บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    เรื่องราวความสำเร็จ
4.6K
2 นาที
24 ธันวาคม 2557
บทวิเคราะห์ปัจจัยในการเติบโตธุรกิจแฟรนไชส์


1. ความต้องการในการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ความต้องการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ในปี 2555 มีแนวโน้มสูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 8-10 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2551 ซึ่งนักลงทุนจะต้องมีเงินเก็บเพื่อความพร้อมในการลงทุนไม่น้อยกว่า 700,000 - 800,000 บาท

จึงตัดสินใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ในปัจจุบันมูลค่าการสะสมทุนของนักลงทุนโดยเฉลี่ยจะมีเงินเก็บหรือที่เราเรียกว่า "Saving Amount Ratio" ประมาณ 300,000 บาท แสดงให้เห็นถึงจำนวนมูลค่าน้อยลงเกือบครึ่ง ก็เริ่มที่จะมีความสนใจในการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ การลดลงของมูลค่าเงินทุนแสดงให้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มนักลงทุนที่มีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

และกระจายตัวสู่กลุ่มนักลงทุนรายใหม่แต่ละระดับมากขึ้น มีผู้ที่จะมาลงทุนกลุ่มระดับกลางเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการเร่งภาวะการลงทุนที่สืบเนื่องมาจากผู้ที่จะมาลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์มากยิ่งขึ้น ทั้งจากสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลด้านแฟรนไชส์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีงานวิจัยต่าง ๆ ที่เสริมอย่างถูกต้องกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่น่าสนใจ ที่เชื่อว่าเป็นตัวกระตุ้นระบบธุรกิจ ดังนี้
  1. ความพร้อมของแหล่งลงทุน มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เข้ามาสนับสนุนการกู้ยืมเงิน เพื่อตอบวัตถุประสงค์สำหรับการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น การพัฒนาสินเชื่อที่ไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น
  2. โอกาสเร่งการลงทุนด้านอื่น
    • จิตวิทยาด้านการลงทุน มีข่าวสารมากมาย เช่น เรื่องของ AEC การขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยอย่าง "Retail Business" เริ่มมีปัจจัยทางตรงที่ทำให้คนเห็นโอกาสในการลงทุนมากขึ้น เป็นต้น
    • มูลค่าทางการตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น หมายความว่าธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นระบบสาขา มีโอกาสขยายสาขาและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ทั้งในประเทศและใน AEC
    • กำลังซื้อในประเทศจะมีการขยายตัว เนื่องจากการกระตุ้นของรัฐบาลในภาคการเกษตรก็ดี หรือในเรื่องการปรับค่าแรงที่จะทำให้คนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมที่ถูกเร่งให้โตขึ้น ทั้งหมดนี้มีผลทำให้วิถีชีวิตประจำวันของคน หรือที่เราเรียกว่า "Social Economy" ถูกเร่งให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จึงทำให้คนมองถึงโอกาสในธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น

2. ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานมีโอกาสเติบโดมากขึ้น

จากการสำรวจพบว่าธุรกิจไขอาชีพ (Business Opportunity ) ลดจำนวนลง ธุรกิจดังกล่าวนี้มีมูลค่าการลงทุนต่ำ (ประมาณ 40,000 - 50,000 บาท) เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวนี้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ผู้สนใจธุรกิจจึงหันไปซื้อแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น แม้ว่าต้องลงทุนมากขึ้นก็ตามส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่และมีมาตรฐานสูงสามารถเติบโต ขณะเดียวกันธุรกิจแฟรนไชส์ในอาเซียนซึ่งมีขนาดเล็กและขาดมาตรฐานลดจำนวนลง

3. การแข่งขันจากแฟรนไชส์ต่างประเทศสูงขึ้น การบังคับใช้ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมาย เป็นฐานในการขยายธุรกิจ ในตลาดที่เรียกว่า " C L M V " ประกอบไปด้วย กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม 4 ประเทศนี้ฐานสำคัญคือประเทศไทย ถ้าเจาะตลาดที่ประเทศไทยจะสามารถขยายตัวออกไปได้ทุกประเทศ เพราะประเทศไทยนั้นอยู่ตรงกลางพอดี ทั้งยังมีขนาดตลาดและการบริโภคดีกว่า การเร่งสร้างระบบแฟรนไชส์ข้ามชาตินั้นจะต้องมีปัจจัยที่เป็นแรงผลักและแรงดึงต่าง ๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบ จากการสำรวจสภาวะธุรกิจแฟรนไชส์ในปีนี้ พบว่า
  1. ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศที่เข้ามาในตลาดและได้รับการยอมรับทั้งจากคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เมื่อได้เห็นธุรกิจที่ตัวเองคุ้นเคยก็จะบริโภค ประเทศไทยที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มาเห็นธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศตัวเองหรือจากประเทศที่เค้ารู้จักก็จะบริโภค ฉะนั้นธุรกิจแฟรนไชส์หลายตัวที่มาจาก อเมริกา เกาหลี มาเลเชีย สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น เข้ามาในประเทศไทยและประสบความสำเร็จมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้จึงกลายเป็น "Pull Factor" หมายถึงปัจจัยที่จะดึงนักลงทุนด้านแฟรนไชส์ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
     
  2. ประเทศไทยกลายเป็นหน้าต่างของ "เอเชียใต้" ซึ่งมีความหมายทางการตลาดว่าเป็น Media ในระบบ แฟรนไชส์ คือ การเปิดตัว การเปิดร้านต้นแบบ หรือที่เรียกว่า "Flagship Store" ฉะนั้นนักลงทุนที่เมื่อก่อนจะเข้าไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ก็จะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และหากมี Brand ใหญ่ ๆ ในเชิงค้าปลีกเข้ามามากขึ้น ก็จะทำให้เกิดการเร่งพัฒนาระบบเชิงรูปแบบ หรือที่เรียกว่า "Business Format" และหาก Business Format เกิดการเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อระบบภาพรวม ธุรกิจแฟรนไชส์ก็จะพัฒนา ส่งผลต่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมดโดยตรง

การสร้างระบบแฟรนไชส์ข้ามเงื่อนไขของการเป็นต่างเขต ต่างพื้นที่ รวมถึงธรรมชาติทางการค้าที่เปลี่ยนไปนั้นเป็นอีกขั้นตอนของการพัฒนาระบบธุรกิจโดยเฉพาะแฟรนไชส์ ข้อสำคัญของธุรกิจด้านนี้เมื่อต้องการขยายธุรกิจออกไป สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ ความพร้อมของธุรกิจ ที่จะต้องสร้างความสำเร็จในวงกว้างได้ในประเทศของตนเองเสียก่อน ในความหมายที่ลึกลงไป คือการสร้างความเข้มแข็ง ทั้งในด้านของตราสินค้า ชื่อเสียง เงินทุน ทีมงาน เพื่อให้สามารถผ่านปัญหาที่อาจจะส่งผลต่อธุรกิจในพื้นที่ที่ห่างไกล ทำให้ยากต่อการจัดการ หรือการปรับเปลี่ยนตามภาวะของสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างตลาด

4. การเติบโตต้องมุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าแฟรนไชส์อาหารถึงแม้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นแต่แฟรนไชส์อื่นๆ กลับปรับตัวในทิศทางตรงกันข้าม คือ มีจำนวนที่ลดลงจากสาเหตุสำคัญ ดังนี้
  1. หยุดขยายสาขา เนื่องจากมีจำนวนสาขามากพอแล้ว จึงหันมาพัฒนาธุรกิจที่มีอยู่มากกว่าการมุ่งขยายสาขา
  2. เปลี่ยนรูปแบบหันไปหาตัวแทนจำหน่าย
  3. หยุดการขายแฟรนไชส์เปลี่ยนมาเป็นขยายสาขาของตัวเอง
  4. เลิกกิจการ
อ้างอิงจาก  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,711
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,843
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,367
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,916
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,278
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด