บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การเริ่มต้นค้าขาย    ความรู้ทั่วไปการค้าขาย
11K
2 นาที
19 มีนาคม 2564
เปิดร้าน “ข้าวแกง” เริ่มต้นแบบไหน กำไรเท่าไหร่?
 

ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้คนตกงานเยอะมาก คนที่ยังไม่ตกงานแต่ก็เจอปัญหารายได้หดหาย แม้แต่พ่อค้าแม่ค้าก็บ่นกันทั่วว่าขายของไม่ได้ คนไม่ค่อยซื้อของ คนที่ตกงานมานึกอะไรไม่ออกก็ไปเป็นพ่อค้าแม่ค้า ทุกวันนี้ก็ยิ่งทำให้มีพ่อค้าแม่ค้ามากขึ้นแต่คนซื้อไม่ได้มากขึ้นตามไปด้วย ถ้าพูดกันแบบนี้แล้วจะให้ทำอะไร ไอ้โน้นก็ไม่ดี ไอ้นี่ก็ไม่ได้
 
ในมุมมองของ www.ThaiFranchiseCenter.com คิดว่าการเปิดร้านข้าวแกง เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุด เพราะต่อให้ชีวิตย่ำแย่แค่ไหน เราก็ยังต้องกินข้าว แต่การเปิดร้านข้าวแกงก็ต้องให้ตอบโจทย์เช่น ปริมาณอาหาร ราคา และคุณภาพสินค้า
 
มือใหม่ไม่มีประสบการณ์ “อยากเปิดร้านข้าวแกง” ต้องทำไง?
 

คนทำอาหารไม่เก่งแต่อยากเปิดร้านข้าวแกง สิ่งที่จะแนะนำอันดับแรกคือเริ่มต้นจากร้านเล็กๆ หรือถ้าหน้าบ้านเราอยู่ในชุมชน ยิ่งดีลองเปลี่ยนหน้าบ้านตัวเองเป็นร้านข้าวแกงเล็กๆ เมนูไม่ต้องมาก เริ่มต้นสักไม่เกินวันละ 5 อย่าง หุงข้าวสัก 3 หม้อ ขายจานละ 20-25 บาท ซึ่งอุปกรณ์ในการเปิดร้านเบื้องต้น เช่น เตาแก๊ส , ตู้ , จานชาม , ช้อน , หม้อ , กระทะ ,วัตถุดิบปรุงอาหาร เบ็ดเสร็จต้นทุนคร่าวๆประมาณ 10,000 -15,000 บาท ช่วงแรกถ้าทำข้าวแกงขายแล้วของเหลืออย่าตกใจ ให้ทำต่อไปแล้วเราจะค่อยๆเก่งคำนวณวัตถุดิบได้ดีขึ้น ของเหลือก็จะน้อยลง เรียกว่าเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในฐานะมือใหม่
 
สำหรับเงินทุนหมุนเวียนในเบื้องต้นประมาณวันละ 1,000 - 1,500 บาท กำไรจากการขายขึ้นอยู่กับทำเล คุณภาพสินค้า แต่กำไรเฉลี่ยประมาณ 400-500 บาท/วัน ถ้าขายต่อเนื่อง 1 เดือนจะมีกำไรประมาณ 12,000 – 15,000 และถ้ายิ่งขายไปนานๆ มีลูกค้ามากขึ้นโอกาสขายได้กำไรมากขึ้นก็เป็นไปได้
 
แต่หลายคนได้ยินตรงนี้ก็สวนทันทีว่า “อย่าโลกสวย” พอทำจริงๆ รายได้มันไม่ดีแบบนี้ อันนี้พูดแต่รายได้ทำไมไม่พูดรายจ่าย ซึ่งเราก็ต้องเรียนตามตรงว่า “เทคนิคขายดี” มันเป็นเรื่องของตัวบุคคล เสน่ห์ปลายจวักของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไอเดียในการขายของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราจะบอกได้คือ เทคนิคพื้นฐานที่จะช่วยทำให้ขายดี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่น่าจะรู้แต่บางคนก็ทำได้บ้างทำไม่ได้บ้าง ลองมาดูว่ามีอะไรบ้าง
 
5 เทคนิคเปิดร้านข้าวแกงขายดีมีกำไร
1.ไม่ต้องจ้างคนงาน ไม่ต้องแต่งร้านเยอะ
 

ถ้าเราไม่ได้มีเงินถุงเงินถังมากนัก อยากทำธุรกิจข้าวแกงให้สำเร็จก็ต้องลงแรงมากเป็นพิเศษ อะไรที่ทำเองได้ก็แนะนำว่าทำเองดีกว่าจ้าง เพราะเป็นการลดต้นทุน อาจจะเหนื่อยในการจ่ายกับข้าว ทำกับข้าว เปิดร้าน ขายของ เก็บจาน ล้างจาน ซึ่งหากเรามีคนในครอบครัวควรใช้แรงงานพ่อแม่ลูกช่วยกันทำดีกว่า รวมถึงร้านข้าวแกงไม่จำเป็นต้องแต่งร้านให้เยอะแยะมากมาย ไม่ต้องติดแอร์เอาใจลูกค้า แค่จัดการให้ภายในร้านมีที่นั่งสะดวกสบาย อากาศปลอดโปร่ง สะอาดสะอ้าน เท่านี้ก็ดึงดูดลูกค้าที่ส่วนใหญ่เขาต้องการมาทานอาหารง่ายๆ ราคาไม่แพง แต่ปริมาณคุ้มค่า
 
2.มีเมนูหลักผสมกับเมนูใหม่ที่หลากหลาย

คำว่าข้าวแกงก็ต้องมีเมนูให้เลือกมากเป็นพิเศษในที่นี้เราควรกำหนดเมนูหลักที่มีประจำ เพิ่มเติมด้วยเมนูพิเศษที่อาจมีไม่เหมือนกันในแต่ละวันเพื่อให้ลูกค้าได้มีตัวเลือกที่ไม่จำเจ เมนูข้าวแกงที่ควรมีเช่น กระเพรา แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ลาบหมู ผัดบวบ ไข่พะโล้ ผัดผักบุ้ง ต้มจับฉ่าย ไข่ต้ม ผัดพริกแกง พะแนงหมู ชะอมชุบไข่ ผัดถั่วงอกเต้าหู้ เป็นต้น แต่ถ้าเปิดร้านใหม่ๆมีเมนูอาหารสัก 3-4 อย่างก็พอ แต่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่าให้จำเจ
 
3.ต้องอร่อยเหมือนกันทุกวัน
 
 

ลูกค้าที่มากินร้านข้าวแกงส่วนใหญ่ต้องการปริมาณเน้นอิ่มเป็นหลัก แต่ก็ใช่ว่าเราจะละเลยเรื่องรสชาติ ตรงกันข้ามต้องให้ความสำคัญพอสมควรโดยเฉพาะ วัตถุดิบควรเน้นเป็นวันต่อวัน และไม่ว่าจะเป็นพริกแกง กะทิคั้นสด กะปิ วัตถุดิบเหล่านี้ควรมีร้านประจำที่มีคุณภาพเพื่อให้มาตรฐานของรสชาตินั้นเท่าเทียมกันในทุกวัน เสน่ห์ของร้านข้าวแกงนอกจากอิ่มอร่อย แต่ถ้ารสชาติไม่ดีลูกค้าก็ไม่นิยมเหมือนกัน
 
4.กำหนดราคาต่อหัวให้เหมาะสม
 
ร้านข้าวแกงส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาก่อนมักจะได้เปรียบลูกค้าหลังๆ เพราะส่วนใหญ่จะเหลือแต่น้ำแกงกับวิญญาณไก่ คนขายจึงต้องตักอาหารให้สมดุลกัน จะได้ขายเมนูนั้นๆ ได้จนหมดไม่ต้องเอาไปทิ้ง ตามสถิติระบุว่า อาหารแต่ละชนิดขายได้จริงประมาณ 60-70% เมื่อเหลือน้อยๆ คนก็ไม่อยากกิน กลายเป็นของจะต้องทิ้ง ร้านอาหารไหน ที่มีของเหลือทิ้งเยอะขนาดนี้ เจ๊งสถานเดียวไม่ใช่เจ๊งเพราะขายไม่ได้ แต่เจ๊งเพราะของเหลือทิ้ง ทำให้ต้นทุนบาน การคิดราคาต้นทุนต่อหัวต้องเอาข้อมูลเหล่านี้มารวมด้วย ดังนั้นราคาข้าวแกงหากคิดจะกดราคาตัวเองให้ต่ำเพื่อดึงคนเข้าร้านมากๆ ก็ต้องพิจาณาแล้วว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนจะทำให้เราเสี่ยงเจ๊งได้แบบไม่รู้ตัวหรือเปล่า
 
5.ไม่จำเป็นต้องมีโปรโมชั่นใดๆ
 

การทำโปรโมชั่นในแง่การตลาดคือทำให้คนสนใจและอยากเข้ามาซื้อสินค้าและบริการแต่ข้าวแกงนั้นแตกต่าง เพราะสิ่งดึงดูดที่จะดึงคนเข้าร้านคือ “เขารู้สึกคุ้มค่าในปริมาณอาหารและราคาที่จ่ายไป” ซึ่งต้นทุนโดยปกติของร้านก็มากพอสมควรอยู่แล้ว การทำโปรโมชั่นใดๆ เช่นกินฟรี ลดราคา เท่ากับเป็นการทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น สิ่งที่ควรเน้นคือรสชาติของแต่ละเมนูที่ต้องอร่อยเท่าเทียมกันทุกวัน และการเล่าแบบปากต่อปากจะเป็นต่อช่วยในการทำให้ลูกค้าเราเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีโปรโมชั่นใดๆ ทั้งสิ้น
 
โดยกำไรของร้านข้าวแกงขึ้นอยู่กับทำเล และจำนวนลูกค้าในแต่ละวันสิ่งที่สำคัญคือการมีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส กับลูกค้า ที่มาซื้อ จะทำให้ร้านของคุณจะมีลูกค้าประจำเข้ามาซื้อตลอดไม่ขาดสาย การมีอัธยาศัยยิ้มแย้มแจ่มใสดี เป็นการบ่งบอกถึง มิตรภาพ ความจริงใจ ที่ใคร ๆ ก็ชอบรวมถึงวิธีบริหารจัดการก็สำคัญมาก

ตัวอย่างบางร้านคนเยอะมาก น่าจะขายดีแต่สุดท้ายก็ยังเจ๊งนั่นเพราะเหตุผลที่ราคาต่อคนไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่มี ขายได้มาก แต่ก็ไม่ได้กำไร ถือเป็นภาวะเสี่ยงที่ต้องระวังให้ดีในยุคCOVID 19 แบบนี้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
“ไข่ไก่” เป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหารที่เหมือนจะเป็นวัตถุดิบหลักที่ต้องมีติดครัวในทุกบ้าน ข้อดีของไข่ไก่คือราคาไม่แพง ทำอาหารได้หลายอย่าง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และบางครั้ง ไข่ไก่ก็เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจเช่นกัน ช่วงไหนไข่แพง คนจะบ่นกันทั้งเมือง หลายครั้งที่ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเ..
40months ago   6,427  4 นาที
ข้าวขาหมู 1 จานให้พลังงาน 690 กิโลแคลลอรี่ ดูเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการต่อวัน คนที่อยากลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะไม่สนใจ “ข้าวขาหมู” แต่ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่า “ข้าวขาหมู” มีเสน่ห์เย้ายวนชวนให้กินอย่างมาก ทั้งเนื้อหมู มันหมู ที่สับอย่างด..
41months ago   3,382  5 นาที
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
406
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด