บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
19K
3 นาที
28 ตุลาคม 2553
ประวัติ และความเป็นมาของแฟรนไชส์


 
หลายต่อหลายท่าน อาจจะคิดว่า เรย์ คอกซ์ แห่งแมคโดนัลด์ (1) เป็นบิดาของระบบแฟรนไชส์ แต่แท้ที่จริงแล้ว รูปแบบของแฟรนไชส์ได้เริ่มมาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มมาจากบริษัท ทำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามหาทางเร่งการเติบโตของบริษัทฯ

โดยการขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ และขายระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่น ด้วยวิธีนี้เอง เกิดผลดีเกินคาด หน่วยงานแห่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองหนึ่ง

 
 
อย่างไรก็ตาม ระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง โดยบริษัท ขายจักร ซิงเกอร์ ในปี 1850 ซิงเกอร์นั้นเป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก้ร้านลูกข่ายเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นต้นแบบเสมือนเป็นแฟรนไชซอร์ ซิงเกอร์นั้นใช้วิธีสร้างเครือข่ายการขายปลีกด้วยระบบพนักงาน และการเป็นดีลเลอร์ ซึ่งกลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่าย ในระดับภูมิภาค

และถึงแม้ว่าการจัดการในระบบของซิงเกอร์จะไม่สมบูรณ์ และไม่ประสบความสำเร็จนักหลังจาก 10 ปี การดำเนินงานรูปแบบนี้ขาดความต่อเนื่อง แต่ก็นับได้ว่า ซิงเกอร์ คือผู้หว่านเมล็ดพันธ์ของระบบแฟรนไชส์ให้กับ ผู้สร้างระบบแฟรนไชส์ใหม่ ในอนาคตได้นำวิธีต้นแบบนี้ไปใช้ จนกลายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในที่สุด
 
อุตสาหกรรมรถยนตร์ ปั้มน้ำมัน และผู้ผลิตเครื่องดื่ม คือ เป็ปซี่และโคคา โคล่า คือผู้ที่จูนระบบของแฟรนไชส์มาปรับใช้ในช่วงระหว่างท้ายของ ทศวรรษที่ 1800 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 อันเนื่องมาจาก การขาดแคลนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าของ พวกเขา บริษัทฯเหล่านี้ไม่มีเงินทุนมากพอ ที่จะซื้อทรัพย์สิน สร้างโรงงาน หรือลงทุนเปิดร้านค้าจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า หรือลงทุนจ้างผู้จัดการเสมียน และพนักงาน

อย่างเช่นในกรณีของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ระบบการขนส่งทางไกลนั้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายเกินไป ดังนั้น แทนที่จะส่งสินค้าไปสต๊อกไว้ ก็เกิดการใช้วิธีขายแฟรนไชส์ให้ใครก็ตามที่จะสามารถรับผิดชอบ การดำเนินงาน รวมทั้งสามารถคิดวิธีการ การกระจายสินค้าได้
 
 
 
วิธีการขยายธุรกิจปั้มน้ำมัน และเครื่องดื่มบรรจุขวดที่เรียกว่า "Product Franchise" ที่ให้สิทธิ์การผลิต และตราสินค้าเพียงรายเดียว ในการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในอาณาเขตที่ระบุ ซึ่งวิธีนี้ได้รับความสำเร็จมากจนทำให้ บรรยากาศของระบบแฟรนไชส์โดดเด่นขึ้น แต่วิธีการให้สิทธิตัวผลิตภัณฑ์ (Product Franchise) นี้ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการเติบโตของระบบ แฟรนไชส์ได้เข้ามาแทนที่ ที่เรียกกันว่า "Business Format Franchise" หรือ แฟรนไชส์เต็มรูปแบบ
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ร้านค้าปลีกก็ค่อยๆ ยกระดับธุรกิจจากการพัฒนาตัวสินค้า เข้ามาพัฒนาด้านบริการ เมื่อคนชั้นกลางของอเมริกามีการเคลื่อน ย้ายถิ่นฐานสู่ชานเมืองกันมากขึ้น การซื้อของในรูปแบบขับรถเข้าไปซื้อ (Drive-in) อย่างรีบด่วน และนำออกไปทานนอกร้านเป็นรูปแบบที่มีมากขึ้น ซึ่งสาขาที่หน้าตาเหมือนๆกันนั้น เป็นร้านที่เปิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆที่เรียกว่า Mini-Chains กิจการในรูปแบบนี้ยุคนั้น ก็คือ A&W และเทสตี้ ฟรีซ (Tastee Freeze) ที่กลายเป็นที่นิยมกันข้ามประเทศ ซึ่งเป็นจุดต่อของรูปแบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Format Franchising) ในยุค ค.ศ.1950 เชื่อมมาสู่อีกยุคหนึ่งโดย แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์คิงส์, ดังกิ้นโดนัท, เคเอฟซี และฟาสท์ฟู้ด เกิดแฟรนไชส์ระดับชาติในช่วงเวลา ดังกล่าว ระบบแฟรนไชส์ได้ผ่านช่วงของความยากลำบาก แต่ก็เป็นการปฎิวัติที่สำคัญยิ่ง 
 
 
 
การให้การอนุญาติอย่างง่ายในการให้สิทธิการกระจายสินค้า (Distribute) หรือให้สิทธิในการขายสินค้า ได้ถูกแทนที่ด้วยการเติบโตของฟาสท์ฟู้ดในระบบแฟรนไชส์ ต่อมาขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อาหาร เช่น โรงแรมฮอลิเดย์อินน์, Midas Mufflers ธุรกิจบริการเกี่ยวกับรถยนตร์ และ H&R Block ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการเสียภาษี ที่แสดง ที่แสดงความแตกต่างจากแฟรนไชส์ในรูปแบบเก่า ที่แฟรนไชส์ซอร์ได้ ขายสิทธิ์ที่ประยุกต์สู่การขายทั้งคอนเซ็ปท์ธุรกิจ

ที่ให้สิทธิตั้งแต่รูปแบบ สัญลักษณ์ โลโก้ การโฆษณา รูปแบบเอกสารต่างๆ (เช่น เอกสารบัญชี) รูปแบบการแต่งกาย ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางธุรกิจด้านนั้นๆมาก่อนเลย และถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซอร์บางรายจะยังคงต้องการให้ แฟรนไชส์ซี่ ซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง จากบริษัทฯแม่ก็ตาม แต่รายได้หลักของแฟรนไชส์ซอร์รุ่นใหม่เหล่านั้น จะมาจากการขายระบบธุรกิจ ทั้งคอนเซ็ปท์ที่พวกเขาได้พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว
 
บรรยากาศแฟรนไชส์ได้ถูกเติมพลังอย่างรวดเร็วเมื่อ เรย์ คร็อก ได้นำแมคโดนัลด์เข้ามาในกลางปี 1950 โดยการสังเกตรูปแบบฟาสท์ฟู้ดแฟรนไชส์

ในระหว่างที่เขาเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในช่วงที่เขาเป็นเซลล์แมน คร็อกนั้นได้เข้าถึงระบบแฟรนไชส์ และมองเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของระบบนี้ เชาใช้มันมาทำการสร้างแมคโดนัลด์ จากการใช้แฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Business Format Franchise) นี้เอง เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการสร้างธุรกิจเล็กๆให้เป็นธุรกิจขนาดมหึมาที่หลุดจากการเป็นเพียงภัตตาคาร แฮมเบอร์เกอร์ คร็อกนั้นคือผู้ที่มีผลกระทบต่อการตื่นตัวที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ผู้คน และบริษัทฯทั้งหลาย ได้คิดถึงการขยายธุรกิจด้วยวิธีแบบเขา
 
ในขณะที่มหาชนได้เห็น และยอมรับว่า เรย์ คร็อก คือราชาแห่งแฮมเบอร์เกอร์ และเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ธรรมดาเลยเหนือสิ่งอื่นใด เรย์ คร็อก ไม่ใช่คนที่ประดิษฐ์ แฮมเบอร์เกอร์ แมคโดนัลด์ (เจ้าของที่คิดสูตรอาหาร เป็น 2 พี่น้องตระกูล แมคโดนัลด์) เขาไม่ใช่คนสร้างร้านฟ้าสท์ฟู้ด ไม่ใช่ผู้คิดระบบแฟรนไชส์ แต่เขาคือผู้ที่ทำให้มันดีขึ้น สู่การยกระดับที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน

แล้วหลังจากนั้น เขาก็ขายมันทั้งคอนเซ็ปท์ จากร้านแฮมเบอร์เกอร์ 1 แห่ง ที่ตั้งอยู่กับที่ สู่ที่เรียกกันว่า แฟรนไชส์ซี่ และเกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งอเมริกา คร็อกคือผู้ประยุกต์ระบบแฟรนไชส์ เขาเปรียบเสมือนนักปฎิวัติ ผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกาก่อนหน้านี้ก็คือ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ที่ประยุกต์การผลิตรถยนตร์ อันเป็นสาเหตเดียวกันที่บุคคลทั้ง 2 กลายเป็นผู้ที่ถูกล่าวขานถึงความสำเร็จ ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโครงสร้าง เศรษฐกิจของอเมริกา
 
 
 
ปีแห่งการบูมสุดขีดของแฟรนไชส์
 
สัญญาณการบูมสุดขีดของแฟรนไชส์มาถึง เมื่อช่วงเดือนเมษายน วันที่ 15 ปี 1965 ที่แมคโดนัลด์ ได้เข้าไประดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรก ซึ่งราคาหุ้นของแมคโดนัลด์ขึ้น อย่างพรวดพราด อย่างน้อยที่สุดก็เพิ่มเป็น 2 เท่าตัวในทุกๆเดือนทีเดียว และก็เป็นอย่างนั้นไปอย่างต่อเนื่อง และในไม่ช้า ก็มีหุ้นแฟรนไชส์ของโรงแรมฮอลิเดย์อินน์, เคเอฟซี และแฟรนไชส์อื่นๆ เข้ามาขายในตลาดหลักทรัพย์อีก ระบบแฟรนไชส์นำร่องโดย กลุ่มฟาสท์ฟู้ด และได้ฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของคนอเมริกัน

หลังจากนั้นมีแฟรนไชส์ใหม่กระโดดเข้ามา แต่ก็บ่อยครั้งที่ต้อง ตายลงไปในช่วงเวลาเพียง ข้ามคืน แต่ก็มีแฟรนไชส์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ในหหมวดของธุรกิจบริการด้านสุขภาพ อาหารใหม่ๆ เช่น พิซซ่าฮัท และอาหารเม็กซิกัน เป็นต้น 
 
แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ท่ามกลางการขยายสาขาอย่างแข็งแกร่ง และรวดเร็วช่วงท้ายศตวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 การได้เปรียบของระบบแฟรนไชส์ ย่อมไม่เกิดในการบริหารที่ผิดพลาด อย่างเช่น เบอร์เกอร์เชฟ ที่มีตัวเลขขยายตัวอย่างรวดเร็วตามมาติดๆกันกับแมคโดนัลด์ แต่ในที่สุดบริษัทนี้ ไม่เพียงแต่ต้องดึงแผนการขยายตัวเองไว้ก่อนเท่านั้น แต่เขายังเริ่มสูญเสีย แฟรนไชส์ไปเรื่อยๆ ในเวลาเดียวกัน บริษัทแม่ก็ไม่ต้องการขาดทุน และสูญเสียสาขาหนักลงไปอีก

ฉะนั้น กลางๆ ทศวรรษที่ 1970 เบอร์เกอร์เชฟ ก็ลดสาขาลงเหลือน้อยกว่า 300 สาขา จากที่เคยมีถึง 1,200 สาขา และยังมีแฟรนไชส์รายอื่นๆ ที่เข้ารูปรอยเดียวกัน อันเกิดจากความละโมบในการดำเนินธุรกิจ 
 
การบูมของแฟรนไชส์ยังคงต่อเนื่อง มาอีกทศวรรษ ต่อมาคือทศวรรษที่ 1980 ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม ที่มีตั้งแต่ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ตัวแทนจัดหางาน, บริการที่เกี่ยวกับรถยนตร์, รถเช่า, อาหารนานาชาติ ส่วนแฟรนไชส์ที่ขายบริการ เช่น งานพิมพ์, จัดจ้างพนักงานชั่วคราว รวมไปถึงร้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานให้บริการเหล่านี้ ได้รับความนิยมมากในเมือง และชานเมือง และเริ่มขยายตัวอย่างเข้มข้น สู่มหานครใหญ่ๆทั่วโลก 
คำว่า “แฟรนไชส์” แทบจะไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนักเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา  นอกจากผู้ที่ประกอบธุรกิจซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาเท่านั้นที่คุ้นเคยกับคำๆ นี้  ในสมัยนั้นแม้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยจะเคยซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบกิจการที่ซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ  แต่ส่ว..
65months ago   1,660  3 นาที
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทย เกิดขึ้น และเริ่มต้นมาอย่างไร ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ถึงได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ธุรกิจแรกๆ ที่เข้ามาเปิดสาขา และทำให้ผู้บริโภคคนไทยรู้จักกับระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง คือธุรกิจอะไร 
..
85months ago   7,464  5 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,691
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด