บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
4.6K
2 นาที
16 สิงหาคม 2561
7 อาชีพไปเที่ยวชายหาดต้องเจอ
 
ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือว่าทริปหยุดยาว สถานที่ท่องเที่ยวอย่าง “ทะเล” ดูจะเป็นที่ฮอตฮิตสำหรับคนเมืองอย่างเราเป็นอันมาก จุดเด่นของการเที่ยวทะเลคือ มีอยู่รอบตัวคนกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น บางแสน พัทยา  สัตหีบ ในจังหวัดชลบุรี ไกลออกไปอีกหน่อยก็มี จันทรบุรี ระยอง หรือจะเลือกไปทางใต้ก็มีตั้งแต่ชะอำ หัวหิน ในเพชรบุรี เรื่อยลงไปอีกหลายจังหวัดในภาคใต้ที่อยู่ติดทะเลแทบทั้งสิ้น
 
และไม่ใช่แค่คนไทยที่นิยมท่องเที่ยวชายหาดและทะเลแต่นี่คือแลนด์มาร์คที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างดี ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุชัดว่าจังหวัดที่มีท่องเที่ยวติดทะเลอย่างภูเก็ต ชลบุรี กระบี่ ระยะอง ฯ ต่างติดอันดับแหล่งท่องเที่ยวท็อปฮิตของเมืองไทย

www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าสิ่งที่ตามมาจากการที่คนนิยมท่องเที่ยวตามชายหาดแบบนี้จะมีอาชีพสำคัญไม่ว่าจะไปชายหาดที่ไหน จังหวัดใด จะต้องเจอแน่ๆ
 
1.เช่าห่วงยาง
 

ไปทะเลก็ต้องเล่นน้ำ เมื่อเล่นน้ำก็ต้องมีห่วงยาง ซึ่งห่วงยางที่ใช้ก็เป็นลักษณะของยางในรถขนาดใหญ่ ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือกตามแต่ผู้เช่าต้องการ มีทั้งของผู้ใหญ่ ของเด็ก ราคาให้เช่าตามที่เราได้ลองสอบถามจากคนให้เช่าห่วงยางที่ชายหาดชะอำราคาในการเช่านั้นอยู่ที่ 30-40 บาท สามารถเช่าได้แบบไม่จำกัดชั่วโมง เล่นเสร็จก็แบกห่วงยางเอากลับมาคืนที่ร้าน

ซึ่งแต่ละวันดูเหมือนว่าการเช่าห่วงยางจะเป็นอาชีพที่รายได้ดีแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นรายได้ทั้งหมดเพราะส่วนใหญ่ต้องมีการสัมประทานอาชีพนี้โดยเฉพาะในเขตท่องเที่ยวใครที่อยากเข้ามาทำธุรกิจก็ต้องขออนุญาติจากเทศบาลและเสียค่าธรรมเนียมรายปี รวมถึงอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องแบ่งกันในระหว่างคนพื้นที่ แต่อย่างไรก็ดีอาชีพเช่าห่วงยางก็ยังสร้างรายได้ที่ดีและอยู่คู่ชายหาดทุกแห่งในประเทศไทยด้วย
 
2.ที่นั่งผ้าใบชายหาด


บางชายหาดอย่างชะอำ หรือพัทยา หรือทะเลในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา  ที่มีการเปิดให้นักท่องเที่ยวลงไปหน้าหาดได้โดยตรง สิ่งที่เราเห็นได้ทันทีเมื่อจอดรถคือ ที่นั่งผ้าใบ

ยกตัวอย่างจากชายหาดชะอำ ทันทีที่จอดรถได้จะมีคนมาถามว่ามากี่คน กี่ท่าน เอาที่นั่งแบบไหนอย่างไร เขาจะบริการเราเริ่มตั้งแต่ที่จอดรถฟรี แต่มาเสียค่าที่นั่งแทน โดยราคาจะมีตั้งแต่ 300-400 บาท ที่นั่งตั้งแต่ 8-10 ที่แล้วแต่จำนวนคนที่มา ซึ่งที่นั่งนี้ไม่จำกัดเวลาในการนั่ง และสิ่งที่มาคู่กับการนั่งก็คือการสั่งอาหารที่ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจประจำชายหาดเช่นกัน
 
3.บริการอาหารทะเล


ต่อเนื่องกันจากข้อที่แล้วหลังเลือกที่นั่งได้จะมีคนเอาเมนูมาถามว่าเราต้องการรับประทานอะไร เหมือนกับเป็นข้อบังคับแม้บางทีเราจะมีข้าวปลาอาหารมาพร้อมแต่จะไม่สั่งอาหารอะไรบ้างเลยก็ดูกระไรอยู่

อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีส้มตำ น้ำตก ไก่ย่าง สั่งมารับประทานกัน ยังไม่นับรวมอาหารทะเลประเภทเดินขายตามโต๊ะที่มีตั้งแต่ของคาวยันของหวาน ไม่ว่าจะเป็นกุ้งเผา ปูเผา ยำไข่แมงดา ส้มตำทะเล  ข้าวหลาม  ฯลฯ เรียกว่าถ้ามาทะเลต้องมีเงินติดตัวกันสัก 1,000 บาท น่าจะเพียงพอกับทริปเที่ยวแบบย่อมๆ ได้
 
4.เช่าเรือเจทสกี/บานาน่าโบ๊ท
 

สำหรับคนที่มาทะเลส่วนหนึ่งอาจนิยมทำกิจกรรมอย่างเจทสกีหรือบานาน่าโบ๊ท ที่เรามีข้อมูลจากผู้ประกอบการในชายหาดชะอำที่ระบุว่านี่คืออาชีพที่เขาสงวนไว้สำหรับคนท้องถิ่น คนนอกไม่มีสิทธิ์เข้ามา ซึ่งผู้ที่จะทำธุรกิจนี้ก็ต้องขออนุญาติจากเทศบาลที่รับผิดชอบซึ่งเขาจะกำหนดว่าแต่ละหาดต้องมีเจทสกีกี่ลำ

อย่างที่ชายหาดชะอำเขากำหนดให้มีเรือเจทสกีได้ประมาณ 50 ลำ อัตราค่าเช่าก็ไม่ใช่จะกำหนดเองแต่มาจากสมาคมที่กำหนดเหมือนกันทั่วประเทศ ในราคา 1,500บาท/ครึ่งชั่วโมง ส่วนบานาน่าโบ๊ทจะเสียเป็นรายบุคคล คนละ 100 บาท

ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีให้กับเทศบาลปีละประมาณ 500 บาท มองจากตัวเลขค่าเช่าที่ 1,500 บาท/ ครึ่งชั่วโมงอาจดูว่ามีรายได้ดีมากแต่ในความจริงมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอีกที่เป็นต้นทุนเฉลี่ยรายได้ต่อวันของเจ้าของกิจการก็ไม่ได้สูงมากนักแต่จะมีรายได้ที่ดีหากเป็นช่วงหยุดยาวหรือตอนปิดภาคเรียน
 
5.ขี่ม้าชายหาด
 

เชื่อว่าจะต้องเคยเห็นกับม้าที่วิ่งอยู่ตามชายหาด ซึ่งจะได้รับความสนใจจากเด็กๆและนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายรูปคู่กับการขี่ม้า ราคาในการขี่ม้าชายหาด อ้างอิงจากชายหาดชะอำคิดรอบละ 100 บาท โดย 1 รอบคือ ไป 500 เมตร กลับมาอีก 500 เมตร

ซึ่งอาชีพนี้ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับเทศบาลเช่นกันและผู้ประกอบการทุกคนจะมีเบอร์ที่ด้านหลังเพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ประกอบการที่ขออนุญาติจริง โดยในชายหาดชะอำมีม้าประมาณ 50 ตัว ส่วนใหญ่จะสงวนไว้ให้คนในพื้นที่ได้ทำกิน ป้องกันนายทุนเข้ามาแย่งสิทธิ์การทำธุรกิจในพื้นที่
 
6.อาบน้ำจืด
 

เล่นน้ำเสร็จก็ต้องอาบน้ำ ดังนั้นเราจะต้องได้เห็นบริการอาบน้ำจืดที่อยู่ตามริมหาด ใครที่ไปเที่ยวทะเลต้องใช้บริการทุกคน ค่าบริการก็เริ่มตั้งแต่ 10 บาทเป็นต้นไป ส่วนใหญ่การทำห้องอาบน้ำต้องใช้งบในการลงทุนที่สูงและมีต้นทุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าพื้นที่ที่แพงกว่าธุรกิจอื่นๆ แต่ทั้งนี้ก็พบว่าในแต่ละชายหาดมีธุรกิจแนวนี้หลายราย ซึ่งเชื่อว่าแข่งขันกันที่บริการ ความสะอาด และส่วนใหญ่ยังพอมีกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายอยู่บ้างพอสมควร
 
7.ร้านเสื้อผ้า
 

บางคนเตรียมเสื้อผ้ามาเล่นน้ำ แต่บางคนมานึกสนุกทีหลัง ดังนั้นเรื่องร้านเสื้อผ้าจึงต้องมีอยู่คู่ชายหาดอย่างไม่ต้องสงสัย ชุดในร้านก็จะมีทั้งของเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย ส่วนใหญ่จะเน้นที่ผ้านุ่งเบา สบาย ใช้เล่นน้ำได้ ราคาก็จะแตกต่างกันไปแต่ขอบอกเลยว่าเริ่มต้นต่ำๆก็ประมาณ 100 บาท

นอกจากนี้ก็ยังมีขายพวกแว่นตา รองเท้าแตะ  และอุปกรณ์ของเล่นต่าง ๆ กำไรของธุรกิจนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านและต้นทุนสินค้าที่หามาได้ การแข่งขันของธุรกิจนี้อยู่ที่บริการเป็นสำคัญเนื่องจากมีหลายร้านในบริเวณชายหาด ทำให้มีการแชร์ลูกค้ากันไปพอสมควร
 
นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่เกิดขึ้นตามชายหาดไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารตามสั่ง ซีฟู้ด ร้านเพนท์เล็บ สักลวดลาย นวดสปา ร้านขนม ร้านไอศกรีม ร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องดื่ม ฯลฯ ถือเป็นข้อดีหากใครมีทำเลอยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวยิ่งเป็นพื้นที่ตัวเองแบบไม่ต้องเช่าใคร เหมือนเสือนอนกินมีรายได้หมุนเวียนเข้ากระเป๋าตลอดทั้งปีแน่นอน
 

SMEs Tips
  1. เช่าห่วงยาง
  2. ที่นั่งผ้าใบชายหาด
  3. บริการอาหารทะเล
  4. เช่าเรือเจทสกี/บานาน่าโบ๊ท
  5. ขี่ม้าชายหาด
  6. อาบน้ำจืด
  7. ร้านเสื้อผ้า
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด