บทความทั้งหมด    บทความสร้างอาชีพ    ความรู้ค้าขาย    ความรู้สร้างอาชีพ
2.2K
2 นาที
22 กุมภาพันธ์ 2564
วิธีเลี้ยงด้วงสาคู! สร้างรายได้หลักแสน


 
วิถีเกษตรมีหลากหลายรูปแบบไม่จำเป็นเราต้องยึดติดอยู่กับการเลี้ยงนก เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง  ปลูกผัก ปลูกผลไม้ ในความจริงมีการเพาะเลี้ยงที่น่าสนใจที่หลายคนไม่เคยนึกว่าจะเป็นอาชีพได้ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสามารถสร้างรายได้ที่ดี วิถีเกษตรที่ www.ThaiFranChiseCenter.com ยกมานำเสนอในครั้งนี้คือการ “เลี้ยงด้วงสาคู” ที่เราเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าด้วงสาคูคืออะไร ลองไปดูว่าอาชีพเกษตรแบบนี้เหมาะสมกับเราหรือไม่ และตัวเราสามารถทำได้หรือเปล่า
 
รู้จัก “ด้วงสาคู”


ภาพจาก bit.ly/2NLybOv
 
ด้วงสาคู เป็นแมลงกินได้ที่มาแรง มีการเพาะเลี้ยงกันมากในแถบจังหวัดภาคใต้ เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก ขนาดของตัวหนอนค่อนข้างโต มีน้ำหนัก ขายได้ราคาดี เป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจทั้งในด้านการเพาะเลี้ยง ซึ่งมีวงจรชีวิตสั้นและนำไปบริโภคเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ มีชื่อเรียกแบบชาวบ้านเช่น ด้วงงวง ด้วงไฟ ด้วงมะพร้าว เป็นต้น
 
ลักษณะของ “ด้วงสาคู”
 
ลักษณะตัวเต็มวัย ด้วงสาคูตัวเต็มวัยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 2.2-3.5 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมส้ม หรือสีน้ำตาลปนดำ ปากยาวบอบบาง มีงวงโค้ง มีจุดแต้มสีน้ำตาลแต้มกระจายบริเวณด้านบนของอกปล้องแรก ซึ่งจุดแต้มนี้มีหลายรูปแบบ ปีกคู่หน้ามีริ้วรอยเป็นเส้นๆ ตามความยาวของปีก ปีกคลุมไม่มิดส่วนปลายท้อง ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน โดยที่ตัวผู้จะมีขนมองเห็นได้ชัดเจน และมีลักษณะเป็นแนวบริเวณส่วนกลางตามความยาวของงวง
 
รูปแบบการเลี้ยง “ด้วงสาคู”
 
1. เลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม


ภาพจาก bit.ly/37AXIBg

วิธีการนี้จะต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่สำคัญ ประกอบด้วย ท่อนสาคู หรือท่อนลาน ความยาวท่อนละ 50 เซนติเมตร , พ่อ-แม่พันธุ์ด้วงสาคู ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว , ฝักบัว หรือสายยางสำหรับรดน้ำ โดยสถานที่สำหรับวางท่อนสาคู หรือท่อนลาน อาจเป็นลานกว้างหรือทำเป็นโรงเรือนก็ได้ การจัดการเลี้ยงด้วงสาคูแบบดั้งเดิม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการเลี้ยงด้วงสาคูคือ ความสะอาดและการจัดการอย่างเป็นระบบ
 
โดยสถานที่เลี้ยงไม่ควรมีน้ำขัง สามารถวางตากแดด ตากฝนได้  นำพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูที่เลี้ยงได้ปล่อยลงในท่อนสาคู หรือท่อนลาน จำนวนท่อนละ 3 คู่ อัตราตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว จากนั้นปิดด้านบนของท่อนสาคู รดน้ำด้วยฝักบัว หรือสายยางรดน้ำ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 40-45 วัน จะสามารถจับตัวหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้
 
2. เลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง


ภาพจาก bit.ly/37AgYif
 
อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงประกอบด้วย กะละมัง พร้อมฝาปิด ,กิ่งทางปาล์มสด , เครื่องบดสับทางปาล์ม , ถังหมัก , สูตรอาหารเสริม ,พ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู วิธีเลี้ยงเริ่มจาก นำกิ่งทางปาล์มสดปลอดเปลือกและเข้าเครื่องสับบดนำมาหมักในถังหมัก ไม่น้อยกว่า 3 วัน
 
จากนั้นปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู 5 คู่ อัตรา ตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูแล้ว ทิ้งไว้ 25-30 วัน ก็สามารถจับหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายได้ โดยระหว่างนี้ต้องมีการให้อาหารเสริม สูตรอาหารเสริมที่ใช้ประกอบด้วย EM , กากน้ำตาล , อาหารหมู , น้ำเปล่า , รำข้าว เป็นต้น
 
ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 200-250 บาท


ภาพจาก bit.ly/3kbQOHp
 
ผลผลิตด้วงสาคูที่นิยมนำไปบริโภคเป็นด้วงที่อยู่ในระยะหนอนวัยสุดท้ายก่อนเข้าดักแด้ โดย 1 กิโลกรัม มีประมาณ 200 ตัว จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 200-250 บาท ส่วนดักแด้จำหน่ายกิโลกรัมละ 250-300 บาท ก่อนนำมาปรุงอาหารบริโภค ให้นำตัวหนอนด้วงสาคู เลี้ยงในอาหาร กากมะพร้าวขูด 1-2 วัน แล้วนำตัวหนอนมาล้างน้ำและแช่เกลือทิ้งไว้ 10-30 นาที เพื่อล้างสิ่งสกปรกทั้งภายในและภายนอกตัวหนอนออก และล้างด้วยน้ำปูนใสอีกครั้ง
 
จากนั้นจึงนำมาลวกน้ำร้อนก่อนนำไปผัด โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ให้น้ำมันสีดำๆ ในตัวหนอนด้วงออกให้หมด จนกว่าน้ำมันจากตัวหนอนด้วงเป็นสีใส แล้วนำไปล้างน้ำอีกครั้ง จึงค่อยนำไปปรุงอาหารได้ตามใจชอบ เช่น คั่วเกลือ ทอดน้ำมัน ผัดขี้เมา เป็นต้น และถ้าปรุงอาหารเสร็จแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น จะได้ตัวหนอนด้วงที่มีรสชาติดีขึ้น
 
อย่างไรก็ดีมีข้อแนะนำที่ควรระวังในการเลี้ยงด้วย เนื่องจากแมลงชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายต้นปาล์ม มะพร้าว ลาน และสาคู จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเต็มวัยเล็ดลอดสู่ธรรมชาติโดยเด็ดขาด
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 
วิถีเกษตรมีหลายอย่างที่เรานึกไม่ถึงอย่าง “หอยทาก” ที่เมื่อก่อนเกษตรกรมองว่าเป็นศัตรูทางธรรมชาติที่เห็นเมื่อไหร่ต้องกำจัดทิ้งแต่ทุกวันนี้ “หอยทาก” กลายเป็นสัตว์ที่เลี้ยงสร้างรายได้งดงาม หลายคนสงสัยว่าเลี้ยงหอยทาก “แล้วเอาอะไรจากหอยทากไปขาย” คำตอบคือ &ldqu..
42months ago   3,507  5 นาที
“บอนไซ”เป็นคำทับศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ไม้แคระ จุดเริ่มต้นมาจากการปลูกต้นไม้ในกระถางของคนจีนตั้งแต่สมัยโบราณและเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บอนไซได้แพร่เข้าสู่โลกตะวันตก(ยุโรป) โดยเฉพาะในเยอรมันและฝรั่งเศส ในประเทศญี่ปุ่นสมาคมบอนไซก่อตั้งขึ้นมากมายหลายสมาคม..
42months ago   4,151  6 นาที
บทความสร้างอาชีพมาใหม่
บทความอื่นในหมวด