บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.9K
2 นาที
16 ธันวาคม 2564
หลักเกณฑ์การคิดค่า Royalty Fee ในธุรกิจแฟรนไชส์
 

ระบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบเจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่า Royalty Fee จากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือนประมาณ 1-3% และไม่เก็บค่า Royalty Fee แต่ถ้าถามว่าหากต้องคิดค่า Royalty Fee จากผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไรจึงจะสร้างความยุติธรรมให้ทั้งสองฝ่าย คำตอบก็คือคิดตามราคาตลาดทั่วไป 1-3% แล้วหลักเกณฑ์การคิดค่า Royalty Fee ทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

 
ตามหลักการแล้วการคิดค่า Royalty Fee จะต้องคำนึงถึงรายรับด้านอื่นๆ ด้วย เพราะทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือต้นทุนของเจ้าของแฟรนไชส์ ถ้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงก็จะกระทบกับผลกำไรหรืออัตราผลตอบแทนของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยเหตุผลที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องคิดค่า Royalty Fee ก็เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้นำเอาเงินจำนวนนี้ไปบริหารทีมงานแฟรนไชส์สำหรับการช่วยสนับสนุนหรือแก้ปัญหาให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์) หรือนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ 
 
หลักเกณฑ์การคิดค่า Royalty Fee  
 

การคิดค่า Royalty Fee หากคิดสูงอาจทำให้แฟรนไชส์ซีไม่สามารถอยู่รอดได้ สิ่งสำคัญต้องดูด้วยว่ายอดขายของธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละสาขามากน้อยแค่ไหน หากยอดขายน้อยคิดแพง แฟรนไชส์ซีก็ขาดทุน แต่ถ้าคิดสูงยอดขายแต่ละสาขาแฟรนไชส์ต้องมากด้วย อย่างกรณีแบรนด์แฟรนไชส์ไก่ย่าง “เชสเตอร์” ในเครือซีพี คิดค่าแฟรนไชส์ 700,000 บาท ส่วนค่า Royalty Fee 4% ต่อเดือน ซึ่งถือว่าเหมาะสม เพราะยอดขายดี เป็นแบรนด์ใหญ่มีชื่อเสียง ค่าแฟรนไชส์หลักแสนบาท 
 
หรืออย่างแฟรนไชส์ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน คิดค่า Franchise Fee 150,000 บาท และคิดค่า Royalty Fee 3% ก็ถือว่าเหมาะสม เพราะยอดขายแต่ละสาขาของร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน เฉลี่ย 300 แก้ว/สาขา แต่ถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ ที่คิดค่าแฟรนไชส์แรกเข้า 3-5 ล้านบาทขึ้นไป อาจคิด Royalty Fee อยู่ที่ 1-1.5% ก็เพียงพอแล้ว

 
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่คิดว่ายุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย และทำรายได้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งอาจจะต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ อีกเช่น ภาวะเศรษฐกิจ คู่แข่งทางการค้า ระยะเวลาของสัญญาความสำเร็จของแฟรนไชซอร์ในปัจจุบันและอนาคต เป็นต้น 
 
หรือถ้าแบรนด์แฟรนไชส์ไหนคิดค่า Royalty Fee น้อยๆ หรือไม่คิดเลย ก็จะต้องเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้กำไรจากการขายสินค้าและวัตถุดิบเป็นหลัก ไม่มีการทำตลาดและส่งเสริมการขายให้กับสาขาแฟรนไชส์ อย่างกรณีแฟรนไชส์รถเข็นชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ขายสินค้าและวัตถุดิบเป็นหลัก ไม่คิดค่า Royalty Fee จากยอดขาย แต่คิดค่าธรรมเนียมรายปี 4,000 บาท ซึ่งวิธีการแบบนี้ก็สามารถทำได้ จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์รู้สึกว่าเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้ไปแบ่งรายได้ของพวกเขา 
 
ปัญหาธุรกิจแฟรนไชส์คิดค่า Royalty Fee
 

แม้ว่าการคิดค่า Royalty Fee จากยอดขายรายเดือน จะส่งผลดีต่อเจ้าของแฟรนไชส์ที่จะนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาธุรกิจและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เมื่อเกิดปัญหา แต่อย่าลืมว่าการเก็บค่า Royalty Fee จากยอดขายรายเดือน ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำยอดขายดีค่าสิทธิ์ก็คิดสูงได้ะ ถ้าขายไม่ดีก็คิดค่าสิทธิ์ลดลงตามไปด้วย 
 
วิธีการแบบนี้อาจทำให้แฟรนไชส์ซอร์อาจจะมีปัญหา ตรงที่ต้องมีการตรวจสอบยอดขายของแฟรนไชส์ซี ระบบควบคุมยอดขายเป็นระบบหนึ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องมีพร้อม เพราะไม่ใช่แค่กระทบยอดค่าสิทธิ์ของแฟรนไชส์ซอร์เท่านั้น แต่ถ้าระบบตรวจสอบควบคุมยอดขายไม่ดีจริง ก็เป็นช่องทางให้พนักงานในร้านของแฟรนไชส์ซีทุจริตเงินยอดขายไปได้
 
บางแฟรนไชส์หนีจากเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ไปเก็บแบบเหมาจ่าย ซึ่งในแต่ละงวดต้องจ่ายค่าสิทธิ์เท่านั้นเท่านี้ เช่น เดือนละ 5,000 บาท หรือรายปีละ 40,000 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องลงทุนระบบตรวจสอบยอดขายมาก
 
สรุปแนวคิดค่า Royalty Fee 

  1. คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดรายรับ หรือจากผลกำไรของธุรกิจ
  2. แบบอัตราคงที่หรือแบบเหมาจ่าย ไม่ว่าแฟรนไชส์ซีจะมีรายได้มากน้อยเท่าไร
  3. แบบผสมหรือแบบขั้นบันได ก็คือ มีอัตราคงที่จำนวนหนึ่งไม่มากนัก เรียกว่าอัตราขั้นต่ำ และถ้าทำรายรับมากขึ้นก็จะบวกตามเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้น
  4. คิดจากยอดสั่งสินค้าหรือคิดรายหัว
หลักเกณฑ์การคิดค่า Royalty Fee จำเป็นต้องยึดหลักให้ทั้งสองฝ่ายอยู่รอดได้ ธุรกิจแฟรนไชส์ไหนทำยอดขายและรายได้มาก ก็สามารถคิดค่า Royalty Fee สูงได้ แต่ไม่เกิน 3-5% แต่ถ้าแฟรนไชส์ไหนได้กำไรจากการขายสินค้าและวัตถุดิบในแต่ละสัปดาห์ หรือเดือน ก็ไม่ควรคิดค่า Royalty Fee แต่ควรที่จะเก็บค่าสิทธิเป็นรายปีก็น่าจะเพียงพอ  
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บริการของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ (Service of ThaiFranchiseCenter) คลิก https://bit.ly/3oYpocc
 
ค่าแฟรนไชส์ หรือค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ก็คือ Franchise Fee เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะเรียก แต่ถ้าถามว่ามีใครรู้บ้างว่า “ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์” มีความสำคัญอย่างไร และมีหลักเกณฑ์คิดออกมาเป็นจำนวนเงินที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ก่อนทำธุรกิจอย่างไร และทำไมต้องเ..
31months ago   2,289  5 นาที
ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ในเมืองไทยนอกจากจะคิดค่าสิทธิ Royalty Fee ยังคิดค่าการตลาด (Marketing Fee/ Advertising Fee) หรือค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจจากแฟรนไชส์ซีเป็นรายเดือนอีกด้วย ซึ่งค่า Marketing Fee ถือว่ามีความสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก เพราะเงินส่วนนี้แฟรนไชส์ซอร..
31months ago   1,873  3 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,352
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,505
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด