บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.1K
1 นาที
19 มีนาคม 2554

หากกิจการเริ่มมีปัญหา จะจัดการอย่างไรดี....

หากกิจการใดๆ เริ่มมีปัญหา สิ่งเหล่านี้ อาจจะเป็นคำตอบให้คุณว่า ควรจะจัดการอย่างไรกับกิจการของคุณ

1. ปลุกขวัญและกำลังใจพนักงาน
ตอนนี้สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือ การปลุกขวัญและกำลังใจพนักงานของคุณ รวมทั้งตัวคุณด้วยว่า สามารถทำให้บริษัทฯ ผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้ ไม่ต้องคิดถึงกำไลหรือขาดทุนแล้ว แต่ต้องให้ทุกคนคิดว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนอยู่รอด และ สามารถทำงานในบริษัทฯนี้ได้ต่อไป.. ต้องสร้างขวัญและกำลังใจในบริษัทฯก่อนอันดับแรก เลยครับ อย่าให้ขวัญเสีย เพราะจะทำให้เรื่องต่างๆเลวร้ายลงครับ...

2. หาลูกค้าใหม่ให้เร็วที่สุด อย่าเพิ่งเลือกลุกค้ามากนัก
หนังสือมีมากมายหลายเล่ม บางครั้ง คุณจำเป็นต้องตระเวนหาลูกค้ากลุ่มที่ทางบริษัทฯคุณคุ้นเคยก่อน เพื่อให้งานออกมาในคุณภาพดีเท่าเดิม หารายชื่อลูกค้าที่ผลิตหนังสือหาได้จาก หนังสือ The Adverytising Book ในหมวดของ Media ซึ่งจะมีที่อยู่และเบอร์ติดต่ออยู่แล้ว ลองดูครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องหาจุดยืนจุดแข็งของคุณให้ได้ว่า คุณภาพ ดีมากๆ หรือ ราคา ยอมรับได้หรือไม่ เพราะคุณต้องเจอ บริษัทฯที่เค้าเคยติดต่องานด้วยแน่นอน

การแข่งขันเรื่องราคาอาจจะตามมา ไม่อยากให้ทำอย่างนั้น แต่สร้างความแตกต่างในจุดที่บริษัทฯคุณสามารถยอมรับได้ และ ได้กำไร ครับ อีกจุดหนึ่งในการทำลักษณะนี้ก็คือ คุณต้องสร้างระบบการให้บริการให้มากที่สุดกับลูกค้ารายใหม่ของคุณ นั่นหมายถึง คุณต้องสร้าง ความสัมพันธุ์กับลูกค้าให้มากขึ้นเป็น 2-3 เท่า ทำไมหรือ เพราะ ลูกค้าที่รับการบริการ จะใช้บริการจากคนที่ติดต่อสื่อสาร และ มีความสัมพันธ์อันดีด้วย เรื่องคุณภาพนั้น ยังสู้ความสัมพันธุ์ไม่ได้เลย..

3. เพิ่มช่องทางทางการตลาดให้มากขึ้น
บางทีคุณอาจจะต้องเพิ่มประเภทของลูกค้าขึ้นมา ในหนังสือนั้น มีรายชื่อบริษัทฯทางด้านการโฆษณามากมาย หรือ อาจจะหาได้จากหนังสือเล่มอื่นๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือ ประเภทต่างๆ ก็ได้ แล้วเข้าไปเสนองานเค้า อย่ายึดกับคนกลุ่มเดียวครับ

4. ทบทวนแผนงาน และ การดำเนินงาน
หากพออยู่ตัวแล้ว ก็ให้ทบทวนแผนงาน และ การตำเนินงานใหม่หมด หาหนทางว่า จะทำธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป การบริการที่ดีเยี่ยม การรักษาคุณภาพของสินค้า การลดข้อผิดพลาดลงให้เหลือ 0 การประเมิณราคา การตลาด ฯลฯ แล้ววางแผนให้บริษัทอยู่ยั่งยืนให้ได้ครับ เมื่อวาง แผนแล้วก็ต้องดำเนินตามแผนที่วางไว้ด้วยนะครับ คอยปรับปรุงแผนงานให้ทันสมัยเสมอ และ คอยประเมิณผลงานของแผนงานเป็นระยะๆ

5. ลดขนาดบริษัทฯลง
หากไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้ ภายใน 2-3 เดือน คุณก็ต้องทำใจ ลดขนาดของบริษัทฯลง อันนี้ไม่อยากให้ทำ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องทำครับ บอกความจริงกับลูกน้องครับ แล้วถามเค้าไปเลยว่า หากบริษัทฯ สามารถกู้สถานการณ์ได้ จะกลับมาทำกับบริษัทฯอีกหรือเปล่า.. (หากผลงานดี) เป็นต้นครับ

อ้างอิงจาก คุณวิบูลย์ จุง

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,793
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,406
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
720
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
641
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
561
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
491
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด