บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
18 มกราคม 2562
Cross-Border ความร่วมมือการค้าออนไลน์ไทย-มาเลย์เกิดขึ้นแล้ว
 

จากที่เคยบอกไปครับเรื่องของการรับมือสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศที่ยกทัพเข้ามาบุกบ้านเรา วิธีหนึ่งที่เราจะรับมือได้ก็คือการพยายามส่งสินค้าของเราออกไปนอกประเทศผ่านช่องทางออนไลน์หรือมาร์เก็ตเพลสของต่างประเทศด้วยเช่นกัน วันนี้ผมและ TARAD.com รวมถึง Startup ของไทยอีกสองบริษัทก็ได้ลงมือทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้แล้ว
 
เมื่อปลายเดือนเมษายนผมมีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อไปทำในสิ่งที่ได้เคยพูดไว้ คือการไปลงนามความร่วมมือทางการค้าออนไลน์ระหว่างสองประเทศและลงทุนขยายธุรกิจไทยด้านออนไลน์ไปยังมาเลเซีย โดยทาง TARAD.com ได้ขยายช่องทางเข้าไปในเว็บไซต์ของมาเลเซีย

รวมถึงการร่วมลงทุนของบริษัท Startup อย่าง SHIPPOP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านระบบโลจิสติกส์ครบวงจร และ Siam Outlet ผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์สำหรับองค์กรธุรกิจและร้านค้าออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งสองบริษัทของไทยได้ขยายบริการออกไปยังประเทศมาเลเซียเช่นเดียวกัน

ในการลงนามครั้งนี้มีตัวแทนจาก Malaysia Digital Economy Corporation หรือ MDEC ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักภายใต้รัฐบาลมาเลเซียที่มีหน้าที่ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศมาเลเซีย และกระทรวงพาณิชย์ของไทยเป็นพยานในการลงนามครั้งนี้ด้วย
 
3 โครงการที่เกิดขึ้นในการลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลมาเลย์เซียครั้งนี้ คือ
 
โครงการความร่วมมือ TARAD.com ของไทย กับ SiteGiant ผู้ให้บริการการค้าออนไลน์ของมาเลเซีย เพื่อเชื่อมต่อการค้าออนไลน์ระหว่างกัน โดยสามารถนำสินค้าจากทั้งสองประเทศส่งออกไปขายระหว่างกันผ่านช่องทางออนไลน์
 
โครงการการร่วมลงทุนของ SHIPPOP มาเลเซีย (www.Shippop.com.my) ผู้ให้บริการขนส่งทางออนไลน์ในมาเลเซีย เป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท SHIPPOP ประเทศไทย และบริษัท Commerce.asia ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการ E-Commerce ครบวงจรของมาเลเซีย
 
โครงการการลงทุนใน LetMeStore มาเลเซีย (www.letmestore.com) ซึ่งเป็นบริษัทด้านการจัดเก็บสินค้าและจัดส่งสินค้า (Fulfilment) เป็นการลงทุนของบริษัท Siam Outlet ประเทศไทย

 
ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำผู้ประกอบการของทั้งไทยและมาเลเซียสามารถที่จะขยายช่องทางการค้าระหว่างกันผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวกขึ้นและง่ายขึ้น ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการผลักดันที่ประสบความสำเร็จของภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างประเทศได้เกิดขึ้น นับเป็นความร่วมมือในระดับอาเซียนที่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยความสำเร็จครั้งนี้เป็นการร่วมมือกับบริษัท Commerce.asia บริษัทที่ให้บริการ E-Commerce ของมาเลเซีย       
 
หันมามองดูเบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้คงต้องพูดถึง Startup ทั้งสองบริษัทของไทยที่ถือว่าเป็นบริษัทของคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ที่สามารถขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าแบบเดิม ทั้งสองบริษัทมีมุมมองที่ไม่ได้จับแค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่มองไกลไปถึงการขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวหลักในการสร้างและขับเคลื่อนธุรกิจ นับว่าเป็น Startup ของไทยที่ประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างให้แก่ธุรกิจอื่นสามารถเดินตามได้ ถือว่าได้เปิดประตูให้กับการทำธุรกิจ cross-border ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
 
 
ภาพจาก goo.gl/26MM8M
 
บริษัท SHIPPOP ที่เป็น Startup แถวหน้าของไทยด้วยทีมงานเด็กรุ่นใหม่เพียง 15 คนที่ช่วยกันสร้างธุรกิจจนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และทำกำไรได้แล้วแม้จะเปิดธุรกิจมาได้แค่เพียงปีกว่าๆ เท่านั้น ที่สำคัญคือสามารถขยายธุรกิจออกไปต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว การเปิดให้บริการของ SHIPPOP มาเลเซียนั้นเปิดมาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2560 โดยบริษัทสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักภายในประเทศมาเลเซียได้หมดแล้ว

มียอดผู้ใช้บริการที่เติบโตต่อเนื่องและรวดเร็ว วันนี้ยังอาจเป็นการให้บริการกับบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในประเทศมาเลเซียเป็นหลัก แต่ในอนาคตจะเชื่อมต่อเข้ากับระบบขนส่งของประเทศไทยอย่างแน่นอน โดยทีมของประเทศไทยจะเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลักให้ SHIPPOP มาเลเซีย

 
ภาพจาก goo.gl/95FFjf
 
อีกหนึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ก็คือ Siam Outlet บริษัทที่ทำเกี่ยวกับคลังสินค้าและโลจิสติกส์สำหรับองค์กรธุรกิจและร้านค้าออนไลน์แบบครบวงจรของไทย เป็นอีกหนึ่ง Startup ที่น่าจับตามองเพราะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่ 2 ปีก็สามารถนำเทคโนโลยีของตนมาขยายการลงทุนออกไปนอกประเทศได้แล้ว

นั่นคือการลงทุนใน LetMeStore ผู้ให้บริการเกี่ยวกับคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของมาเลเซียซึ่งเป็นธุรกิจในลักษณะเดียวกัน โดยทาง Siam Outlet ได้นำเอาเทคโนโลยีการบริหารคลังสินค้าและองค์ความรู้ของตนมาถ่ายทอดให้กับทีมงานมาเลเซีย เทคโนโลยีที่ว่านี้ได้พัฒนาให้มีความก้าวล้ำและตอบโจทย์การทำธุรกิจในมาเลเซียเป็นอย่างมาก
 
การทำงานในครั้งยังไม่ถือว่าถึงจุดสิ้นสุด หน้าที่ของผมต่อจากนี้คงต้องมองต่อไปถึงประเทศในอาเซียนอื่นๆ เพราะการตลาดออนไลน์จะขายแต่ในประเทศคงไม่ได้แล้ว เราต้องส่งออกไปต่างประเทศด้วย เราคงต้องเตรียมการในเรื่องของการเชื่อมต่อ การเจรจากับหน่วยงานของแต่ละประเทศ และต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดเก็บสินค้า การขนส่ง การจัดการ ฯลฯ


ภาพจาก goo.gl/95FFjf

นักธุรกิจไทยที่ต้องการส่งออกไปต่างประเทศหากทำเองทั้งหมดอาจมีความยุ่งยาก ผมจึงพยายามเชื่อมต่อทุกอย่างไว้ให้ หากใครสนใจลองเข้าไปที่ TARAD.com ก่อนก็ได้ เพราะตอนนี้เราได้เชื่อมต่อและเตรียมความพร้อมไว้แล้ว

แค่นำข้อมูลสินค้ามาฝากไว้ในเว็บไซต์ก็สามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ ผมพยายามลดขั้นตอนต่างๆ ให้น้อยลงและอยากให้คนไทยได้ส่งสินค้าออกไปขายได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เราไม่ควรยอมให้ต่างชาติบุกเข้ามาตีตลาดบ้านเราแต่ฝ่ายเดียว เราต้องหาทางส่งออกไปด้วยเช่นกัน เพราะนั่นคือทางรอดของเราครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด