บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
986
2 นาที
1 กันยายน 2566
Carbon Credit รู้ก่อน! รวยก่อน! วิถีเกษตรยุคใหม่!

 

“Carbon Credit” มีจุดเริ่มต้นในปี 1997 ที่บรรดา 37 ประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศ ต่อมาในปี 2015 ได้มีการกำหนดเป้าหมายรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นำไปสู่การกำหนดหลักการซื้อขายก๊าชเรือนกระจกโดยอนุญาตให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือก็คือ “คาร์บอนเครดิต” นั่นเอง
 
Carbon Credit คืออะไร? 


ภาพจาก freepik.com

Carbon Credit เปรียบเสมือนสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อแต่ละโรงงานถูกกำหนดให้ปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่การผลิตขนาดใหญ่ทำให้จำเป็นต้องปล่อยเกินปริมาณที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ผลิตรายอื่น คล้ายๆ กับการซื้อโควตาเพิ่ม ไม่เช่นนั้นก็ต้องจ่ายค่าปรับและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

โดยปัจจุบันทั่วโลกมีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตกันมากกว่า 7 พันล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลจัดการเรื่องก๊าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์กลางข้อมูลให้ความรู้ด้านคาร์บอนเครดิต คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
ตลาด Carbon Credit ที่เราควรรู้?

 
ภาพจาก freepik.com

Carbon Credit ที่ซื้อขายต้องอยู่ภายในขอบเขตที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ว่าไม่ควรเกินค่ามาตรฐานเท่าใด ทำให้หลายบริษัทหันมาพัฒนากระบวนการผลิตของตนให้หันไปใช้สัดส่วนของพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ตลาด Carbon Credit แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
  1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีผลผูกทางกฏหมาย หากธุรกิจใดไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษชัดเจน 
  2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ เป็นตลาดสำหรับเอกชน หรือธุรกิจที่ต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ ไม่ผูกพันกับกฏหมาย โดยสมาชิกสามารถตั้งเพดาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเองได้ ซึ่งมีผลดีต่อภาคธุรกิจ SMEs ที่สนใจในพลังงานสะอาด และเริ่มต้นลงทุนเพื่อมุ่งลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอาจนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์บอนได้
ปัจจุบันตลาดคาร์บอนเครดิตในไทยเป็นแบบภาคสมัครใจ เพราะยังมีผู้ประกอบการน้อยราย โดยผู้ที่เข้าร่วมจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และหากผ่านการรับรองก็จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า TVERs (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) ที่สามารถนำไปใช้สิทธิในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ได้ 

ราคา Carbon Credit พุ่งสูงแบบก้าวกระโดดในไทย 

 
ภาพจาก freepik.com

ราคา Carbon Credit ในไทย อิงตามรายงานของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ระบุว่า ราคาคาร์บอนเครดิตเฉลี่ยแล้ว มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2561 อยู่ที่ 21.37 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 24.71 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ 25.76 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 34.34 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2565 อยู่ที่ 107.23 บาท / tCO2eq
ทั้งนี้ จะเห็นได้ชัดว่าราคาคาร์บอนเครดิตในปี 2565 ก้าวกระโดดอย่างมาก เทียบเท่าราคา 3 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) โดยราคาคาร์บอนเครดิตในแต่ละตลาดก็มีราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเพราะมีการยึดค่ามาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่สำหรับราคาคาร์บอนเครดิตโลก มีราคาประมาณ 25 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)
 
เกษตรไทยไทยอยากขาย “Carbon Credit” ต้องทำอย่างไร?


ภาพจาก freepik.com
 
เกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยาง ชาวนา หรือว่าชาวสวน ก็สามารถขาย Carbon Credit ได้ ยกตัวอย่างหากเป็นชาวสวนต้องมีคุณสมบัติคือ
  • มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป  
  • มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
  • มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ 
  • มีความสามารถในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
ส่วนขั้นตอนการขายคาร์บอนเครดิตนั้นมี 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ การรับรองและการขาย โดยมีรายละเอียดดังนี้


 ภาพจาก freepik.com

1. การรับรอง

จัดทำเอกสารเพื่อสมัครขอเข้าร่วมโครงการ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th) และตรวจสอบความใช้ได้โดยผู้ประเมินภายนอก เมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการโดย TGO จากนั้นสามารถทำโครงการได้เลย พร้อมทำรายงานการติดตามประเมิน และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ประเมินภายนอกและให้การรับรอง Carbon Credit โดย TGO 

2. การขาย

เริ่มจากทำการลงทะเบียนสำหรับเปิดบัญชีในระบบทะเบียนคาร์บอนผ่านเว็บไซต์ http://carbonmarket.tgo.or.th/ จากนั้นสามารถทำการขายได้ 2 วิธี คือ ขายผ่านแพลตฟอร์ม FTIX อิงราคากลางของตลาด และขายให้กับผู้ซื้อโดยตรง ราคาจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงทั้ง 2 ฝ่าย

แม้ว่า Carbon Credit จะเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงหากศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด นอกจากการขายพืชผลการเกษตรที่ทำเป็นประจำแล้ว อาจเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้เราได้อีกมากโดยที่ไม่ต้องไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

 
ภาพจาก https://citly.me/QCOMT 

เรื่องน่ารู้!
มีต้นไม้กว่า 58 ชนิดที่เหมาะสมกับการปลูกเพื่อขาย Carbon Credit เช่นตะเคียนทอง , ตะเคียนหิน , สะเดา , นางพญาเสือโคร่งเป็นต้น โดยต้นไม้ยืนต้นเหล่านี้มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยอยู่ที่ 9-15 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
888
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
559
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด