บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.1K
3 นาที
11 สิงหาคม 2566
กะเทาะเปลือกแฟรนไชส์ไทย! ปี 2567 ทำยังไงให้สตรอง สู้ต่างประเทศได้


ผู้เชี่ยวชาญในวงการเชนร้านอาหารและแฟรนไชส์มากว่า 30 ปี มองภาพรวมและปัญหาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ระบบไม่เข้มแข็ง มาตรฐานหย่อน ขาดการตรวจสอบ ผู้บริหารไม่ใฝ่หาความรู้ มุ่งทำแต่ระบบหน้าบ้าน ไม่สนใจระบบหลังบ้าน เปรียบกองหน้ากับกองหลังไม่สัมพันธ์กัน ระบบทีมเวิร์คยังไม่ดี แฟรนไชส์ซอร์ไร้การควบคุมมาตรฐาน แฟรนไชส์ซีมัวแต่ขายของหากำไรอย่างเดียว ไม่สนลูกค้า ชี้แฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่จำพวกเรสเตอร์รองค์ยังไม่สำเร็จในตลาดต่างประเทศ 
 
ดร.วิชัย เจริญธรรมานนท์ President WCN Food Academy ผู้เชี่ยวชาญในวงการธุรกิจอาหารและแฟรนไชส์มากว่า 30 ปี เปิดเผยถึงภาพรวมและปัญหาของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยว่า ปัจจุบันแฟรนไชส์ไทยระดับกลางๆ ที่ประสบความความสำเร็จในการขยายตลาดต่างประเทศมีอยู่ประมาณ 2-3 แบรนด์เท่านั้น นอกจากนั้นจะเป็นแบรนด์เล็กๆ จำพวกสตรีทฟู้ดที่สามารถออกไปต่างประเทศได้ สำหรับแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ จำพวกเรสเตอร์รองค์ยังไม่ประสบความสำเร็จ 
 
เนื่องจากระบบและประสบการณ์ของทีมงานแบรนด์ยังไม่แข็งแกร่ง หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ไทยมีปัญหาตรงที่ผู้บริหารบริษัทมีวิสัยทัศน์ดี แต่ทีมงานปฏิบัติยังแข็งแกร่งไม่พอ ควบคุมและรักษาคุณภาพมาตรฐานไม่ได้ 100% 
 
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยขยายตลาดในต่างประเทศไม่ได้ไกล มาจากประเทศไทยไม่มีโรงเรียนผลิตธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง แม้จะมีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ แต่จะช่วยได้ในเรื่องของแนวความคิดและคอนเซ็ปต์การทำธุรกิจแฟรนไชส์เท่านั้น แต่สำหรับระบบและการบริหารจัดการยังไม่ดีพอ หลายๆ แบรนด์พอขยายสาขาเมื่อไหร่ตายเกือบทุกราย แต่ละสาขามาตรฐานไม่เหมือนกัน ระบบบริหารจัดการยังไม่แน่น ไม่เข้มแข็งดีพอ 

 
“แฟรนไชส์กาแฟคาเฟ่ อเมซอน ที่ขยายตลาดต่างประเทศได้ดี เพราะระบบหลังบ้านแข็งแกร่งมาก ส่วนใหญ่แฟรนไชส์ 80-90% ของไทยจะเน้นระบบหน้าบ้านเป็นหลัก ส่วนหลังบ้านไม่เข็มแข็ง กองหน้ากับกองหลังไม่สัมพันธ์กัน ระบบทีมเวิร์คยังไม่ดี สุดท้ายที่เป็นปัญหาก็คือ มาตรฐาน พอทำธุรกิจไปนานๆ ก็หย่อน แม้แต่สาขาต้นแบบ” ดร.วิชัย กล่าว
 
ตรวจสอบมาตรฐาน สร้างความเข็มแข็งแฟรนไชส์
 

ดร.วิชัย กล่าวว่า ทำอย่างไรให้มาตรฐานแฟรนไชส์เมืองไทยเข้มแข็งเหมือนต่างประเทศ ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยต้องมีผู้บริหาร และผู้ตรวจสอบ โดยเฉพาะในต่างประเทศคนตรวจสอบสาขาจะเข็มงวดมาก เคยมีกรณีปั้มเชลล์ที่เข้ามาขยายตลาดในไทย ปรากฏว่าผู้บริหารคนไทยไม่เข็มแข็ง พอต่างประเทศมาตรวจพบรถเข็นหมึกย่างจอดในปั้ม แทบจะสั่งปิดปั้มไปเลย 
 
ในประเทศญี่ปุ่นจะเข้มงวดเฉพาะมาตรฐานร้านอาหาร แฟรนไชส์อาหารแบรนด์ใหญ่ๆ จะมีการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ลูกค้าลึกลับอีกชั้น หรือเรียกว่า Mystery Customer เป็นรูปแบบการตรวจสอบโดยใช้ลูกค้าจริง ลูกค้าจะเข้าไปใช้บริการจริงๆ และทำการประเมินมาตรฐานของร้าน ในสหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญกับลูกค้ามากกว่ามาตรฐานภายใน มีการจ้างเอเจนซีโดยไม่ต้องให้เขาเช็คลิสต์ ทำเพียงแค่เข้าไปใช้บริการว่าได้รับการบริการดีหรือไม่เท่านั้น  
 
จะเห็นได้ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ในต่างประเทศจะให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานเหล่านี้เป็นอย่างมาก แตกต่างจากในประเทศไทย ไมว่าจะเป็นเรื่องของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่เข้มแข็ง แฟรนไชส์ซอร์ไม่สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้ไม่มีพื้นฐานและความรู้ในด้านการบริหารจัดการแฟรนไชส์ ยังไม่นับรวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยด้วย ที่ไม่แข็งแกร่งในด้านการบริหาร และไม่มีความเป็นมาตรฐาน โดยคิดเป็นจำนวนสัดส่วน 80-90% จากธุรกิจ 3.9 ล้านราย 
 
ดร.วิชัย กล่าวต่อว่า ปัญหาของธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยที่เจอมา ก็คือ การบริหารจัดการเวลา หลายหน่วยงานเปิดคอร์สให้เรียนและอบรมฟรี แต่ไม่ใฝ่เรียนหาความรู้เพิ่ม อ้างแค่ว่ายุ่งๆ ถ้าหน่วยงานที่จัดอบรมไม่ให้สิทธิประโยชน์ก็ไม่เข้าอบรม 
 
ขายอย่างเดียว ปัญหาแฟรนไชส์ซีในไทย
 

ดร.วิชัย กล่าวว่า แฟรนไชส์ซีเมืองไทยจะให้ความสำคัญกับการขายและทำธุรกิจอย่างเดียว โดยไม่ทำการประเมินและคำนึงลูกค้า อย่าไปหวังว่าแฟรนไชส์ซีจะทำการประเมินลูกค้าให้แฟรนไชส์ซอร์ หลายๆ แบรนด์จะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์ซีขายของอย่างเดียว ทำธุรกิจเอากำไรอย่างเดียว เพราะเขาถือว่าเขาเช่าแบรนด์มาแล้ว พอหมดสัญญา 4-5 ปี เขาก็ไป 
 
แต่ปัญหาใหญ่ ก็คือ แฟรนไชส์ซอร์หลายแบรนด์ไม่เคยคิดว่าลูกค้าที่มาซื้อของจากร้านสาขาเรา ติดใจร้านเรา เขาคือลูกค้าของแบรนด์ แฟรนไชส์ซอร์ต้องมาหาลูกค้า มาตรวจสอบแฟรนไชส์ซี ให้การสนับสนุนและทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ควรเข้าไปหาผู้ใช้บริการบ้าง ที่ผ่านมาหลายแบรนด์ต้องปิดไปเพราะการบริหารของแฟรนไชส์ซอร์ไม่ดีพอ 
 
นอกจากปัญหาแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีไทยแล้ว แฟรนไชส์ในต่างประเทศที่นิยมทำกันมาก ก็คือ นวัตกรรม ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารเหมือนกันว่าแต่ละแบรนด์จะออกสินค้าใหม่อย่างไร อย่างกรณีช่วงโควิด-19 เคเอฟซี และแมคโดนัลด์ ได้ทำการออกสินค้าใหม่ๆ มาเสริมเมนูหลัก โดยเฉพาะทาร์ตไข่ หรือเรียกว่า New Product Development เพื่อหนีตลาด หนีตัวเอง หนีความจำเจ เพราะแบรนด์ใหญ่ใช้งบโฆษณาจำนวนมาก เมื่อเสียเงินแล้วก็ต้องมีการแทรกสินค้าใหม่เข้าไปด้วย โดยสินค้าเมนูรองๆ เขาจะตั้งราคาไม่เกินครึ่งของเมนูหลักอย่างไก่ทอด แต่ยอดขายดี เพราะได้จำนวนลูกค้ามากขึ้น 
 
มาตรฐานแฟรนไชส์ต่างประเทศ ดูอะไรบ้าง
 
 

1.มาตรฐานสินค้า ในต่างประเทศจะมีการตรวจสอบสินค้าว่ามีมาตรฐานหรือไม่ ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ไก่ทอด KFC ในประเทศไทย สินค้าถือว่าดีที่สุด เนื้อไก่ทอดในเมืองไทยจะไม่มีน้ำมัน เนื้อไก่จะแห้ง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 
 
2.มาตรฐานการบริการ ร้านฟาสต์ฟู้ดจะมีการบริการแค่ครึ่งเดียว มีบริการแค่เคาน์เตอร์ ลูกค้าซื้อแล้วถือไปกินที่โต๊ะหรือที่ไหนก็ได้ ซื้อแล้วก็จบ จะไม่มีการให้บริการเต็มรูปแบบเหมือนกับร้านอาหาร ที่พนักงานจะต้องมารับออเดอร์ บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ ในต่างประเทศจะตรวจสอบในเรื่องของการบริการของพนักงาน การพูดจาและมารยาทต่างๆ  
 

3.มาตรฐานความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์สั่งอาหาร รับอาหาร ภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ ตู้ใส่อาหาร รวมถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในร้าน ถ้าในร้านหรืออุปกรณ์ใส่อาหารมีขี้หนู มีขี้แมลงสาบจะไม่ได้เลย 
 
4.มาตรฐานการบริหาร การตรวจสอบจะนำไปสู่การสร้างผลกำไรให้แต่ละร้าน ในต่างประเทศแฟรนไชส์ซีไม่ต้องรายงานผลกำไรก็ได้ แต่ต้องบอกยอดขาย เพราะมีค่า Royalty Fee เป็นเปอร์เซ็นต์ฝังตัวอยู่กับยอดขายด้วย 
 
5.มาตรฐานคุณภาพ จะดูในเรื่องของความเร็ว หรือ Speedy ในเรื่องการบริการลูกค้า ลูกค้าต้องไม่รอนาน ในสหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญในเรื่องของความรวดเร็วในการบริการลูกค้า เพราะเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในมาตรฐานของคุณภาพ ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ได้เพิ่มความรวดเร็วด้วยการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเฉพาะในประเทศจีนได้มีการพัฒนาความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในเรื่องนี้ 
 
และอีกหลายๆ แบรนด์ใช้วิธีการเพิ่มความรวดเร็วด้วยการ Assembly line หรือสร้างโรงประกอบอาหารจัดส่งวัตถุดิบให้สาขาแบบสุกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ร้านสาขาไม่ต้องเสียเวลาในการปรุง จากเคยทำ 15 นาทีก็จะเหลือไม่เกิน 10 นาที 
 
สรุปก็คือ ภาพรวมปัญหาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย อยู่ที่ในเรื่องของมาตรฐาน ความรู้ ระบบ และการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์ควบคุมมาตรฐานไม่ได้ แฟรนไชส์ซ์ขายของหากำไรอย่างเดียว โดยไม่ประเมินความต้องการลูกค้า 
 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำร้านอาหาร สนใจรับคำปรึกษาวางระบบร้านอาหารและแฟรนไชส์ คลิก www.thaifranchisecenter.com/seminar/franchise_course.php
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/trademark/ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,086
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,380
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด