บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
2.0K
4 นาที
17 มีนาคม 2565
ส่องร้านราคาเดียว กลยุทธ์ง่ายๆรายได้พันล้านบาท


ร้านสินค้าราคาเดียวมีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 20-50% ถ้ารวมทุกแบรนด์ที่มีอยู่ในเมืองไทยตอนนี้คาดว่ามีร้านสินค้าราคาเดียวอยู่ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 600 แห่ง วิเคราะห์ในเชิงความรู้สึกทำไมร้านสินค้าราคาเดียวถึงฮิต www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่าเป็นเพราะธุรกิจนี้ตอบโจทย์คนยุคใหม่ คือเน้น สะดวก คุ้มค่า

โดยการซื้อสินค้าในร้านประเภทนี้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ ไม่ต้องคำนึงว่าราคาสินค้าจะถูกหรือแพง และพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียวชิ้นเดียว จะเลือกซื้อสินค้าหลายๆ อย่าง หรือจะเรียกว่าเป็นการซื้อตามอารมณ์ก็ว่าได้ จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะบอกว่าร้านสินค้าราคาเดียวยังมีทิศทางที่สดใส แต่ทั้งนี้เรื่องกลยุทธ์ในการขายก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเช่นกันด้วย
 
การแข่งขันดุเดือดตลาด “สินค้าราคาเดียว”

 
ภาพจาก https://bit.ly/3MUZwIf

ร้านค้าราคาเดียว หรือ One Price Shop ส่วนใหญ่ชูจุดเด่นคือ “ของดี ราคาถูก” และเน้นสินค้าที่มีหลากหลาย และในยุคที่คนส่วนใหญ่รายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง การใช้จ่ายจึงต้องประหยัดมากขึ้น การเลือกซื้อสินค้าจึงต้องให้คุ้มค่าเหมะสมกับรายได้ที่มี

ดังนั้นสินค้าราคาเดียวจึงตอบโจทย์มาก ในเมืองไทยมีร้านสินค้าราคาประหยัด สินค้าราคาเดียวอยู่จำนวนมาก เช่น Daiso , KOMONOYA , MINISO , Mumuso , Just Buy , Penguin12shop , Bear Store , Moshi Moshi MINI MONO , STRAWBERRY CLUB เป็นต้น ซึ่งแต่ละร้านก็มีสาขาของตัวเองอยู่จำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ทั้งภายในห้างสรรพสินค้าและย่านชุมชนทั่วไป

ภาพจาก แฟรนไชส์ ทัดดาวทุกอย่าง 20

ไม่นับรวมในรูปแบบของแฟรนไชส์ที่มีให้เลือกลงทุนหลายแบรนด์เช่น ทัดดาวทุกอย่าง 20 ที่มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 79,000 บาท ซึ่งตอนนี้มีสาขารวมกว่า 99 แห่ง หรืออย่างแฟรนไชส์ นพรัตน์ 20 ที่มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 50,000 บาท และตอนนี้มีสาขารวมกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ


ภาพจาก 
แฟรนไชส์ นพรัตน์ 20

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีอีกหลายแฟรนไชส์ที่น่าสนใจให้เลือกลงทุนได้ตามต้องการ แน่นอนว่าเรื่องกลยุทธ์และการตลาดเป็นสิ่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด แต่ละธุรกิจต่างมีจุดเด่น จุดแข็ง และข้อได้เปรียบของตัวเอง มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจ สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อให้ประทับใจลูกค้า

เจาะกลยุทธ์ร้านราคาเดียว รายได้เท่าไหร่ กำไรดีแค่ไหน
 
วิเคราะห์ในเรื่องกระแสสินค้าราคาเดียว ส่วนใหญ่จะเน้นที่สินค้าราคาประหยัด สินค้าในร้านมีหลากหลายครบทุกความต้องการ แต่คำว่าราคาเดียวเป็นกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าแต่เอาเข้าจริงๆ ในร้านก็มีสินค้าหลายราคาให้เลือกเริ่มต้น 20 หรือ 60 บาท ก็ตามแต่ ประเด็นสำคัญคือร้านเหล่านี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ดังจะเห็นว่ามีคนสนใจลงทุนเพิ่มมากขึ้นมาก โดยปัจจุบันมีหลายแบรนด์ที่ทำตลาดและเปิดดำเนินกิจการ ลองไปดูเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าร้านเหล่านี้มีรายได้เท่าไหร่ และกำไรดีแค่ไหน
 
1.MINISO 
 
ภาพจาก https://bit.ly/3qn1fMO

MINISO ค้าปลีกสัญชาติจีน จำหน่ายสินค้าคุณภาพดีในระดับราคาที่สัมผัสได้ ปัจจุบัน MINISO มีสาขาทั่วโลกแล้วกว่า 1,400 สาขา ใน 56 ประเทศ รวมถึงในประเทศไทย โดย MINISO ได้เข้ามาตั้งสาขาแรกในไทยที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ สาขาศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 2559 ดำเนินงานภายใต้ชื่อบริษัท มินิโซ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมีบริษัท ซิงไท่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้นำเข้าสินค้าที่มาจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว

MINISO มีโมเดลการทำธุรกิจแบบ “Stores Retailing” ที่เน้นเฉพาะการขายผ่านหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ โดยจะไม่มีบริการขายผ่านทางออนไลน์เป็นของตัวเอง โดยมีสินค้าที่หลากหลาย คุณภาพดี ครบทุกหมวดหมู่ รวมถึงสินค้าแฟชั่นต่างๆ มีการจัดร้านแต่งร้านแบบพรีเมี่ยมที่ดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น ในปี 2563 MINISO มีรายได้รวม 18,108,297.86 บาท กำไรสุทธิ 4,198,027.60 บาท
 
2.Mumuso
 
ภาพจาก https://bit.ly/3CXUZjC

Mumuso ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ที่เซี่ยงไฮ้ และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2559 ได้เริ่มขยายตลาด ต่างประเทศครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์ จากนั้นก็ขยายสาขาไปทั่วโลก ได้แก่ รัสเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยมีจุดเด่นเรื่องงานดีไซน์มินิมอลสไตล์เกาหลี โดยปัจจุบันมูมูโซมีมากกว่า 600 สาขาในกว่า 150 เมืองทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย มีทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา, สยามสแควร์ วัน กรุงเทพฯ, สุพรรณบุรี, บางแสน ชลบุรี, สมุทรสาคร, พระนครศรีอยุธยา และพิษณุโลกบริษัทฯ

จุดเด่นของ Mumuso คือเน้นส่งเสริมการตลาดชัดเจนเช่น ตั้งงบประมาณ 150 ล้านบาทสำหรับกิจกรรมส่งเสริมการขายหน้าร้าน และ ณ จุดขายต่างๆ ควบคู่ไปกับกิจกรรมผ่านโซเชียลมีเดียของมูมูโซ มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาทที่สำคัญมีการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจได้เลือกตามต้องการ ราคาแฟรนไชส์ ประมาณ 3-5 ล้านบาท ในพื้นที่ตั้งแต่ 80-200 ตารางเมตร หากอยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งชุมชน เดินทางสะดวก และเข้าถึงง่าย จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 1.5 ปี โดยทาง Mumuso จะประเมินศักยภาพของทำเล กำลังซื้อ ช่วยเลือกสินค้าในร้าน วางระบบสต็อก ตลอดจนจัดอบรมการบริหารร้านและการทำการตลาดให้ทั้งหมด
 
3.Just Buy
 
ภาพจาก https://bit.ly/3IrIcHn

Just Buy เป็นร้านค้าปลีกสินค้าราคาประหยัดกลุ่มที่อยู่ในประเภท “ไลฟ์สไตล์ช็อปราคาเดียว” ภายใต้การดำเนินงานของ “โรบินสัน” จำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท ซึ่งได้รับความสำเร็จ และการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของ Just Buy คือมีการปรับตัวเพื่อให้ตรงตามกระแสของตลาดและความต้องการของลูกค้ามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงรูปแบบร้านให้มีความทันสมัย การขยายพื้นที่การขายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า โดยในปัจจุบันแบรนด์มีสาขาให้บริการรวมทั้งสิ้น 42 สาขา

ที่สำคัญ Just Buy ในการบริหารงานของโรบินสันที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์ในธุรกิจค้าปลีกระดับประเทศ มีทีมการตลาดที่ดี และการพัฒนาสินค้าที่หลากหลายครบทุกความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย อย่าง Just Buy ถือเป็นสินค้าในกลุ่ม House brand ที่สร้างรายได้ให้กับโรบินสันได้ในสัดส่วนถึง 12% จากยอดขายโดยรวมทั้งหมด แถมยังมีการเติบที่ดีอย่างต่อเนื่อง
 
4.Moshi Moshi
 
ภาพจาก https://bit.ly/3KZuoWi

Moshi Moshi เป็นร้านขายสินค้าภายใต้บริษัท โมชิ โมชิ เจแปน จำกัดเปิดตัวสาขาแรกที่แพลตตินัมแฟชั่นมอลล์ เมื่อปี 2559 จุดเด่นของ Moshi Moshi คือการเลือกใช้เอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของสินค้าสไตล์ญี่ปุ่นที่มาพร้อมความมินิมอลตามแบบสมัยนิยมของคนรุ่นใหม่ทำให้ Moshi Moshi มียอดขายเพิ่มขึ้น ข้อมูลระบุว่าสาขาแรกที่เปิดตัวเคยมีรายได้ถึง 61 ล้านบาท

หลังจากนั้นได้มีการขยายตัวเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีก 5 สาขา จึงทำให้มียอดขายที่สูงขึ้นเกินกว่า718% ด้วยยอดขายทั้งสิ้น 438 ล้านบาท มาถึงในปี 2561 มีรายได้รวมถึง 1,286 ล้านบาท และในปัจจุบัน Moshi Moshi มีแนวโน้มการทำรายได้สูงกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยสินค้าในร้านคือครบจบทุกความต้องการ ถือเป็นร้านสินค้าราคาประหยัดที่กลายเป็นธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ
 
5.MINI MONO
 
ภาพจาก https://bit.ly/3ulj9km

กระแสสินค้าราคาเดียวที่กำลังได้รับความนิยม เครือเซ็นทรัลเองก็ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมในธุรกิจนี้ กับการเปิดตัว MINI MONO โดยสาขาแรกอยู่ที่สีลมคอมเพล็กซ์ คอนเซปต์ของร้านคือขายสินค้าดีไซน์น่ารักๆ ราคาเริ่มต้น 60 – 300 บาท

จุดเด่นที่น่าสนใจคือสินค้าภายในร้านที่คัดสรรคุณภาพและมีครบทุกความต้องการ ทั้งเครื่องสำอาง แอคเซสซอรี่ เครื่องเขียน เกดเจด อุปกรณ์ในครัวประเดิม ปัจจุบันมีอยู่ 18 สาขา เป็นอีกหนึ่งธุรกิจในเครือเซ็นทรัลที่เข้ามาเพิ่มเติมและดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาช็อปปิ้งมากขึ้น สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจ
 
6. KOMONOYA

ภาพจาก https://bit.ly/3IcABMN

KOMONOYA หรือที่รู้จักกันในนามร้าน 100 เยน เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อปี 2552 ภายหลังกลุ่มเซ็นทรัล นำโดย เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เข้าซื้อหุ้นจากบริษัท วัตตส์ ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 51% กระทั่งมีการเปิด ร้าน WATTS ต้นแบบจากญี่ปุ่นในประเทศไทย ปัจจุบันมีร้านโคโมโนยะ 37 สาขา และร้านวัตตส์ 9 สาขา

แต่ร้าน KOMONOYA เป็นไลฟ์สไตล์ช็อปสัญชาติญี่ปุ่น ที่เน้นการขายสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นในราคาเริ่มต้น 60 บาท เน้นกลุ่มสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านที่มีฟังก์ชันใช้งานได้จริง คุ้มค่า ราคาไม่แพง ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ โดยในปี 2563 มีรายได้รวม 335,120,781.00 บาท 
 
7.Strawberry Club 
 
ภาพจาก https://bit.ly/3JuULTo

Strawberry Club ดำเนินกิจการมานานกว่า 17 ปี เริ่มจากการเป็นร้านกิ๊ฟช็อปเล็กๆ และพัฒนาต่อเนื่องจนมาเป็นร้านสินค้าราคาประหยัดที่มีสินค้าหลากหลาย ปัจจุบันมีสินค้าครบทุกหมวดหมู่กว่า 1,000 รายการ แบ่งออกเป็น 6 หมวดได้แก่ กิ๊ฟช็อป, ของใช้, อุปกรณ์ IT, กระเป๋าช้อปปิ้ง, งานไม้, อุปกรณ์เสริมสวย เป็นต้น และมีการพัฒนารูปแบบลงทุนสู่ระบบแฟรนไชส์ลงทุนเริ่มต้น 150,000 บาท จะได้รับสินค้าพร้อมอุปกรณ์ตกแต่งร้าน ชั้นวางโชว์สินค้า ป้ายร้าน ป้ายราคา เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นๆให้เลือกลงทุนอีกด้วย สินค้าแต่ละชิ้นสามารถทำกำไรได้ 25-30%จากราคาจำหน่าย มีระยะเวลาคืนทุนที่ตั้งไว้ 4-6 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจลงทุนที่อยู่ในกรุงเทพฯ สามารถเข้ามาเลือกสินค้าได้ที่โกดังของ Strawberry Clubส่วนลูกค้าต่างจังหวัดสั่งซื้อสินค้าผ่าน Line พร้อมจัดส่งได้ในทันที
 
ภาพรวมกลยุทธ์ร้านราคาเดียว ที่สร้างรายได้กว่าพันล้านต่อปี

รายได้ของร้านค้าในรูปแบบนี้แต่ละปีมีรายได้มหาศาล แต่ใช่ว่าจะคิดแล้วทำได้เลยสิ่งสำคัญคือกลยุทธ์ที่ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสม ซึ่งถ้าลองรวบรวมดูจะพบว่ามีกลยุทธ์ที่น่าสนใจดังนี้

1.เล่นกับอารมณ์คนซื้อ

ภาพจาก https://bit.ly/3IkipRp

ร้านราคาเดียวส่วนใหญ่กำลังเป็นธุรกิจที่มีทิศทางขาขึ้น สอดรับกับผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่นิยมซื้อสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน เพราะเป็นความรู้สึกทางด้านอารมณ์ (Emotional) ชื่นชอบแต่แรกเห็น และซื้อสินค้าโดยไม่ต้องคิดมาก เพราะราคาเป็นตัวนำ
 
2.คำนวณแบบเฉลี่ยต้นทุนโดยรวม

ภาพจาก https://bit.ly/3thTKZr

ในแง่ต้นทุนใช้วิธีการคำนวณแบบเฉลี่ยต้นทุนโดยรวม สินค้าหลายชิ้นในร้านมีต้นทุนใกล้เคียงกับราคาขาย หรือบางชิ้นก็ราคาถูกแบบไม่น่าเชื่อ แต่อีกหลายๆ ชิ้นต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าราคาขายหากมองในแง่ของกำไรแล้วอาจยอมขาดทุนในสินค้าบางรายการ เพื่อเป็นตัวเรียกลูกค้าเข้าร้าน เพื่อหวังจะได้ขายสินค้าตัวอื่นที่มีกำไรมาก
 
3.เน้นการสร้างจุดขายภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้คนจดจำ

ภาพจาก https://bit.ly/3tik8Cp

เราจะเห็นได้ว่าร้านสินค้าราคาเดียว หรือราคาประหยัดเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการจัดและตกแต่งพื้นที่อย่างสวยงาม ดูมีไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ไม่ใช่ร้านธรรมดาที่เอาสินค้ามาวางกองๆ ให้คนเลือกซื้อ นั่นคือเสน่ห์ของร้านที่ดึงดูดคนให้เข้ามาในร้าน คอนเซปต์ส่วนใหญ่คือแต่งร้านแบบพรีเมี่ยมแต่สินค้าราคาเบาๆ ก็เป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่คนพูดถึงได้มาก

4.จัดแบ่งหมวดหมู่สินค้าให้เลือกง่าย

ภาพจาก https://bit.ly/3iduHAf

การที่ลูกค้าซื้อสินค้าง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ร้านสินค้าราคาเดียวจะอยู่ได้ด้วยการนำเสนอสินค้าเพียงแค่ไม่กี่ชนิด ผู้ประกอบการแต่ละแบรนด์ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าด้วย และจัดแบ่งหมวดหมู่ จำนวนสินค้า ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ในพื้นที่จำกัด 100-300 ตารางเมตร

5.บริหารจัดการสต็อคสินค้าอย่างมีระบบ

ภาพจาก https://bit.ly/3u1NB2x

ทุกแบรนด์ที่ขายสินค้าราคาเดียวหรือสินค้าราคาประหยัดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักการบริหารต้นทุนสินค้าให้ดี ต้องมีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้ มีการหมุนเวียนสินค้าที่รวดเร็ว และมีความถี่สูง ต้องสามารถจัดหาสินค้าที่คนกำลังต้องการ สินค้าที่ตามกระแส และสามารถเปลี่ยนสินค้าตามเทรนด์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารสต็อคจึงมีความสำคัญมาก
 

ภาพจาก https://bit.ly/3KUnhhx

ที่สำคัญกลยุทธ์ราคาเดียวนี้แม้ว่ากำไรต่อหน่วย (ชิ้น) ของสินค้าจะไม่มากนัก แต่อาศัยการขายได้ในปริมาณมากๆ และต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ต้องมีพนักงานคอยให้คำแนะนำในบางโอกาส ระบบคิดเงินต้องสะดวกรวดเร็ว เรื่องงานบริการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้วัดได้ว่าธุรกิจจะอยู่รอดหรือมีกำไรได้มากแค่ไหน ในยุคที่โซเชี่ยลมีอิทธิพลอย่างมาก ร้านไหนที่บริการดี มีสินค้าประทับใจ มักจะถูกแชร์ต่อบอกต่อคนจะยิ่งรู้จักมากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ในด้านการตลาดออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายได้มากยิ่งขึ้น
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
 นพรัตน์ 20
ปัจจุบันสินค้าทุกอย่าง 20 นับว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จึงทำให้มีผู้สนใจเปิดร้านทุกอย่าง 20 เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ เนื่องจ...
ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
790
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
708
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
520
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด