บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.7K
1 นาที
18 ตุลาคม 2562
หน้าที่ 9 ข้อสร้างความสัมพันธ์ในระบบแฟรนไชส์


ความสัมพันธ์ คือ เสาหลักของสังคม และเป็นส่วนสำคัญของการดำรงอยู่ของธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ ที่ต้องอาศัยการสร้างพลังจากการรวมตัว กลายเป็นตัวอย่างที่ดีถึงการธำรง ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมีแบบแผน และด้วยความสัมพันธ์ที่มาจากความเข้าใจในกระบวนการของรูปแบบธุรกิจ และความสามารถในการรักษา และการบริหารที่เกิดจากความเข้าใจของแฟรนไชส์ซอร์ จึงจะช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตได้อย่างยั่งยืน
 
การกระทบกระทั่งระหว่างแฟรนไชส์ซีกับแฟรนไชส์ซอร์นั้น เป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ได้มีประสบการณ์ลองผิดลองถูกมาบ้างแล้ว จะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจหาทางจัดการได้เหมาะสม 


ภาพจาก facebook.com/Nbpancake
 
แต่หลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซีในระยะยาว อย่างแรกที่จะขาดไม่ได้ ก็คือ ต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอว่าทั้งสองฝ่ายต้องทำอะไรบ้าง 
 
บทบาทหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์


ภาพจาก facebook.com/ChaTanyong
  1. สำรวจแนะนำและอนุมัติสถานที่ตั้งร้านของแฟรนไชส์ซี 
  2. ออกแบบร้านที่เป็นมาตรฐานให้กับแฟรนไชส์ซี 
  3. แนะนำเรื่องการบริหารพนักงาน และการฝึกอบรมให้แฟรนไชส์ซี 
  4. เป็นผู้ดำเนินการหลักเรื่องการคัดเลือกผลิตภัณฑ์และบริการ 
  5. ประเมินเรื่องผลกำไร เป็นผู้กำหนดราคาสินค้า 
  6. เป็นผู้ติดต่อหาซัพพลายเออร์ ผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบหลักและจัดส่งให้แฟรนไชส์ซี 
  7. วางแผนเรื่องการตลาด ออกแบบโฆษณา ตั้งกองทุนเพื่อการตลาดขององค์กรแฟรนไชส์ 
  8. กำหนดมาตรฐานการทำงาน อบรม แฟรนไชส์ซี ตรวจเยี่ยมแฟรนไชส์ซี 
  9. ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแฟรนไชส์ซี ตามระบบและรูปแบบของธุรกิจ 
 
บทบาทหน้าที่ของแฟรนไชส์ซี


ภาพจาก bit.ly/33HhhDu
  1. ตั้งร้านตามที่ได้รับการอนุมัติจากแฟรนไชส์ซอร์ 
  2. ดำเนินการตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ และลงทุนในการก่อสร้างร้าน 
  3. สรรหา สัมภาษณ์ และดำเนินการจ้างตามกฎหมาย 
  4. อยากนำเสนอผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ ต้องได้รับการอนุมัติจากแฟรนไชส์ซอร์ 
  5. ตั้งราคาขายตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด 
  6. ขายผลิตภัณฑ์ ใช้วัตถุดิบที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ หรือสั่งจากซัพพลายออร์ที่แฟรนไชส์ซอร์อนุญาต 
  7. จ่ายค่าธรรมเนียมการตลาดให้แฟรนไชส์ซอร์ และดำเนินงานตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด 
  8. ดำเนินงานตามมาตรฐาน อบรมพนักงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน 
  9. ดำเนินธุรกิจวันต่อวันตามการแนะนำและสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ 

ภาพจาก bit.ly/2LTQNs8
 
สรุปก็คือ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต่างมีหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานสอดคล้องกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกัน ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์นั้นๆ เหมือนกัน ที่สำคัญแฟรนไชส์ซอร์ต้องให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้ดำเนินธุรกิจได้ราบรื่น ขณะที่แฟรนไชส์ซีก็ต้องทำตามคำแนะนำและกฎระเบียบต่างๆ ของแฟรนไชส์ซอร์

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,686
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด