บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
3.8K
2 นาที
4 กรกฎาคม 2561
5 รูปแบบของการเริ่มต้นเป็นเจ้าของกิจการ 
 

เชื่อว่าหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจบใหม่ พนักงานบริษัท คนเกษียณอายุราชการ ต่างมีความใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของกิจการ เพื่อสร้างรายรายได้ สร้างฐานะให้กับตัวเองและครอบครัว แต่ปัญหาหลักๆ ก็คือ เงินทุน และไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอะไรดี จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ และมีความเสี่ยงน้อย
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงอยากนำเสนอ 5 รูปแบบของการเริ่มต้นธุรกิจ แบบคร่าวๆ ให้กับบรรดาคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ที่สำคัญจะได้รู้ว่า เงินทุนในกระเป๋าของตัวเอง เหมาะสมกับการเริ่มต้นกิจการหรือธุรกิจในรูปแบบไหนด้วย ที่สำคัญจะได้วิเคราะห์ด้วยว่า การเริ่มต้นธุรกิจแบบไหนเหมาะกับเอง 

1.สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง
 

ข้อดีคือ มีโอกาสได้คิด ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้คนอื่นเข้ามาร่วมตัดสินใจด้วย เป็นเจ้าของแบรนด์ รู้สึกภูมิใจในความสำเร็จที่ตัวเองสร้างขึ้น สามารถขายต่อหรือขายแฟรนไชส์ได้
 
ข้อเสียคือ ใช้เงินทุนสูง ความเสี่ยงสูง ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจให้เติบโต ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าธุรกิจที่ทำนั้น จะมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเข้ามากระทบหรือเปล่า 
 
2.ซื้อกิจการต่อ
 

ข้อดีคือ ไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นธุรกิจใหม่ สามารถต่อลองราคาในการลงทุนได้ ที่สำคัญมีฐานกลุ่มลูกค้าเดิมรองรับอยู่แล้ว 

ข้อเสียคือ ยังมีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญเราจะต้องศึกษาผลประกอบการ แนวโน้มและโอกาสของธุรกิจนั้นๆ ยิ่งไปกว่านี้เมื่อเราซื้อกิจการไปแล้ว เราต้องระวังว่าอนาคต เจ้าของธุรกิจเดิม จะมาเปิดแข่งขันในตลาดหรือไม่
 
3.รับช่วงกิจการต่อ
 

ข้อดีคือ ถ้ารับช่วงกิจการต่อจากพ่อแม่ หรือคนอื่นๆ เราจะมีทักษะของธุรกิจเป็นทุนเดิม และไม่ต้องใช้เงินลงทุนก้อนแรกสูง ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ มีตลาดและกลุ่มลูกค้ารองรับอยู่แล้ว 
 
ข้อเสียคือ ต้องสะสางปัญหาเดิมที่เจ้าของคนเดิมทำเอาไว้ ที่สำคัญมักถูกตีกรอบทางความคิด รวมถึงนโยบายธุรกิจจากผู้มอบกิจการให้ และต้องแก้ปัญหาภายในจากคนในองค์กรเดิม ค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ยากในช่วงแรก
 
4.ซื้อแฟรนไชส์
 

ข้อดีคือ ได้ธุรกิจที่มีชื่อเสียง มีระบบรองรับ ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องเสียเวลาสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์มีรูปแบบการอบรมสอนการทำธุรกิจให้เหมือนกันกับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ มีโอกาสำเร็จในธุรกิจสูง
 
ข้อเสียคือ ต้องถูกหักค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตามรูปแบบของแฟรนไชส์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ ที่สำคัญไม่มีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์จากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น และเสี่ยงต่อการลอยแพจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าหากเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน 

5.ไมโครแฟรนไชส์
 

ข้อดีคือ ใช้เงินลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ดี มีเครื่องมือและระบบที่เอื้อให้ดำเนินกิจการได้ทันที โดยไม่ต้องลงทุนสูง และหากเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของสังคม มักจะง่ายต่อการหาลูกค้า ช่วยให้ต้นทุนระหว่างการดำเนินธุรกิจต่ำลงไปด้วย ได้เปรียบในด้านภาษี มีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์มากจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น สามารถทำงานร่วมกับงานประจำได้ด้วย   
 
ข้อเสียคือ ทำตามกฎระเบียบของบริษัทแม่ และรักษาชื่อเสียงของบริษัทแม่อย่างเคร่งครัดนักธุรกิจที่เข้าร่วมธุรกิจหรือสาขา มักขาดความเอาใจใส่ในการดำเนินธุรกิจ ล้มเลิกง่าย เนื่องจากลงทุนต่ำหรือแทบไม่ได้ใช้เงินเลย ทำให้ขาดแรงจูงใจและต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ที่สำคัญอาจทำให้หลายคนมองว่าเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่แฝงอยู่
 
ทั้งหมดเป็น 5 รูปแบบของการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ นำไปสู่การเป็นของกิจการ โดยแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าใครคิดอยากเริ่มต้นธุรกิจตามแนวทางข้างต้น ก็ต้องเลือกรูปแบบการเริ่มต้นกิจการ และเลือกทำธุรกิจที่มีความเหมาะสมกับตนเอง เหมาะสมกับเงินลงทุน ที่สำคัญคุณต้องชอบที่จะทำตามแนวทางแบบนั้นด้วย 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

SMEs Tips
  1. สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง
  2. ซื้อกิจการต่อ
  3. รับช่วงกิจการต่อ   
  4. ซื้อแฟรนไชส์
  5. ไมโครแฟรนไชส์
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,441
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
657
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
580
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
516
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด