บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.3K
2 นาที
26 สิงหาคม 2562
Economy of scale ในระบบแฟรนไชส์
 

Economy of scale ในมุมเศรษฐศาสตร์ คือ การสั่งผลิตสินค้าในครั้งหนึ่งเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตนั้นถูกลง เท่ากับว่า ทำให้เราขายได้กำไรมากขึ้น เพราะในการผลิตสินค้าในแต่ละครั้ง มีต้นทุนที่แตกต่างกัน ด้วยจำนวนการผลิตวัตถุดิบในช่วงฤดูกาลนั้น ปัจจัยภายนอกทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาต้นทุนในแต่ละครั้ง
 
ดังนั้น หลายๆ ครั้งเราจะเห็นได้ว่า สินค้าเหมือนกันแต่ขายในราคาที่ต่างกัน เหตุผลหนึ่งก็มาจากต้นทุนที่ต่างกันนั่นเอง หรือบางช่วงเวลาที่วัตถุดิบมีราคาถูกลงตามฤดูกาล เราก็สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ย่อมทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะ Economy of scale เป็นการเร่งกระบวนการผลิตให้มากขึ้นภายในเวลาที่เท่ากัน
 
หากพูดถึง Economy of Scale ในระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบกัน รวมถึง Economy of Scale จะสร้างความได้เปรียบ และส่งผลต่อระบบแฟรนไชส์อย่างไรบ้าง   
 
ธุรกิจแฟรนไชส์มุ่งสู่ Economy of Scale ดีอย่างไร


ภาพจาก facebook.com/BCOCENTER
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการขยายสาขา เมื่อมีสาขามากขึ้นจะสั่งผลิตจาก Supplier ได้ราคาที่ถูกลงและจำนวนมาก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการกักตุนสินค้า เพราะถ้ามีสาขาจำหน่ายเยอะ ก็จะทำให้สามารถกระจายสินค้าได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น ธุรกิจไหนที่สามารถสร้างระบบแฟรนไชส์สมบูรณ์แบบ จะสามารถลดต้นทุนจากการบริหารจัดการจำนวนมากได้
 
เพราะหัวใจหลักของระบบแฟรนไชส์ คือ การขยายสาขาให้ได้มาก เพื่อลดต้นทุนตัวเอง กระบวนของการสร้าง Economy of Scale จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ จำนวนหรือสาขาถูกวางเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เพราะว่าระบบแฟรนไชส์ต้องการจำนวน ถ้าทุกสาขาเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจต่ำลงไป นั่นคือประโยชน์ของแฟรนไชส์ ที่มุ่งสู่ Economy of Scale
 
เพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์ เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด


ภาพจาก bit.ly/33Z7uK0
 
โดยทั่วไปแล้ว การบริหารงานในรูปแบบของระบบเฟรนไชส์ สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับเจ้าของสิทธิ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ในการมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าออกไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถผลักภาระ ในส่วนของต้นทุนอาคารสถานที่ ต้นทุนของค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนการบริหารจัดการทางด้านการตลาดให้กับผู้ซื้อสิทธิ 
 
นอกจากนี้ การที่มีจำนวนของผู้ซื้อสิทธิเพิ่มขึ้น ยังเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่เจ้าของสิทธิ จากการเพิ่ม  Economy of Scale อันเกิดจากการที่เจ้าของสิทธิมีต้นทุนการบริหารลดลง เมื่อมีสาขาจำนวนมาก จะกระจายสินค้าและบริการต้นทุนถูกลง
 
ยกตัวอย่างกรณีธุรกิจแฟรนไชส์ค้าปลีก จะเห็นได้ว่า แฟรนไชส์ค้าปลีกที่ขยายสาขาได้มากขึ้นเท่าไร เจ้าของแฟรนไชส์ก็จะได้รับส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ตรงนี้จะเกิดอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์ ซื้อสินค้าในราคาถูกลง เพราะซื้อในจำนวนมาก
 
อีกตัวอย่างบริษัทที่จะได้ประโยชน์ของ EOS ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีสาขาจำนวนมาก จะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะการขนของเที่ยวเดียว สามารถขนส่งได้หลายสาขา ทำให้มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ที่สูงมาก


ภาพจาก Nikkei Asian Review
 
เนื่องจากบรรดา Supplier ทั้งหลาย ย่อมต้องการจะนำสินค้าของตัวเองมาวางขาย ยิ่งทำให้บริษัทมีโอกาสเลือกสินค้าที่ดีที่สุดมาวางขาย ช่วยให้การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะช่วยดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้นอีก 
 
หรือร้านอาหารแฟรนไชส์ที่มีจำนวนสาขามาก นอกจากจะมีต้นทุนการซื้อและขนส่งวัตถุดิบที่ต่ำแล้ว การมีจำนวนสาขามาก ก็ยังทำให้บริษัทคุ้มค่าที่จะลงทุนระบบ IT ซึ่งจะช่วยให้ระดับ Inventories ลดต่ำลง ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีขึ้น ยิ่งทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่า ถ้าเข้าไปใช้บริการแล้วจะไม่ผิดหวัง 
 
แฟรนไชส์แข่งขันแบบ Economy of scale ต้องมี “จุดเด่น”


ภาพจาก facebook.com/nopparat20

จากข้างต้น หลายคนอาจคิดว่า การประหยัดต่อขนาด หรือ Economy of scale (EOS) คือ ปัจจัยหลัก ที่ตัดสินแพ้ชนะ บริษัทไหนขยายสาขาได้มากกว่า จะได้เปรียบ แข็งแกร่ง กำไรมากกว่า เพราะ EOS คือ การผลิตสินค้าจำนวนมากมหาศาล แต่ต้นทุนต่อหน่วยเกือบคงที่ ยิ่งผลิตจำนวนมาก ราคาต่อหน่วยยิ่งต่ำ จึงต้นทุนถูก ได้เปรียบ ชนะคู่แข่งได้ 
 
แต่หลักคิดนี้ ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเมื่อช่วงปี 2558 Tesco บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ซึ่งได้เปรียบเรื่อง EOS เป็นอันดับต้นของโลก ขาดทุนยับเยินกว่า 5 พันล้านปอนด์ช่วงไตรมาสแรกของปี มี market share หรือ ส่วนแบ่งการตลาดดำดิ่ง ลด ตกต่ำลง สะท้อนว่า EOS ซึ่งเคยเป็นจุดเด่น ไม่ได้ทำให้ Tesco เหนือกว่าคู่แข่งอีกต่อไป 
 
แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็คือ จุดอ่อนของ EOS คือ ปริมาณมาก แต่ไม่มี “จุดเด่น” และ “ความแตกต่าง” ที่ชัดเจน แต่ถ้าหลายๆ บริษัทที่เล็กกว่า สามารถสร้าง “จุดเด่น” ที่แตกต่างและดีกว่า Tesco จึงไล่บี้และอัดปลาใหญ่ได้อย่างเห็นได้ชัด 


ภาพจาก bit.ly/2zjovjM
 
ยิ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ด้วยแล้ว หากบริษัทไหน ธุรกิจไหน ที่มุ่งเน้นการสร้างจำนวน หรือการขยายสาขาให้มากที่สุด เพื่อจะได้เปรียบในตลาด แต่ลืมไปว่าระบบภายในต่างๆ ของบริษัทยังไม่เป็นมาตรฐาน มุ่งเอาเงินจากแฟรนไชส์ซีอย่างเดียว แต่ยังไม่มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีที่ชัดเจน และเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา สุดท้ายก็อาจต้องเจ๊งในที่สุดครับ 
 
ที่สำคัญหัวใจของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์นั้น เจ้าของแฟรนไชส์หากต้องการมุ่งสู่ Economy of scale จริงๆ ไม่ควรมุ่งปริมาณอย่างเดียว แต่ต้องโฟกัส และสร้างจุดเด่นของตัวเองให้ชัดเจน มีความแตกต่างด้วยครับ
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,091
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,542
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,598
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
839
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด