บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
3.2K
3 นาที
26 กุมภาพันธ์ 2558
แผนธุรกิจ กับ SMEs ตอน....ที่มาของแผนธุรกิจ

ตลอดช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา แผนธุรกิจถือเป็นหัวข้อหนึ่งที่มีผู้สนใจ และต้องการศึกษาในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ทั้งจาก ผู้ประกอบการ และจากผู้สนใจรวมทั้งนิสิตนักศึกษา

เนื่องจากปัจจุบันการขอสินเชื่อเพื่อการดำเนินธุรกิจ ทางธนาคารหรือ สถาบันการเงิน จะร้องขอให้ผู้ขอกู้ จัดทำ แผนธุรกิจประกอบการขอกู้ด้วยทุกครั้ง ตั้งแต่วงเงินระดับหลักหมื่นหรือหลักแสนขึ้นไป ซึ่งต่างจากในอดีต ที่ผู้ขอกู้เพียงเขียน รายละเอียด เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของธุรกิจก็เพียงพอแล้ว หรือถ้ามีความจำเป็นต้องจัดทำ ก็จะเป็นเฉพาะวงเงินสินเชื่อ ในระดับหลายสิบล้าน หรือระดับหลายร้อยล้านบาทเท่านั้น

ซึ่งการที่ต้องมีการจัดทำแผนธุรกิจนี้ถือเป็น ปัญหาของผู้ประกอบการโดยทั่วไป ที่ยังขาดทักษะ หรือยังมี ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง และนอกจากนี้ในปัจจุบันที่สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับอาชีวะศึกษา ไปจนถึงระดับ อุดมศึกษา เริ่มมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การเขียนแผนธุรกิจ มีการจัดประกวดแข่งขัน ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ทำให้นิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาด้านธุรกิจ หรือมีความเกี่ยวข้อง มีความตื่นตัวเกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีตำราวิชาการในประเทศ ที่กล่าวถึงเนื้อหาของการเขียนแผนธุรกิจโดยตรง โดยส่วนใหญ่มักเป็น การกล่าวถึง เฉพาะโครงสร้างของแผนธุรกิจ หรือวิธีการเขียน

รวมถึงไม่มีบทความใดๆที่จะกล่าวถึงการใช้ประโยชน์ และแนวทางต่างๆ ในการใช้ประโยชน์ ของแผนธุรกิจในทางปฏิบัติ หรือถ้าเป็นเอกสารตำราของต่างประเทศที่มีอยู่ ก็อาจจะมีรายละเอียดเนื้อหา จำนวนมาก และอาจไม่สัมพันธ์ กับวัตถุประสงค์และลักษณะของการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับประเทศไทย ผู้เขียนจึงเห็นว่า ความรู้เกี่ยวกับ การจัดทำ แผนธุรกิจเป็นเรื่องที่ควรจะกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง

โดยจากประสบการณ์ของผู้เขียน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การเป็นวิทยากรอบรมด้านแผนธุรกิจ และความรู้ด้านการประกอบธุรกิจแก่ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ที่ผู้เขียนเห็นว่า รายละเอียด ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหา และแนวทางต่างๆเกี่ยวกับ การจัดทำแผนธุรกิจ จากประสบการณ์ของผู้เขียนนี้ น่าที่จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้สนใจ บ้างไม่มาก ก็น้อย

ตั้งแต่กระบวนการในการเริ่มต้นการจัดทำแผนธุรกิจ จนกระทั่งถึงขั้นตอนการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจ สามารถใช้ศึกษา อ้างอิงเพื่อให้มีความเข้าใจ ขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับ การจัดทำแผนธุรกิจที่ดีได้มากยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาต่างๆที่จะกล่าวถึงจะมิใช่การเขียนในเชิงวิชาการหรือเป็นข้อมูลด้านวิชาการ เนื่องจากผู้อ่านสามารถศึกษาได้จากแหล่งความรู้อื่นๆทั่วไปที่มีอยู่

ทั้งจากหนังสือด้านแผนธุรกิจ คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ เอกสารตำรา การอบรมด้านแผนธุรกิจ หรือข้อมูลต่างๆที่ระบุไว้ใน Website ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเนื้อหาต่างๆอาจจะแบ่ง เป็นตอนๆ สั้นบ้างยาวบ้างแล้วแต่เนื้อหาในแต่ละเรื่อง ซึ่งหวังว่าผู้สนใจจะได้ติดตามรายละเอียดจนครบถ้วน

อดีตที่ผ่าน...

ในอดีตที่ผ่านมาแผนธุรกิจมิได้ถือว่า เป็นเอกสารสำคัญ หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีเอกสารนี้เลย ในการขอสินเชื่อ หรือใช้ ประกอบการ พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยมีเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเฉพาะองค์กรจากต่างประเทศ และมักจะเป็น องค์กรระดับสากล ที่มีมาตรฐานด้านการบริหารจัดการระดับสูงเท่านั้นที่มีการจัดทำ โดยส่วนใหญ่แล้ว การจัดทำแผนธุรกิจดังกล่าว มักเป็นไปเพื่อใช้ใน การบริหารจัดการองค์กรเป็นสำคัญ และสำหรับองค์กรหรือผู้ประกอบการในประเทศ

การขอวงเงินสินเชื่อในอดีต ก็ไม่มีความจำเป็น ที่ผู้ประกอบการหรือผู้ขอกู้ จะต้องจัดทำแผนธุรกิจประกอบการขอสินเชื่อ ถ้ามิใช่วงเงินระดับหลายสิบ หรือหลายร้อยล้านบาท หรือแม้แต่วงเงินกู้ที่ถึงระดับดังกล่าว ก็อาจไม่มีความจำเป็น ต้องจัดทำแผนธุรกิจก็ได้

โดยเป็นเพียง ผู้ขอกู้กรอกรายละเอียดต่างๆ ในแบบคำขอสินเชื่อ (Loan Application) ที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินกาหนดไว้ เกี่ยวกับข้อมูล ธุรกิจ รายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ คำนวณหายอดคงเหลือ หรือผลกำไรของกิจการ เพื่อพิจารณาว่ากำไรคงเหลือนั้น เพียงพอในการชำระเงินกู้

ซึ่งประกอบด้วย เงินต้นและดอกเบี้ย หรือไม่ โดยหลักโดยทั่วไปของการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือหลัก 5Cs ที่ใช้เป็นมาตรฐาน คือ Character (คุณลักษณะ), Credit (ความน่าเชื่อถือ), Capacity (ความสามารถในการผ่อนชำระ), Collateral (หลักประกัน) และ Condition (เงื่อนไข) รวมทั้งสิ้น 5 ประการ ก็ยังถือเป็นเกณฑ์พื้นฐานทั่วไปในการอนุมัติสินเชื่อจนถึงปัจจุบัน

โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ยังยึดถือเกี่ยวกับเรื่องของหลักประกันซึ่งเน้นหนักที่อสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก ทำให้การพิจารณา ให้น้ำหนักที่ตัว Character และ Collateral เป็นสำคัญ โดยในเรื่องของ Credit และ Capacity และ Condition อาจถือเป็นเรื่อง รองลงมา แม้ว่าจะบอกกันทั่วไปว่าดูทั้งหมด 5 ประการก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม "No Land No Loan" ก็ยังเป็นข้อเท็จจริงอยู่

สำหรับการขอกู้เงิน จากธนาคารหรือสถาบันการเงินแม้ในปัจจุบันก็ตาม ประกอบกับในอดีตก่อนหน้านี้การอนุมัติหรือพิจารณาสินเชื่อนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น การใช้วงเงินไม่มากนักในการทำธุรกิจ ซึ่งมักจะอยู่ในดุลยพินิจหรือ ความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สาขาเป็นหลัก ที่จะเป็นผู้อนุมัติ วงเงินสินเชื่อได้ด้วยตนเอง ตามขอบเขตที่ทางธนาคารกำหนด หรืออาจอยู่ขอบเขตของผู้จัดการ สาขาธนาคาร ที่สามารถอนุมัติได้เลย เพื่อความสะดวก

โดยอาจจะไม่มีระบบคณะกรรมการพิจาณาอนุมัติอย่างเข้มงวดเช่นในปัจจุบัน โดยถ้าจำเป็นจะต้องผ่าน การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อจากคณะกรรมการ ของธนาคารหรือสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ที่ดูแลลูกค้านี้ก็มักจะเป็นผู้จัดทำรายละเอียด เกี่ยวกับตัวธุรกิจ ของผู้ขอกู้ในการนำเสนอ เพื่อพิจารณาจากผู้จัดการสาขา หรือคณะกรรมการ โดยข้อมูลที่ได้เหล่านี้ ก็จะมาจากการที่ได้ไปสำรวจ หรือศึกษาข้อมูลต่างๆ

จากธุรกิจ หรือจากการประเมินราคา หลักประกัน ซึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่สินเชื่อเป็นผู้ประเมินราคาหลักประกันเอง โดยมิต้องอาศัยผู้ประเมินราคา หรือบริษัทประเมินราคา ทรัพย์สิน ภายนอกเช่นในปัจจุบัน หรือจากใช้วิธีสัมภาษณ์ข้อมูล ต่างๆของ ผู้ประกอบการที่เป็นอยู่

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่สินเชื่อซึ่งเป็นผู้พิจารณา เป็นผู้จัดทำข้อมูลของธุรกิจหรือแผนธุรกิจเพื่อการขอ อนุมัติให้ผู้ประกอบการเสียเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็เป็นเช่นนี้มาเป็นเวลาเนิ่นนานตั้งแต่ในอดีต จนกระทั่งตั้งแต่ช่วงหลังปี 2530 เป็นต้นมา

เริ่มมีการโยกย้ายฐาน การผลิต จากต่างประเทศ เช่น จากประเทศญี่ปุ่น อเมริกาเข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่มีฐานค่าแรงงานที่ต่ำกว่า และประเทศข้างเคียงในภูมิภาคเดียวกันยังมีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศเดียว ในภูมิภาคอินโดจีนที่มีศักยภาพในการลงทุน จึงก่อให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่จำนวนมากจากต่างประเทศ ราคาที่ดินในประเทศ เริ่มมีการถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลทำให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มขยายตัว เพื่อรองรับตาม การลงทุนที่เกิดขึ้นจาก ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว

รวมถึงความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น การย้ายฐานแรงงานจากภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม จากชนบท สู่ตัวเมือง ทำให้ตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดโครงการ (Project) ต่างๆขึ้นมากมาย เพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน จากธนาคารและ สถาบันการเงิน และเริ่มเห็นภาพได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ปี 2532

อ้างอิงจาก novabizz.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด