บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
4.2K
3 นาที
2 มกราคม 2563
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! หนี้สินของคนไทย
 

พูดถึงคำว่า “หนี้” ชีวิตนี้คงไม่มีใครอยากเจอ แต่ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ข้อมูลการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้นำข้อมูลช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มาวิเคราะห์กับข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบว่ารายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไทยลดลง ในขณะที่ค่าครองชีพทั้งหลายเพิ่มขึ้น หมายความว่าถ้าเราไม่ใช่คนที่มีรายได้มหาศาล ไม่ได้เป็นเศรษฐีร้อยล้านพันล้าน ไม่ได้มีเงินเดือนทีละครึ่งแสนถึงหลักแสน ความเป็นอยู่ส่วนใหญ่เข้าค่ายชักหน้าไม่ถึงหลังต่อให้พยายามแก้ไขปัญหาการเงินของตัวเองดีแค่ไหน แต่สุดท้ายหลายครอบครัวก็ยังกลาย “เป็นหนี้”
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่า “หนี้สิน” คือภาระที่คอยดึงไม่ให้เราเดินไปข้างหน้าและมีความเป็นอยู่ที่ดีได้ บางคนทำงานหนักก็แค่พอมาใช้หนี้ ไม่มีเหลือกินเหลือเก็บ ไม่ต้องพูดถึงเงินฉุกเฉินยามเจ็บป่วยต่าง ๆสิ่งเหล่านี้คือความกดดันที่คนเดินดินทั่วไปรับรู้เป็นอย่างดี และนี่คือ 10 ความจริงที่คุณไม่รู้! หนี้สินคนไทย
 
1. รายได้ครัวเรือนลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี


ภาพจาก bit.ly/2ZIYRkL
 
ครัวเรือนไทยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 26,371 บาทต่อเดือน ต่อครัวเรือน ลดลง -2.1% รายได้ครัวเรือนลดลงทั้งในส่วนของลูกจ้างและการประกอบธุรกิจ รายได้จากครัวเรือนจาก 22,237 บาทต่อครัวเรือนในปี 2560 เหลือ 21,879 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ลดลง -1.6% รายได้ลดลงน่าจะมาจาก คนทำงานและจำนวนทำงานต่อชั่วโมงเฉลี่ยต่อคนที่ลดลง
 
2. รายได้ลดค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนก็ลดลงในรอบ 10 ปี


ภาพจาก bit.ly/2SHNBnr
 
รายจ่ายนั้นสัมพันธ์กับรายได้ เมื่อรายได้ไม่ดี รายจ่ายก็มีมากไม่ได้ การสำรวจพบว่าครัวเรือนไทยลดการใช้จ่ายลง ครึ่งแรกปี 2562 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,236 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ลดลง -0.9% จาก 21,437 บาทต่อครัวเรือนในปี 2560 อาจลดลงเพราะกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจรวมถึงภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
 
3. ภาะหนี้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 2.6%


ภาพจาก bit.ly/2SI8izs
 
สัดส่วนครอบครัวไทยที่มีหนี้คิดเป็น 46.3% ของครัวเรือนทั้งหมด เรียกว่าเกือบครึ่งของครัวเรือนในประเทศไทยตกอยู่ในภาวะหนี้ และหนักยิ่งกว่าเมื่อหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 353,210 บาทต่อครัวเรือน มาอยู่ที่ 362,373 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 2.6% สำรวจลึกไปอีกว่า สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 96.1% เป็น 97.7% เป็นระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
 
4. หนี้เกี่ยวกับบ้าน การบริโภคเพิ่มขึ้นชัดเจน


ภาพจาก bit.ly/35fHYiQ
 
การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 128,287 บาทต่อครัวเรือน อยู่ที่ 135,312 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยต่อหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 36.3% เป็น 37.3% ส่วนหนี้ด้านการบริโภค ซึ่งก็หมายถึงหนี้รถยนต์ด้วยเพิ่มจาก 137,678 บาทต่อครัวเรือน อยู่ที่ 139,904 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 1.0% สำหรับหนี้เพื่อการบริโภค
 
5. การเก็บออมของคนไทยก็ลดลง


ภาพจาก bit.ly/2sDSQKd
 
สัมพันธ์กันเข้าไปอีกเมื่อรายได้น้อย รายจ่ายเยอะ มีหนี้มากขึ้น เงินเก็บออมก็ต้องน้อยลงเป็นธรรมดา บางคนอย่าเรียกว่าเก็บออมเลยแค่กินให้เดือนชนเดือนยังทำไม่ได้ด้วยซ้ำ อัตราการออมจากสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ 6.4% เป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 โดย 41.3% ครัวเรือนไทยไม่มีการเก็บออมในช่วงครึ่งแรกปี 2562 และเมื่อพิจารณาแยกเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ พบว่ามีสัดส่วนสูงถึง 59.2% ของครัวเรือนที่มีหนี้ ที่ไม่มีเงินออม
 
6. หนี้สินครัวเรือนไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย


ภาพจาก bit.ly/2FchvYT
 
รายงานจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าหนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ และอันดับ 11 ของโลก จาก 74 ประเทศ และหนี้ที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และรถยนต์
 
7. การพัฒนาด้านเทคโนโลยียิ่งทำให้คนเป็นหนี้หนักขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2FbyIBE
 
ในอีกแง่หนึ่งของการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลที่นอกจากมีผลดีในหลายด้านแต่ด้านลบก็คือการทำให้ประชาชนเกิดภาวะ “หนี้” ได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม โดยเฉพาะการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ทำให้คนสามารถเลือกซื้อของได้ผ่านโทรศัพท์มือถือและจัดส่งได้ถึงที่ ความสะดวกสบายเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับที่ต้องเดินทางไปซื้อของอย่างในอดีต
 
8. แก้ปัญหาเรื่องหนี้จากภาครัฐ “ยังเกาไม่ถูกที่คัน”
 
การแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินในฐานะของผู้มีอำนาจไม่ได้วางรากฐานเรื่องการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบแต่กลับส่งเสริมให้คนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบมากขึ้น เปลี่ยนหนี้นอกระบบมาเป็นในระบบ ส่งเสริมสินเชื่อบุคคล สินเชื่อรายย่อย สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยไม่ได้กำกับดูแลหนี้ครัวเรือนในเชิงการลดหนี้ แต่กลับเป็นการลดภาระหนี้ของประชาชนในหนี้ครัวเรือนมากกว่า
 
9. แนวโน้มคนไทย เป็น “หนี้” ยันแก่


ภาพจาก Pixabay
 
งานวิจัยของ “สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อี๊งภากรณ์” ที่พบว่าคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น  เป็นหนี้อย่างยาวนานตั้งแต่อายุน้อยๆ ไปจนแก่ โดยสัดส่วนคนที่เป็นหนี้มากที่สุดคือ “กลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-35 ปี” ซึ่งเป็นหนี้จากสินเชื่ออุปโภคบริโภค และหนี้บัตรเครดิต และมีถึง 1 ใน 5 ที่เป็นหนี้เสียกระจุกตัว โดยเฉพาะหนี้ส่วนบุคคลที่กู้ได้ง่าย ในขณะที่ปริมาณหนี้ต่อหัวก็เพิ่มสูงขึ้น และสูงขึ้นตลอดการทำงาน นั่นแปลว่ายิ่งทำงาน ยิ่งมีรายได้เพิ่ม ก็ยิ่งสร้างหนี้เพิ่มขึ้น แม้เข้าสู่วัยเกษียณระหนี้ก็ไม่ได้ลดลง
 
10. ปี 2563 ภาระหนี้คนไทยยังไม่ดีขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2tlxtNS
 
เป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนทั่วโลก บวกกับทิศทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นบวกขึ้นได้ ประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2563 อยู่ที่ 2.8%  โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยจะอยู่ที่ 78.7 ต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยภาระหนี้อันดับหนึ่งได้แก่บ้านที่อยู่อาศัย  ตามมาด้วยสินเชื่อธุรกิจและภาระสินเชื่อรถยนต์
 
การนำเสนอข้อมูลเรื่อง “หนี้” ของคนไทย ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนท้อแท้ และไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าชีวิตนี้เราจะ “หมดหนี้” ไม่ได้ ในแง่ของหนี้สินเรื่องบ้านซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของคนไทย อย่างน้อยก็เป็นหนี้ดีที่ทำให้เรามีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งการลดภาระหนี้ก็ต้องสัมพันธ์กับเรื่องหารายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น ไม่ใช่โทษแต่พิษเศรษฐกิจอย่างเดียว
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2OK5vSH
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด