บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
1.7K
3 นาที
18 กุมภาพันธ์ 2562
เล่าสู่กันฟัง ประสบการณ์การลงทุนใน startups (ตอนที่ 1)
 
ถ้าถามว่าการลงทุนในสตาร์ทอัพของผม ได้หรือเสีย? อยากบอกว่าสุดท้ายแล้วผมว่าผมได้ครับ  การลงทุนของผมทำมา 20 ปีแล้วแบ่งออกเป็นหลายช่วง และโดยเฉพาะในช่วงต้นผมที่ผมถือว่าผมได้นั่นก็คือ บริษัทตลาดดอทคอม นี่เอง แต่บางตัวที่ถือว่าล้มเหลวผิดพลาดก็มีครับ
 
อย่างไรที่ดี อย่างไรที่เจ๊ง และต้องเตรียมตัวอย่างไร
 

 
 
ภาพจาก www.thaiware.com

เมื่อก่อนเราอาจไม่ได้เรียกการทำธุรกิจแบบนี้ว่าสตาร์อัพ แรกเริ่มผมทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 1999 จุดเปลี่ยนของผมคือมีนักลงทุนมาสนใจลงทุนในธุรกิจของผม นั่นคือกลุ่มโมโน และกลุ่มใหญ่เลยก็คือกลุ่ม Rakuten ที่เข้ามาซื้อหุ้นของบริษัท มันเหมือนกับการที่เราปั้นบริษัทที่เป็นสตาร์อัพขึ้นมาแล้วมีคนมาซื้อกิจการ สุดท้ายเราก็ได้เงินกลับเข้ามา ผมจึงคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว 
 
ในระหว่างนั้นผมเองก็ได้ไปลงทุนในธุรกิจอื่นเช่นกัน อย่างตัวแรก ๆ ที่ผมไปลงทุนคือ thaiware.com ซึ่งเป็นเว็บมาร์เก็ตเพลสทางด้านซอฟต์แวร์ ราวปี 2011 ช่วงแรกรายได้ต่อปีประมาณแค่ 2 ล้านบาท การเข้าไปนั้นผมไม่ได้ต้องการลงทุนเพียงแค่เงินเท่านั้น แต่ผมต้องการเข้าไปช่วยในแง่ของการบริหารจัดการ การวางกลยุทธ์ หรือเป็นที่ปรึกษา จนล่าสุดปี 2017 thaiware.com มีรายได้ประมาณ 83 ล้านบาท
 
“การลงทุนไม่ได้ลงแต่เงิน แต่ต้องดูทิศทางและให้คำแนะนำ” นั่นเป็นแนวทางการลงทุนในธุรกิจระยะแรก ๆ ผมมีการลงทุนอยู่หลายรูปแบบก็คือ บางตัวก็เริ่มตนเองเลย เช่น ผมทำบริษัทออนไลน์เอเจนซี่ขึ้นมาชื่อ Winter Egency และบริษัทที่ทำเกี่ยวกับข้อมูลบนโซเชียลมีเดียชื่อ Zocial, inc. ทำไปทำมาก็การเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเพราะเรามีประสบการณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็เริ่มลงทุนในธุรกิจอื่นด้วย จนปัจจุบันนี้ผมลงทุนไปทั้งหมดประมาณ 20 บริษัท บางธุรกิจเริ่มต้นมาจากศูนย์แต่มูลค่าบริษัทก็โตขึ้นไปหลายร้อนล้าน บางธุรกิจเจ๊งเลยก็มี เรียกว่ามีความหลากหลายมากในแต่ละธุรกิจ 
 
“แต่ละบริษัทที่ไปลงทุนล้วนได้ประสบการณ์” ผมค่อนข้างผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มาครบทั้งที่ไปลงทุน ทั้งที่สร้างธุรกิจขึ้นเองอย่างตลาด ดอท คอม หรือทั้งที่ซื้อมาคือ ไทยอีเพย์ (ThaiePay) ซึ่งเป็นเพย์เม้นต์เกตเวย์แรก ๆ ของประเทศไทย ซื้อมาแล้วนำมาปรับปรุงทำให้โตมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่มียอดขายปีหนึ่งประมาณ 200 กว่าล้าน ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Pay Solutions มียอดขายปีหนึ่งประมาณ 400 กว่าล้านแล้วและสุดท้ายขายไปได้มากกว่าเดิมหลายสิบเท่าเลยครับ นี่คือบางกิจการที่ผมซื้อมาแล้วมาปรับใหม่ให้ดีขึ้น เติบโตขึ้น สุดท้ายก็ขายกิจการนั้นออกไป
 
 ภาพจาก  www.facebook.com/shippop
 
“ทำไมผมถึงตัดสินใจกิจการขายไปทั้งทีเห็นว่ายังดีอยู่” มันอาจขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่ลงตัว ต้องบอกว่าการที่ผมลงทุนซื้อบางกิจการก็มีนักลงทุนคนอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย บางกิจการที่เรามีอยู่นั้นต้องยอมรับว่ามีการแข่งขันที่สูงอยู่เหมือนกัน เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องการชำระเงินมีการแข่งขันสูงมาก หากเราออกผิดจังหวะหรือบริหารผิดจังหวะมันก็อาจจะเจ๊งคามือได้ บางทีมันก็ถึงจังหวะที่เราควรจะขายแล้ว
 
หรืออีกหนึ่งบิสเนสโมเดลที่น่าสนใจของผมก็คือปี 2012 ผมเปิดบริษัทขึ้นมากับเด็กฝึกงานคนหนึ่งชื่อว่า Zocial, inc. ทำเกี่ยวกับเรื่องของ big data บนโซเชียลมีเดีย ทำไปสักพักด้วยความที่ผมเริ่มมีบริษัทต้องดูแลเยอะขึ้นและเริ่มบริหารไม่ไหว พอดีมีโอกาสได้คุยกับบริษัทคู่แข่งในตอนนั้นคือ โธธ มีเดีย จึงคิดว่าเรารวมกันดีกว่าและเปลี่ยนชื่อเป็น โธธ โซเชียล ซึ่งเป็นการรวมตัวกันที่ลงตัวมาก 
 
หลังจากนั้นสักสองปีก็ได้เจอพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทเกี่ยวกับด้านวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดีย ชื่อว่า โอบีว็อค จึงกลายเป็นการรวมกัน 3 บริษัทเลย เป็นการเอาความเก่งของแต่ละบริษัทมารวมกัน ในช่วงนั้นเราได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารออมสินและตลาดหลักทรัพย์เข้ามาถือหุ้นประมาณ 30 กว่าล้าน ดังนั้นบริษัท โธธ โซเชียล โอบีว็อค จึงรีแบรนด์ใหม่ในชื่อ ไวซ์ไซท์​ (WISESIGHT) เป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลในโซเชียลมีเดีย และตอนนี้เราได้บุกตลาดมาเลเซียแล้วด้วย
 
ฉะนั้น ในแง่ของการทำธุรกิจของผม บางอย่างก็ไม่ได้ลงทุน บางอย่างเมื่อเห็นโอกาสที่อาจจะต้องเมิร์จรวมเข้าด้วยกัน บางอย่างอาจต้องไปซื้อมา บางอย่างอาจต้องขยายเอง กรณี ไวซ์ไซท์​ ก็เป็นอีกโมเดลหนึ่งที่เติบโตได้ดีมากทีเดียว จากที่รวมตัวกันของสามบริษัท ผมเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการ มีน้อง ๆ ที่เป็นทีมบริหาร การบริหารจะทำได้ดีผมเชื่อว่าเคมีมีส่วนสำคัญมาก โชคดีที่ผมได้เจอพาร์ทเนอร์ที่ดี 
 
ส่วนอีกบริษัทที่ผมตั้งขึ้นมากับมือเองชื่อว่า Shippop เป็นสตาร์ทอัพทำเรื่องเกตเวย์ด้านขนส่ง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระบบขนส่งทั้งหมดให้มาอยู่ด้วยกันที่เดียว ผมใช้วิธีการประกาศไอเดียในการทำธุรกิจลงในเฟซบุ๊ก หาคนที่สนใจมาช่วยทำและได้น้องคนหนึ่งมาช่วยกันทำแผนธุรกิจออกมา ต่อมามีชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลจิสติกส์สนใจมาร่วมลงทุน เราจึงปั้นขึ้นเป็น Shippop ราวเกือบปีได้พี่อีกคนหนึ่งมาลงทุนเพิ่มด้วยจึงทำให้เรามีเงินมาต่อยอดธุรกิจให้โตได้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันการลงทุนของ Shippop อยู่ที่ 300 กว่าล้าน รายได้ประมาณ 100 กว่าล้านแล้วครับ


ภาพจาก www.facebook.com/shippop
 
ผมมีโอกาสนำ Shippop ไปเสนอเพื่อนชาวมาเลเซียปรากฏว่าเขาสนใจมากจึงทำ joint venture ทำให้ตอนนี้เรามี Shippop Malaysia ธุรกิจขนาดเล็กแบบ sme สามารถขยายไปได้ถึงสองประเทศ เราสามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ปีแรก ผมรู้สึกว่านี่แหละคือธุรกิจสตาร์ทอัพที่ใช่เลย 
 
จากความรู้ทั้งหมดที่ผมมีไม่ว่าจะตอนที่อยู่กับกลุ่ม Rakuten หรือตั้งแต่ที่ปั้นธุรกิจขึ้นมาเอง ผมเอาความรู้เหล่านี้มาสอนน้อง ๆ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของธุรกิจของคุณคืออะไร ชี้เป้าได้ว่าควรแก้ไขที่ตรงไหน และอาศัยคอนเนกชั่นที่ผมมีทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเดินไปข้างหน้าได้เร็วมากยิ่งขึ้น 
 
การลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพยิ่งลงทุนตอน early stage คือตั้งแต่วันแรก ๆ ที่ยังเล็กอยู่ เราจะใช้เงินในการลงทุนไม่เยอะ แต่โอกาสความเสี่ยงก็มีสูงมากเช่นกัน
 
คำแนะนำจากประสบการณ์ของผมสำหรับคนที่อยากลงทุนแต่ยังกลัวอยู่
  1. ลงทุนในธุรกิจที่เห็นแล้วเชื่อ และมองเห็นโอกาสของมัน
  2. หลักในการลงทุนของผมคือจะลงทุนตอนที่เขายังเล็กอยู่ ไม่ลงทุนตอนที่เขาใหญ่แล้ว เพราะราคาก็จะขึ้นเป็นหลายสิบล้าน ซึ่งผมคงไม่ลงทุนหลายสิบล้านในบริษัทเดียว ผมจะลงทุนในหลักแสน หลักล้าน ฉะนั้นจึงต้องเลือกเฟ้นตัวที่เราเห็นแล้วเราเข้าใจ มองเห็นโอกาสที่เราจะนำพาธุรกิจที่ลงทุนให้เติบโตไปข้างหน้าได้
  3. กลุ่ม founder หรือกลุ่มคนที่ทำมันขึ้นมาต้องมีเคมีและความตั้งใจจริงในการทำงาน
  4. ต้องดูด้วยว่าผมจะเข้าไปช่วยเขาทำ เพราะผมจะไม่ใช่คนที่ใส่เงินเข้าไปแล้วรอ ผมจะเข้าไปช่วย แต่ผมก็จะระมัดระวังไม่ไปก้าวก่ายเขามากเกินไป ผมจะแค่ชี้เป้าว่าควรทำอะไรมากกว่า เพราะบางครั้งการเข้าไปก้าวก่ายจะทำให้คนที่ทำไม่สบายใจที่จะทำงานด้วยเหมือนกัน
ครั้งหน้าผมยังมีประสบการณ์การลงทุนในสตาร์ทอัพมาเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ โปรดติดตาม
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,443
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
663
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
582
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
517
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด