บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
344
2 นาที
19 มีนาคม 2568
สงครามกาแฟในร้านสะดวกซื้อ! ยอดขายดีแค่ไหน
 

ทำไมในร้านสะดวกซื้อไม่ว่าจะแบรนด์ไหน ก็มักมี Shop กาแฟของตัวเอง ถึงขนาดมีแบรนด์กาแฟของตัวเองด้วยซ้ำ
 
เหตุผลก็ง่ายๆ เพราะตลาดกาแฟเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท
 
คิดในมุมของคนทำธุรกิจการจะแชร์เอามูลค่านี้มา ก็คือการสร้างสินค้าที่ดึงดูดลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการให้ได้มากที่สุด
 
 
เราจึงได้เห็นหลายแบรนด์ที่แข่งกันดุเดือดเช่น
  • All Café ใน 7– Eleven
  • จังเกิ้ล คาเฟ่ ของโลตัส โก เฟรช
  • อาริกาโตะ ในท็อปส์ เดลี่
  • Lawson Café ของร้าน LAWSON 108
  • บาว คาเฟ่ ของ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต
ในเรื่องของยอดขาย / รายได้ ยกตัวอย่าง All Café ปี 2567 ที่ผ่านมาผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีกำไรสุทธิ์ 60.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.67% ถ้าเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ในส่วนของบาว คาเฟ่นั้นช่วงหลังก็มีการรุกตลาดเดินหน้าขยายสาขาอย่างเต็มที่เช่นกัน ตั้งเป้าปี 2568 จะเปิดครบ 1,800 สาขาโดยในปีที่ผ่านมารายได้รวมกว่า 44,000 ล้านบาท กำไรเฉลี่ย 2,600 ล้านบาท (มาจากทุกธุรกิจรวมกัน) โดยแต่ละสาขามีลูกค้าเฉลี่ย 800/คน/วัน
 
 
 
หรืออย่างอาริกาโตะในเครือของ CRG ก็เป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่เข้ามาเพิ่มสีสันและหวังดึงรายได้จากตลาดกาแฟ มีเมนูมัทฉะลาเต้เป็นตัวชูโรง รวมถึงการอัพเดทเมนูใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนในการขยายสาขาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
 
แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องไม่ลืมเช่นกันว่าตลาดกาแฟไม่ได้มีแข่งแค่ในร้านสะดวกซื้อ ในตลาดหลักเองก็มีผู้เล่นที่แข็งแกร่งอีกมากอันเป็นตัวแปรสำคัญที่เรียกว่าขับเคี่ยวกันดุเดือด สอดคล้องกับตัวเลขการ “ดื่มกาแฟ” ของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยตัวเลขขยับขึ้นมาใกล้ ๆ 2 แก้ว/วัน/คน หรือมากกว่า 300 แก้ว/คน/ปี จากในอดีตที่ผ่านมาที่ตัวเลขเฉลี่ยอยู่ในระดับ 100 แก้ว/คน/ปี

 
จึงเป็นเหตุผลที่เราจะเห็นแบรนด์ใหญ่อย่าง “คาเฟ่ อะเมซอน” ร้านกาแฟในเครือ ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก หรือโออาร์ ที่ยังเดินหน้าขยายสาขาด้วยโมเดลแฟรนไชส์ต่อเนื่อง ทั้งในปั๊มและนอกปั๊ม โดยเฉพาะอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ย่านชุมชนต่าง ๆ หลังจากที่เปิดไปแล้วมากกว่า 4,552 สาขา

 
หรือร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ในเครือพีทีจี เอ็นเนอยี ตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 400 สาขาทั่วประเทศ ด้วยการมุ่งขยายสาขาออกไปในต่างจังหวัดและอำเภอ แต่ที่ชัดเจนที่สุดก็คือเครือ CP ที่มีถึง 12 แบรนด์กาแฟ มีหลายเหตุผล โดยหลักๆ จะเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า และครองส่วนแบ่งตลาดกาแฟและเบเกอรี่ให้ได้มากที่สุด
 
จะเห็นว่าแบรนด์กาแฟเครือ CP จะจับกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ทุกระดับรายได้ เริ่มตั้งแต่กาแฟราคาประหยัด อาจสูงกว่ารถเข็นหน่อยก็ All Café ราคากลางๆ KUDSAN Bakery, Jungle Café, Star Coffee ราคาระดับพรีเมียม Bellinee’s Bake & Brew ขณะเดียวกัน CP ก็ยังจับกลุ่มลูกค้าที่ชอบบรรยากาศ ทำงานไปด้วย ดื่มกาแฟไปด้วย ก็มี True Coffee ไว้รองรับ 
 
 
ถึงแม้ว่าบางแบรนด์จะดูแล็กๆ แต่เมื่อนำสาขาของแต่ละแบรนด์มารวมกันจะพบว่ามีจำนวนมากกว่า 10,000 สาขาเลยทีเดียว มากกว่ากาแฟดังหลายๆ แบรนด์รวมกันอย่าง คาเฟ่ อเมซอน, สตาร์บัคส์, กาแฟพันธุ์ไทย, อินทนิล และอื่นๆ
 
ถ้าดูจากภาพรวมทั้งหมดเช่นว่าตลาดกาแฟคือการแข่งขันที่ยังระอุและเป็นสินค้าที่พร้อมสร้างรายได้ดี ในส่วนของการลงทุนปัจจุบันก็มีรูปแบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสำหรับคนต้องการเริ่มธุรกิจได้ทันที

บางแฟรนไชส์เราเริ่มต้นด้วยงบหลักทุนไม่แพงและก็มีเมนูเยอะไม่เฉพาะกาแฟ แถมมีอุปกรณ์ + วัตถุดิบให้พร้อมเปิดร้าน การสอนสูตร สอนเทคนิคการขาย คนลงทุนไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือเรื่องของการตลาดและทำเลในการเปิดร้าน ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญมากของการเปิดร้านกาแฟในยุคนี้
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Flanker Brand กลยุทธ์ออกแบรนด์ใหม่ กินส่วนแบ่ง ก..
752
"ลัคกี้ สุกี้" ผู้ท้าชิง "สุกี้ ตี๋น้อย" ตั้งเป้..
590
จากไวรัลสู่วายวอด? ตลาดไอติมล้น เจ้าไหนอยู่ เจ้า..
520
ทักษะใหม่ที่คุณต้องรู้! เพื่อความสำเร็จในอาชีพปี..
506
มายด์ลอนรี้ ซักผ้าง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอ
479
เจ๊งระนาว! รวม 10 บริษัททั่วโลก ปลดพนักงาน ปิดกิ..
477
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด