บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.8K
3 นาที
20 พฤษภาคม 2563
7 เรื่องเจ้าของธุรกิจต้องรู้! ก่อนทำแฟรนไชส์
 

แฟรนไชส์เป็นระบบการขยายธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเจ้าของกิจการ ไม่จำเป็นต้องต้องใช้เงินลงทุนเอง เพียงแค่ถ่ายทอดความสำเร็จให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ก็จะได้มาซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ รวมถึงค่าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ นั่นจึงทำให้เจ้าของกิจการจำนวนมากสนใจทำแฟรนไชส์มากขึ้น แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนช์นั้น มีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อย ไม่ใช่พอสินค้าและบริการติดตลาดแล้ว ก็ขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นไปเลย 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอ 7 เรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ ก่อนทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์พร้อมขาย 
 
1. ค่าใช้จ่ายสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์


ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องรู้ก่อนว่า คุณไม่สามารถที่จะทำธุรกิจของคุณให้เป็นแฟรนไชส์ง่ายๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง คุณจำเป็นต้องมีทีมงานที่ปรึกษา หรือทนายที่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามาช่วยเหลือ อย่างน้อยถ้าคุณไม่รู้เรื่องกฎหมายหรือสัญญาแฟรนไชส์ที่จะร่างขึ้นมา ก็สามารถใช้บริการทีมกฎหมายหรือทนายเขียนร่างสัญญาแฟรนไชส์ให้กับคุณได้ 
 
ขณะเดียวกัน กระบวนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านการสร้างแบรนด์ การทำตลาด การสร้างทีมงาน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การสร้างสาขาต้นแบบ เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังต้องเข้าอบรมธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ มีการนำธุรกิจให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณสมบัติ ตรวจสอบคุณมาตรฐานว่าเหมาะที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ได้ไหม ดังนั้น ทุกกระบวนการและขั้นตอนอาจต้องมีค่าใช้จ่ายไม่มากก็น้อยครับ 
 
2. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า


 
เครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควบคู่ไปกับการให้สิทธิแฟรนไชส์ ดังนั้น เมื่อธุรกิจของแฟรนไชส์ได้ผ่านการดำเนินการมา ระยะเวลาหนึ่ง ตราสินค้าหรือเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งจากผู้บริโภค ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า ที่ได้รับการยอมรับในตลาดไปด้วย ทำให้ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว 
 
แต่ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ จะให้สิทธิแฟรนไชส์ซีใช้เครื่องหมายการค้าได้ แต่ก็สามาระเรียกคืนเครื่องหมายการค้านั้นๆ กลับคืนจากแฟรนไชส์ซีได้ หากกรณีแฟรนไชส์ซีไม่ทำตามกฎระเบียบ ไม่ทำตามข้อปฏิบัติในสัญญาแฟรนไชส์ 
 
3. การออกแบบเอกสารสำคัญต่างๆ


 
ถือว่าสำคัญมาก เช่น สัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเอกสารนำเสนอขายแฟรนไชส์ (Costing and design of Franchise Agreement Disclosure Document) เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ และต้องลงลึกบ้างพอสมควร รวมทั้งวิชาว่าด้วยการสร้างเครื่องมือประกอบการขายแฟรนไชส์ ต้องเข้าใจเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ เช่น การจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้สิทธิ และเงื่อนไขต่างๆ ของบริษัทที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะรูปแบบข้อบังคับต่างๆ ในต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกัน 
 
4. การสร้างคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์


 
ถือเป็นหัวใจสำคัญและกลายเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมา เพราะจะเป็นกระบวนการทำงานที่คุณทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ จากนั้นคุณก็ส่งต่อให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ เพื่อคงรูปแบบและรักษามาตรฐานในระบบแฟรนไชส์ 
 
คู่มือแฟรนไชส์ยังต้องระบุในเรื่องของการบริหารงานขายงานตลาดแฟรนไชส์ รวมถึงการทำกิจกรรม ไม่ว่าการออกงานแสดงสินค้า ก็ล้วนแต่มีรายละเอียดที่จะมีข้อแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ต้องเข้าใจเทคนิคการคัดเลือกคนที่สนใจร่วมลงทุนกับคุณด้วย เพราะการเลือกแฟรนไชส์ซี ที่ถูกต้องก็เท่ากับวางรากฐานความสำเร็จให้ธุรกิจไปด้วย 
 
5. มีความเข้าใจในเรื่องบัญชีและภาษีแฟรนไชส์


กรณีที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยไทยมีรายได้จากสาขาธุรกิจเเฟรนไชส์ในต่างประเทศ โดยทั่วไปรายได้ที่มักเกิดขึ้นจากธุรกิจเเฟรนไชส์ ก็จะมีค่าเเฟรนไชส์ เพื่ออนุญาตให้ใช้ชื่อและสูตรลับ หรือกรรมวิธีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น รายได้นี้โดยทั่วไปในทางภาษี ถือเป็นค่าสิทธิ ซึ่งประเด็นหลักในเรื่องนี้ที่ต้องพิจารณา คือ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยประเทศผู้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการไทย เรียกเก็บค่าเเฟรนไชส์จากผู้ประกอบการเมียนมาร์ 
 
ตามกฎหมายภาษีในเมียนมาร์ ผู้ประกอบการเมียนมาร์จะต้องหักภาษีตามกฎหมายของเมียนมาร์ในอัตราร้อยละ 20 แต่ลดลงเหลือร้อยละ 15 ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ เป็นต้น 
 
กล่าวคือ ถ้าผู้ประกอบการไทย เรียกเก็บ 100 ก็ จะได้รับ 85 เพราะ 15 ถูกหักเป็นภาษีที่เสียในเมียนมาร์ โดยผู้จ่ายเงินในเมียนมาร์จะทำหน้าที่เก็บภาษีแทนรัฐบาลเมียนมาร์ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยหากเป็นนิติบุคคลก็ต้องนำรายได้ค่าแฟรนไชส์ 100 นั้น มาเป็นฐานรายรับในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีไทยที่อัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
 
6. ค่าธรรมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ


เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายรายมักประสบความล้มเหลว เพราะมัวแต่ไปคาดหวังผลกำไรจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิต่อเนื่อง และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าการตลาด ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์จากแฟรนไชส์ซี ทั้งที่เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้สร้างแบรนด์ ไม่ได้ทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ใดๆ 
 
ยิ่งเจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้ากับซื้อแฟรนไชส์แพง หากเขาขายไม่ได้ก็จะเสียระบบ แต่ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงค่าสิทธิ (Royalty Fee) ที่เก็บจากยอดการขายเป็นรายเดือนหรือรายปีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ในจำนวนที่สูง คุณก็จะต้องมีแบรนด์ มีการทำตลาดให้ธุรกิจเป็นที่รับรู้ ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วขายได้แน่นอน อย่างเช่นกรณี แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-11, รวมถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแบรนด์อเมริกา ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ์ รวมถึงค่าการตลาดสูง เพราะเป็นแฟรนไชส์ลงทุนแล้วมีตลาดรองรับแน่นอน 
 
7. หลักการบริหารสาขาธุรกิจแฟรนไชส์


เมื่อคุณทำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์แล้ว ก็ยังต้องเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องการบริหารสาขาแฟรนไชส์ซี เริ่มต้นอาจทำฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศ การสร้างเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารงานแฟรนไชส์ (คู่มือแฟรนไชส์) อีกทั้งยังต้องวางระบบวิธีการช่วยเหลือแต่ละสาขาแฟรนไชส์ จากสภาวะการแข่งขัน ทำอย่างไรจึงจะสู้กับคู่แข่งได้ การบริหารงานทีมงานหรือเรื่องของวิธีการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ การจัดหาทำเลที่ตั้ง พร้อมกับเทคนิคการขายธุรกิจแฟรนไชส์ก็ยิ่งต้องเรียนรู้ ไม่อย่างนั้นสร้างแฟรนไชส์ มีทั้งระบบ มีทั้งวิธีการที่ดี ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงทั้งนั้น 
 
ถ้าหากพอถึงเวลาขายแฟรนไชส์ คุณต้องขายเป็น คัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็น ไม่พอเท่านั้น การที่คุณเริ่มสร้างแฟรนไชส์ได้มากสาขา ปัญหาที่ตามมาคือ จะรักษามาตรฐานของธุรกิจไว้ได้อย่างไร ยิ่งมากคน ก็ยิ่งมีวิธีการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งเทคนิคการตรวจสอบ การบริหารคุณภาพ ก็จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เข้าใจไปด้วย และต้องสร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีด้วย 
 
ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจควรจะรู้ไว้ ก่อนที่จะสร้างธุรกิจของตัวเองสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องบริการจัดการธุรกิจของตัวเองแล้ว ยังต้องให้การสนับสนุนสาขาร้านแฟรนไชส์ให้เติบโตควบคู่กันไปด้วย
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
Franchise Tips
  1. ค่าใช้จ่ายสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์
  2. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  3. การออกแบบเอกสารสำคัญต่างๆ
  4. การสร้างคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์
  5. มีความเข้าใจในเรื่องบัญชีและภาษีแฟรนไชส์
  6. ค่าธรรมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ
  7. หลักการบริหารสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,685
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,820
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,243
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด