บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.2K
3 นาที
25 สิงหาคม 2564
4 เครื่องมือสร้างและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ (ฉบับสมบูรณ์)
 

แม้ว่าแฟรนไชส์จะได้รับความนิยมจากบรรดาเจ้าของกิจการที่อยากขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้งบประมาณการลงทุนของตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าจะสร้างแฟรนไชส์ให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักของนักลงทุนได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาหลายปี สำหรับการหาความรู้ วิเคราะห์ธุรกิจ ลงมือปฏิบัติ การลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา การสร้างโอกาส ตลอดการกำหนดเป้าหมายการเติบโต แต่หากเจ้าของกิจการท่านใดอยากมีไกด์ไลน์ในการสร้างและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะแนะนำ 4 เครื่องมือสำหรับสร้างและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์แบบสมบูรณ์ เพื่อนำไปวางรูปแบบโมเดลของธุรกิจ สร้างจุดแข็ง วิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างโอกาส และวางแผนการเติบโตครับ
 
1. SWOT Analysis
 

ก่อนสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการจำเป็นต้องประเมินธุรกิจตัวเอง วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และความท้าทายของธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเครื่องมืออย่าง SWOT Analysis ช่วยเป็นแนวทางให้เจ้าของกิจการได้
  • จุดแข็ง (S) ขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ มีรายได้หลายทางอย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาเรื่องบุคลากร ขยายช่องทางจัดหน่ายได้มากขึ้น มีสาขาแฟรนไชส์ช่วยบริหารธุรกิจ มีอำนาจในการต่อรองจัดซื้อสินค้าวัตถุดิบสูง
     
  • จุดอ่อน (W) มีภาระในการดูแลเครือข่ายแฟรนไชส์ ต้องเปิดเผยสูตรการดำเนินธุรกิจ เสียเวลาในการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ดี อาจเกิดความขัดแย้งกับสาขาแฟรนไชส์ได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายในการสร้างแฟรนไชส์สูง
     
  • โอกาส (O) สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่าธุรกิจทั่วไป ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน และมีโอกาสก้าวออกไปขยายตลาดในต่างประเทศ 
     
  • อุปสรรคและความท้าย (T) คู่แข่งในธุรกิจแฟรนไชส์มีจำนวนมาก สถานการณ์เศรษฐกิจ และการระบาดโควิด-19 อุทกภัยและภัยธรรมชาติ สถานการณ์ความวุ่นวานทางการเมือง รวมถึงสาขาแฟรนไชส์อาจสร้างความเสียหายต่อแบรนด์
#SWOT Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์! - https://bit.ly/2UMlLKf
 
2. SOAR Analysis 
 

เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำหรับการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทน SWOT Analysis ด้วยการวิเคราะห์จาก Strength (จุดแข็ง) Opportunity (โอกาส) Aspiration (เป้าหมาย) และ Result (ผลลัพธ์) แต่มีความแตกต่างจาก SWOT Analysis ที่เน้นวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นของธุรกิจแฟรนไชส์จากปัจจัยภายในและภายนอก 
แนวทางในการดำเนินงานของ SOAR Analysis ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างให้เจ้าของกิจการที่อยากทำแฟรนไชส์ ได้มองเห็นถึงเป้าหมายสุดท้าย หรือผลลัพธ์ของการดำเนินธุรกิจได้อย่างชัดเจน
  • Strength (จุดแข็ง) ประหยัดงบประมาณในการขยายสาขา ระบบการทำงานแต่ละสาขาเป็นมาตรฐานเดียวกัน สินค้าและบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้าง รวมถึงกระจายสินค้าและบริการไปได้ทั่วประเทศ 
     
  • Opportunity (โอกาส) แต่ละปีธุรกิจแฟรนไชส์มีการเติบโตต่อเนื่อง ก่อนโควิด-19 ระบาดมีมูลค่าตลาด 3 แสนล้านบาท ประกอบกับภาครัฐและเอกชนส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ทั้งจัดงานแสดงสินค้า ขยายตลาดต่างประเทศ รวมถึงโอกาสขายแฟรนไชส์ได้มากขึ้น จากคนตกงาน ว่างงาน รวมถึงคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง 
     
  • Aspiration (เป้าหมาย) ขยายสาขาได้จำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจำนวนสาขาแฟรนไชส์ทุกอำเภอทั่วประเทศ ควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์ให้เหมือนกันทุกสาขา รวมถึงพัฒนาสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค 
     
  • Result (ผลลัพธ์) จากจำนวนสาขาทั่วประเทศ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ การตลาด และค่า Royalty Fee รวมถึงจำหน่ายสินค้าและวัตถุดิบได้มากขึ้น และสินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วประเทศ
#SOAR Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์ - https://bit.ly/3mBIpAB
 
3. TOWS Matrix Analysis 
 
 

เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมจากภายนอกและภายในของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ได้มาจากการทำ SWOT Analysis แล้วนำมาจับคู่หาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างกลยุทธ์แฟรนไชส์ที่เหมาะกับสถานการณ์ 
  • กลยุทธ์เชิงรุก (SO) จับคู่ระหว่าง Strength และ Opportunity (ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส) 
    • การระบาดโควิด-19 ส่งผลดีให้ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายสาขาได้รวดเร็ว เนื่องจากคนตกงาน ว่างงาน และคนอยากมีรายได้เพิ่ม อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง จึงใช้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางลัดในการเริ่มต้น อีกทั้งมีความเสี่ยงต่ำ 
       
  • กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) จับคู่ระหว่าง Weakness และ Opportunity (ใช้โอกาสลดจุดอ่อน)
    • การระบาดโควิด-19 กระทบแฟรนไชส์ร้านอาหาร นั่งทานในร้านไม่ได้ ทำให้รายได้ลด ต้องปรับมาขายออนไลน์ และเดลิเวอรี่ รวมถึงปรับเปลี่ยนเมนูอาหารและบริการให้เข้ากับสถานการณ์โควิด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค
       
  • กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) จับคู่ระหว่าง Strength และ Threat (ใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค)
    • แฟรนไชส์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สามารถพยุงเศรษฐกิจให้อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตได้ เพราะธุรกิจอื่นๆ ไม่มีเงินทุนในการขยายกิจการ แต่แฟรนไชส์ขยายธุรกิจได้ เพราะคนตกงาน ว่างาน อยากมีอาชีพในการสร้างรายได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่งทุกๆ ด้าน รองรับความต้องการลงทุนของคนตกงานในยามวิกฤต
       
  • กลยุทธ์เชิงรับ (WT) จับคู่ระหว่าง Weakness และ Threat (แก้ไขจุดอ่อนและเลี่ยงอุปสรรค)
    • ร้านในห้างสรรพสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐ ต้องปรับเปลี่ยนทำเลมาเปิดนอกห้าง หรือหาเช่าพื้นที่ทำครัวกลางนอกห้าง รวมถึงปรับโมเดลธุรกิจให้มีขนาดเล็กลง ใช้เงินลงทุนต่ำลง เพื่อดึงดูดผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น 
#TOWS Matrix Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์ https://bit.ly/3mvBgBz 
 
4. Gantt Chart 
 

เป็นแผนการปฏิบัติงาน ที่เป็นแผนภูมิในรูปของกราฟ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องใส่ลงไปใน “แผนธุรกิจ” หรือ Business Plan ก่อนจะเริ่มต้นสร้างแฟรนไชส์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามผลการปฏิบัติงาน 
 
เครื่องมือ Gantt Chart ประกอบด้วยแกนหลัก 2 แกน คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ ส่วนแกนตั้งแสดงถึงงานที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอนนั้น ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน นั่นแสดงว่า ยิ่งกราฟยาวมาก ระยะเวลาการทำงานนาน  (กำหนดเป็นวัน หรือ สัปดาห์ ก็ได้) 
 
#ตัวอย่าง แผนการดำเนินงาน / ปฏิบัติงาน เปิดร้านแฟรนไชส์อาหาร (ระยะเวลา 90 วัน หรือ 12 สัปดาห์)

#ขั้นตอนที่ 1 
การออกแบบ / ก่อสร้าง (สัปดาห์ที่ 1 – สัปดาห์ที่ 12)


#ขั้นตอนที่ 2 
จัดหาเฟอร์นิเจอร์ / ตกแต่ง (สัปดาห์ที่ 3 – สัปดาห์ที่ 4) และ (สัปดาห์ที่ 11 – สัปดาห์ที่ 12)

#ขั้นตอนที่ 3
จัดหาเครื่องมือในครัว / อุปกรณ์จัดการต่างๆ ในร้าน (สัปดาห์ที่ 5 – สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11) 


#ขั้นตอนที่ 4
ทำห้องครัว / ห้องอาหาร (สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11) 

#ขั้นตอนที่ 5 
จัดเตรียมแหล่งวัตถุดิบ / อุปกรณ์ออฟฟิศ (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 8)


#ขั้นตอนที่ 6
รับสมัครพนักงาน / อบรมพนักงาน (สัปดาห์ที่ 6 – สัปดาห์ที่ 9) 

#ขั้นตอนที่ 7 
ประชาสัมพันธ์ / ทำการตลาด / โปรโมทร้าน (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 12)

#ขั้นตอนที่ 8
เปิดร้าน (วันที่ 85 หลังสัปดาห์ที่ 12)  

 
#Gantt Chart เปิดร้านแฟรนไชส์ ใน 90 วัน https://bit.ly/3gvG2va
 
นั่นคือ 4 เครื่องมือสำหรับสร้างและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์แบบสมบูรณ์ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ เพื่อนำไปวางรูปแบบโมเดลของธุรกิจ สร้างจุดแข็ง วิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างโอกาส และวางแผนการเติบโตให้ธุรกิจ
 
#เจ้าของกิจการท่านใดอยากทำแฟรนไชส์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอรับคำปรึกษาธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์  https://www.thaifranchisecenter.com/consult/ 
 
หรือ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ https://bit.ly/2UP0LCC 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,855
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,530
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,605
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,379
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
819
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
811
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด