บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
654
2 นาที
20 พฤษภาคม 2567
เป็นเรื่อง! เปลี่ยนมือแฟรนไชส์ สลายปัญหาจริงมั้ย?
 

การเปลี่ยนมือเจ้าของร้านแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกรณีเจ้าของร้านเดิมไม่มีเวลาทำ เบื่อ หรือไปทำธุรกิจอื่น จึงเซ้งร้านต่อให้คนอื่น หรือกรณีเปิดร้านขยายกิจการแล้วขาดทุน เลยไม่ทำต่อ จึงขายร้านแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนรายอื่นๆ
 
ถ้าถามว่า กรณีการเปลี่ยนมือคนบริหารร้านแฟรนไชส์เป็นคนใหม่ จะสลายปัญหาต่างๆ ได้จริงหรือไม่ ลองมาวิเคราะห์จากข้อมูลพร้อมๆ กันครับ
 
ยกตัวอย่าง...RD ขาย KFC ให้กลุ่มทุนอินเดีย
 

KFC ภายใต้การบริหารของ RD หนึ่งในแฟรนไชส์ KFC ประเทศไทย ช่วงปลายปี 2566 มีกระแสข่าว RD ติดต่อขายแฟรนไชส์ KFC ให้กับบริษัทกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากอินเดีย คือ Devyani International DMCC บริษัทในเครือ Devyani International Limited (DIL) มูลค่ากว่า 4,580 บาท เพื่อเข้ามาบริการกิจการ KFC ในประเทศไทยแทน RD 
 
เนื่องจากมีประสบการณ์บริหารหน้าร้าน KFC ในประเทศอินเดีย, เนปาล และไนจีเรีย รวมกว่า 500 สาขา นอกจากนี้ยังทำธุรกิจร้านอาหาร QSR อื่น ๆ ในประเทศอินเดีย เช่น Pizza Hut และ Costa Coffee โดยหากรวมกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ในเครือจะมีสาขามากกว่า 1,350 แห่งทั่วโลก  
 
ย้อนกลับไปช่วงที่ RD เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี KFC ในไทย ตอนนั้นมีสาขาจำนวน 127 แห่ง ปัจจุบันบริหารสาขาทั้งหมด 274 สาขา (ณ เดือนกันยายน 2566) มีพนักงานกว่า 4,500 คน โดยสาขา KFC ของ RD ส่วนใหญ่อยู่โซนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะเป็นดินแดนแห่ง "ไก่ทอด" แต่ ผลประกอบการ RD ขาดทุนมาตลอด
  • ปี 2561 ขาดทุน 93 ล้านบาท
  • ปี 2562 ขาดทุน 127 ล้านบาท
  • ปี 2563 ขาดทุน 281 ล้านบาท
  • ปี 2564 ขาดทุน 232 ล้านบาท
  • ปี 2565 ขาดทุน 37.4 ล้านบาท
การเปลี่ยนมือผู้บริหาร KFC จาก RD เป็น Devyani International DMCC กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากอินเดียว คาดว่า RD ต้องการพลิกฟื้นสถานการณ์ธุรกิจให้กลับมาแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ โดยอาศัยประสบการณ์ของกลุ่มทุนใหม่ในการบริหารร้าน KFC ในอินเดีย   
 
อีกหนึ่งตัวอย่าง...PT ซื้อ Subway
 

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เจ้าของปั๊มน้ำมัน PT เข้าซื้อแฟรนไชส์ Subway แบรนด์รแซนด์วิชและสลัดชื่อดังจากอเมริกา มูลค่ากว่า 35 ล้านบาท หลังจาก Subway เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2546 มีการเปลี่ยนมือผู้บริหารแฟรนไชส์ไปแล้วหลายครั้ง พอมาถึงปี 2565 บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ก็ได้รับสิทธิ Master Franchise บริหารร้าน Subway ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว
 
หลังจาก PTG ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ในประเทศไทย ได้ตั้งเป้าหมายผลักดัน Subway ขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของตลาดฟาสต์ฟู้ด ที่มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาทในไทย ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งเป้าขยายสาขามากกว่า 500 แห่งภายใน 10 ปี จากปัจจุบันจำนวน 148 สาขา
 
จุดแข็งของ PTG คือมีจำนวนปั้มน้ำมัน PT กว่า 2,206 สาขาทั่วประเทศ ตั้งเป้าขยายปั้มน้ำมันเพิ่มเป็น 2,406 สาขาในปี 2570 อีกทั้งยังมีความได้เปรียบจากลูกค้าสมาชิก PT Max Card กว่า 21 ล้านคน เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูงสำหรับ Subway น่าจะเป็นโอกาสใหม่และท้าทายของ Subway ในการเปลี่ยนมือครั้งนี้อย่างแน่นอน 
 
ตัวอย่างสุดท้าย...เซ้งร้านแฟรนไชส์ต่อกันเอง 
 

บางรายขายดิบขายดี บางรายเซ้งมาแล้ว เจ้งไม่เป็นท่า เพราะจ่ายค่าเซ้งแพง ทำเลไม่ดีตามที่เจ้าของร้านเดิมประกาศเอาไว้ ไม่ได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานของแบรนด์แฟรนไชส์ เปิดไปแล้วทำรสชาติไม่ดี อาจเจ๊งได้ สุดท้ายลูกค้าเดิมอาจจะหายไป เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของร้านเดิม
 
สรุปก็คือ การเปลี่ยนมือแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารใหม่ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดกับร้านแฟรนไชส์เดิมได้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีเงินทุนหนาๆ มีประสบการณ์ในการทำแฟรนไชส์อยู่แล้ว น่าจะใช้จุดแข็งและศักยภาพของตัวเองยกระดับแบรนด์หรือสาขาแฟรนไชส์เดิมให้ดีและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้ ส่วนกรณีแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดกับแฟรนไชส์เล็กๆ ระบบไม่ได้มาตรฐานเท่าไหร่ โดยเฉพาะแฟรนไชส์สตรีทฟู้ด ที่ต้องใช้ฝีมือในการปรุงอาหาร แต่ละคนทำรสชาติไม่เหมือนกันแน่นอน  
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,581
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,935
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,835
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,796
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,236
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,184
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด