บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.1K
2 นาที
27 สิงหาคม 2555
บทเรียนทิศทางธุรกิจจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ EU สู่ AEC

ในหลายการประชุมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ผู้ประกอบธุรกิจได้มองหาสูตรสำเร็จในการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน AEC ซึ่งจะมาถึงในอนาคตอันใกล้
 
เพื่อจะตอบคำถาม สหภาพยุโรปดูเหมือนจะเป็นแม่แบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงความแข็งแกร่งในภูมิภาคและบทบาทที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก จนถึงปัญหาวิกฤตหนี้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งหลายสํานักเชื่อว่าระบบเงินสกุลเดียวกันเป็นหนึ่งในสาเหตุ 
 
แม้ว่าภูมิภาคอาเซียนจะมีบริบทที่ต่างจากสหภาพยุโรปตั้งแต่รูปแบบการรวมตัว จนถึงความลึกและลักษณะแวดล้อมต่างๆ แต่เราเองก็ได้เรียนรู้จากบทเรียนดังกล่าวและพร้อมปรับใช้กับ AEC ดังจะเห็นถึงแนวทางที่ชัดเจนว่า เราคงจะไม่ใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันแบบเงินยูโรในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
 
ในส่วนของแนวทางการรวมตัวนั้น สภาพยุโรปมีลักษณะค่อนข้างบังคับ ในขณะที่อาเซียนอาศัยความร่วมมือเป็นหลัก ผลที่ตามมาก็คือความรวดเร็วในการดําเนินการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีเจตนาของการก่อตั้งองค์กรในรูปแบบองค์กรระหว่างประเทศเหนือรัฐมาตั้งแต่เริ่มแรก กล่าวคือมี supra-national authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนรัฐสมาชิกภายในขอบอำนาจและมีผลผูกพันรัฐสมาชิก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันและสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้อย่างสะดวก ในขณะ ที่โครงสร้างการทํางานของอาเซียนนั้นเป็นแบบ intergovernmental method ซึ่งแต่ละรัฐมีฐานะเท่าเทียมกันและทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย การตัดสินใจและการขับเคลื่อนองค์กรจึงเป็นไปได้ช้า และแม้ว่าจะมีแนวคิดพยายามพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรเหนือรัฐ แต่ก็ไม่มีความชัดเจน เป็นเพียงการแสดงเจตนาว่าจะ ปรับเปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น ขาดแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
 
ขณะที่ขอบเขตและลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงตลาดที่แตกต่างจากสหภาพยุโรปจะยิ่งส่งผลต่อความรวดเร็วและความสําเร็จในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น อาเซียนไม่ได้มุ่งเป็นสหภาพศุลกากร (customs union) ที่จะใช้อัตราภาษีนำเข้าเท่ากันกับ ประเทศภายนอกกลุ่ม ก็ยังส่งผลให้ไม่เป็นหนึ่งเดียวกันซะทีเดียว และยังทำ ให้ต้องมีการทำข้อตกลงกับประเทศนอกกลุ่มแยกกันไปอยู่ดี   ในส่วนของปัจจัยเชิงตลาดนั้น แง่มุมที่เห็นได้ชัดเจน คือ การค้าระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเองนั้นมีสัดส่วนเพียง 25% ในขณะที่ของสหภาพยุโรปนั้น ก่อนกลายเป็นตลาดเดียวกันอยู่ที่ประมาณ 55% และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 65% เมื่อรวมตัวกัน สถิติดังกล่าวช่วยให้เห็น ข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า ตลาดของธุรกิจในอาเซียนนั้นอยู่นอกภูมิภาคมากกว่า ซึ่งน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศต่างๆ ไม่เร่งรัดการเปิดเสรีและรวมกลุ่มระหว่างกันมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเริ่มเห็นได้จากการที่หลายประเทศกลับใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (non-tariff barriers) มากขึ้นหลังจากที่ภาษีนำเข้าลดลงเหลือ 0% ไปแล้ว สหภาพยุโรปใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิก ดังนั้นจึงเชื่อว่า กระบวนการศุลกากรที่อาเซียนพยายามไปถึง คงทำได้ไม่รวดเร็วนัก
 
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความลึกของการรวมตัวจะอยู่ที่ร ะดับไหน สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญเหมือนกันจาก การเปิดเสรีก็คือการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เพราะการกลายเป็นตลาดเดียวกันของทุกประเทศในภูมิภาคเสมือนเค้กชิ้นใหญ่ขึ้นที่ธุรกิจจะพยายามขยายและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด และแม้แต่ตลาดที่ตนเองเคยครอบครองอยู่ในประเทศ ก็อาจจะมีธุรกิจจากประเทศอื่นในอาเซียนเข้ามาแย่งชิงตลาดไปได้ในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มีอุปสรรคและมาตรการปกป้องน้อยลง และเอื้ออํานวยการค้าขายขนส่งข้ามแดนมากขึ้น
 
สิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัทชั้นนำในยุโรปอาจจะสะท้อนให้เห็นสิ่งที่อาจจจะเกิดขึ้นในทํานองเดียวกันใน อาเซียน โดยบริษัทชั้นนําในยุโรปหันมาเน้นธุรกิจหลักที่ถนัดมากขึ้นจากเดิมที่ทําธุรกิจหลาย ๆ สาขา และขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มขึ้น กล่าวคือธุรกิจในยุโรป ลดต้นทุนด้วยการมุ่งเน้นธุรกิจหลักที่ตนเองได้เปรียบและใช้ประโยชน์ด้านการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) และการกลายเป็นตลาดเดียวกันในการขยายธุรกิจไปในประเทศต่างๆ ในกลุ่ม โดยในช่วงปำ 1987-2000 บริษัทชั้นนําใน ยุโรปมีความหลากหลายของธุรกิจที่ดำเนินการน้อยลงจากเฉลี่ย 5 สาขาธุรกิจเหลือประมาณ 3 สาขาธุรกิจ แต่ขยายการลงทุนไปยังประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยเพียง 3 ประเทศเป็น 6 ประเทศ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน บริษัทชั้นนํา 15 ลำดับแรกดำเนินกิจการโดยเฉลี่ยใน 3 สาขาธุรกิจและมีการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ  เชื่อว่าเทรนด์ของการปรับโครงสร้างองค์กรน่าจะสอดคล้องกับลดต้นทุนด้วยการมุ่งเน้นธุรกิจหลักที่ตนเองได้เปรียบ แต่ขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกันมากขึ้น
 
นอกจากนั้น กลยุทธ์ที่บริษัทในยุโรปนํามาใช้และประสบความสําเร็จในการเป็นผู้นําตลาดก็คือการให้ ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนา และการทำการโฆษณา โดยพบว่าผลผลิตของ 5 บริษัทอันดับแรกที่เน้นให้ความสำคัญกับ การวิจัยพัฒนาและการโฆษณานั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากประมาณ 30% ก่อนที่ยุโรปจะเป็นตลาด เดียวกันเป็นประมาณ 45% หลังจากเป็นตลาดเดียวกันแล้ว ซึ่งยิ่งแสดงให้เห็นว่า บริษัทขนาดใหญ่มีอำนาจและ ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญจากการใช้กลยุทธ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการโฆษณาที่มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการขยายตลาดไปในประเทศภูมิภาคนั้นการสื่อสารให้ผู้บริโภค รู้จักผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่สำคัญ
 
การแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจาก AEC ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจไทยนัก เพราะเศรษฐกิจไทยเองมีการเปิดกว้าง และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจนอกประเทศมานานแล้ว เพียงแต่ AEC มีรายละเอียดของกฎเกณฑ์ ระเบียบ และมีกำหนดการที่ชัดเจนและเอื้อให้การทําธุรกรรมการค้า การลงทุน ในภูมิภาคเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ในการแข่งขันที่สูงขึ้นนั้น ในทางหนึ่งธุรกิจจำเป็นต้องมีอาวุธที่จะสร้างข้อ ได้เปรียบและทําให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึง การค้นหาตัวเองว่า เราเก่งอะไร ใน ขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาหาความรู้ทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการดูว่า โอกาสทางธุรกิจ อยู่ตรงไหน คู่แข่งและคู่ค้ามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ตามมาจากการเชื่อมโยงทางเศรฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

อ้างอิงจาก  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด