บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.8K
1 นาที
4 ธันวาคม 2563
Pain Point แฟรนไชส์ซี ปฏิบัติต่อ แฟรนไชส์ซอร์


 
แม้ว่าประเทศยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้ แต่ปัจจุบันได้มีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องใช้แทนกันได้ อีกทั้งยังมีข้อบังคับเกี่ยวกับแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การค้าแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของแฟรนไชส์ซอร์ ขณะที่แฟรนไชส์ซีก็ต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์ หากไม่ปฏิบัติตามมีสิทธิโดนฟ้องหรือยกเลิกสัญญาได้เช่นกัน
 
อยากรู้หรือไม่ว่ามี Pain Point หรือ จุดเจ็บปวดอะไรบ้าง ที่แฟรนไชส์ซีปฏิบัติต่อแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งจะทำให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถฟ้องร้องและยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซีได้ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ


1. แฟรนไชส์ซีเรียนรู้ Know How แฟรนไชส์ซอร์ และนำ Know How ไปเปิดธุรกิจแข่งกับแฟรนไชส์ซอร์ เช่น เรียนรู้สูตรการทำก๋วยเตี๋ยวจากแฟรนไชส์ซอร์ แล้วมาเปิดร้านแข่งในพื้นที่เดียวกัน โดยใช้แบรนด์หรือโลโก้คล้ายๆ กัน 
 
2. แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์และธุรกิจ ไม่รักษาความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เช่น ไม่รักษาคุณภาพของสินค้า ไม่รักษามาตรฐานของร้านค้า ไม่ให้พนักงานใส่ชุดยูนิฟอร์มเดียวกัน ไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นต้น
 
3. แฟรนไชส์ซีไม่จ่ายค่าการตลาดรายเดือน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น แฟรนไชส์ซี 7-Eleven จะต้องจ่ายค่าการตลาดรายเดือนให้กับแฟรนไชส์ซอร์ หากไม่จ่ายอาจถูกยกเลิกสัญญาหรือฟ้องร้องได้ แต่ถ้าแฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวไม่ต้องจ่าย 


4. แฟรนไชส์ซีใช้วัตถุดิบจากแหล่งอื่น โดยไม่แจ้งแฟรนไชส์ซอร์ โดยในสัญญาแฟรนไชส์จะมีการระบุให้แฟรนไชส์ซีซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อคุณภาพมาตรฐาน และรสชาติเดียวกัน หากไปซื้อจากที่อื่นอาจได้รสชาติอีกแบบ ส่งผลเสียต่อแบรนด์ 
 
5. แฟรนไชส์ซีแอบอ้างความเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เอง อาจเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากในปัจจุบัน กรณีแฟรนไชส์ซีแอบอ้างเป็นเจ้าของแบรนด์เอง แต่ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน หากร้านแฟรนไชส์ซีขายดิบขายดี พอมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ก็เลยขายสูตรให้  


จุดเจ็บปวด หรือ Pain Point ที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซอร์ สามารถแจ้งความ ฟ้องร้อง เอาความผิดกับแฟรนไชส์ซีได้ หรือแฟรนไชส์ซอร์สามารถยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซีรายนั้นได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามสัญญาแฟรนไชส์ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
 
แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การค้าแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้กำหนดให้แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติต่อแฟรนไชส์ซี เพื่อความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดต้องมีโทษปรับ 10..
44months ago   1,708  4 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,219
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,099
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,989
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,246
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,196
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด