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แตกต่างจากในประเทศ 
 
การคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ จะมีค่าใช้จ่ายๆ อื่นมาประกอบด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาด และรูปแบบพื้นที่ในแต่ละเขต เมื่อต้องลงทุนต้องแม่นยำเรื่องตัวเลขขนาดตลาด คุณภาพของทำเลให้ดี เพื่อให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ยอดขายที่จะเกิดขึ้นในสาขาที่สำรวจนั้นจะเป็นเท่าไร 
 
ค่าใช้จ่ายต่อมาที่มีผลต่อเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ คือ เรื่องการอบรมทีมงาน ในการจัดอบรมอาจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ระหว่างการฝึก และค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าสอนของทีมงาน ทั้งภายนอกภายในที่ต้องจัดขึ้น อีกทั้งหากเป็นการฝึกงานในสถานที่จริง ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เป็น เช่น ค่าดำเนินการสามารถคิดเป็นต่ออาทิตย์  
 
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องใช้อีกเรื่อง คือ การเตรียมเปิดสาขา ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายของทีมงานอย่างน้อยก่อนวันเปิดอย่างน้อย 2 วัน อาทิ ค่าเครื่องบิน ค่าวิทยากร ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าแรงงานพิเศษ เป็นต้น
 
4.ออกแบบกระบวนการบริหารงาน


การออกแบบกระบวนการบริหารงานนับเป็นหัวใจสำคัญของแฟรนไชส์ ธุรกิจที่จะสร้างแฟรนไชส์ต้องรู้จัก “ออกแบบกระบวนการทำงาน” หรือ Systematic Management คือ ต้องรู้จักบริหารจัดการให้เป็นรูปแบบเชิงระบบให้ได้
 
นักการตลาดส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญแต่การสร้างแบรนด์ แต่เมื่อลงมือทำจริงๆ กลับควบคุมคุณภาพไม่ได้ เป็นผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุมคุณภาพไม่ได้ เพราะสร้างแต่การตลาด แต่ไม่ได้สร้างระบบงานรองรับ ดังนั้น การสร้างระบบและขั้นตอนการทำงานจึงต้องละเอียด เข้าใจง่ายและทำเป็นลายลักษณ์อักษร ถ่ายทอดได้ง่าย 
 
5.วางระบบบริหารความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซี


ระบบแฟรนไชส์เป็นกระบวนการที่ต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งผลประโยชน์ คือ เจ้าของแฟรไชส์ช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็จ่ายผลประโยชน์กลับมา ดังนั้น ในธุรกิจแฟรนไชส์หากแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถสร้างประโยชน์กลับมาได้อย่างต่อเนื่องก็จะลำบาก ฉะนั้นแล้วการบริหารความสัมพันธ์ในระบบแฟรนไชส์ นับเป็นอีกเรื่องที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเรียนรู้ วิธีการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีด้วย
 
ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้แฟรนไชส์ซีเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนด้านเครือข่าย และกลยุทธ์ในการจัดการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม แต่ละเครือข่ายอย่าให้ไปทับซ้อนทำเลกันเอง โดยพิจารณาไม่เพียงแต่ระหว่างเครือข่ายแฟรนไชส์ซีของคุณเอง แต่ต้องพิจารณาทำเล เผื่อไปถึงการแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ด้วย
 
6.สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์


สัญญาแฟรนไชส์แม้จะเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนจะขายแฟรนไชส์ เพราะต้องผ่านการเตรียมระบบ ระบบงาน และมีคู่มือการทำธุรกิจก่อน แต่ความสำคัญของสัญญาแฟรนไชส์ ก็คือ เครื่องมือผูกความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่จะมีต่อกัน สัญญาที่ทำร่วมกัน ผู้สร้างแฟรนไชส์ควรมีการออกแบบสัญญาที่ดี มีความยุติธรรมและก่อประโยชน์ในการสร้างอนาคตทางธุรกิจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คุณควรให้นักกฎหมายหรือทนายทำให้ หรือหาบริษัทที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในส่วนนี้ได้ 
 
7.สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี


การขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีการสร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เข้มแข็ง เป็นการคัดกรองผู้ที่มีความเหมาะสมช่วยคุณขยายงานได้จริง หากเลือกไม่ดี แบรนด์ของคุณจะถูกทำลายให้เสียหายหรือลดความน่าเชื่อถือได้ การเป็นคู่ค้าระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ย่อมนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือแก่นักลงทุนคนอื่น 
 
เมื่อคัดเลือกแฟรนไชส์ได้แล้ว แฟรนไชส์ซอร์จำเป็นต้องมีระบบการอบรม และวิธีการทำให้นักลงทุน เป็นนักธุรกิจตามที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ และสุดท้ายก็คือเรื่องของการพัฒนาองค์กรต่อเนื่องจริงจังให้เป็นองค์กรแฟรนไชส์ที่แท้จริง
 
8.สร้างระบบการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี


ภาพจาก facebook.com/ido4idea
 
ต้องยอมรับว่า การซื้อแฟรนไชส์เป็นมากกว่าการซื้อขายธรรมดา เพราะเป็นคู่ค้าคู่ธุรกิจที่จะสร้างอนาคตร่วมกัน เมื่อคุณพัฒนาธุรกิจจนแบรนด์มีความแข็งแรง สามารถสร้างระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่าย แต่หากขาดการวางระบบการฝึกอบรม เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดระบบการทำงานต่างๆ ของธุรกิจไปสู่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โอกาสที่จะล้มเหลวย่อมมีมาก
 
ดังนั้น คู่มือการอบรมดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ก่อนจะเริ่มนำเสนอการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ การถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติงานได้ มีวิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างเหมาะสมเข้าใจง่าย รวมถึงการวางแนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 
 
คู่มือนี้ทำหน้าที่เป็นคู่มือการทำงาน สร้างระบบการอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ รวมไปถึงการสร้างระบบตรวจสอบ เพื่อควบคุมมาตรฐานของร้านตามที่กำหนดไว้ เปรียบเสมือนเครื่องมือควบคุมการทำงานให้ราบรื่น มีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง  
 
ทั้งหมดถือเป็นขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ภายใน 30 วัน พร้อมขายทันที  ไม่ใช่ว่าใครอยากขายแฟรนไชส์ อยู่ดีจะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันได้เลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ 
 
นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สเรียนแฟรนไชส์จากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงเข้ารับการอบรมทำธุรกิจแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน  
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips
  1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์ 
  2. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ 
  3. กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  4. ออกแบบกระบวนการบริหารงาน  
  5. วางระบบบริหารความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซี 
  6. สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์ 
  7. สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี  
  8. สร้างระบบการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,010
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,491
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด