บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.6K
2 นาที
14 มีนาคม 2562
ศัพท์ควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์
 

 
แฟรนไชซิ่ง (Franchising)

หมายถึง การที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือที่เรียกว่า Franchisor ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ์หรือ Franchisee ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหารและระบบธุรกิจของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาขึ้น โดยผู้รับสิทธิ์จะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบของเจ้าของสิทธิ์


ภาพจาก goo.gl/2qUtcq
 
แฟรนไชส์ (Franchise)

หมายถึง ระบบธุรกิจที่มีลักษณะสำคัญ 5 ประการคือ
  1. จะต้องมีเจ้าของลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าหรือตรายี่ห้อสินค้า/บริการที่ต่อไปจะเรียกว่าผู้ให้สิทธิ์  อนุญาตให้ผู้รับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือตรายี่ห้อของตนโดยชอบตามกฎหมาย
  2. ผู้ให้สิทธิ์จะต้องมีการถ่ายทอดวิทยาการ เทคนิค ข้อมูลที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ  ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นให้แก่ผู้รับสิทธิ์  เพื่อให้สามารถขายสินค้าหรือบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  3. ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่เป็นจำนวนเงินแน่นอน
  4. ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่เป็นสัดส่วนต่อการดำเนินงานแก่ผู้ให้สิทธิ์ตลอดไป
  5. ผู้ให้สิทธิ์จะต้องกำกับการดำเนินธุรกิจของผู้รับสิทธิ์  ตลอดจนให้คำแนะนำตลอดจนความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้รับสิทธิ์ตลอดไป
ภาพจาก goo.gl/ussfgm

แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor)

หมายถึง เจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิธีการทำธุรกิจ จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค หรือจนได้มาตรฐานที่พร้อมจะนำออกสู่ตลาด แล้วจึงทำการขายสิทธิ์ในการให้ยืมใช้ชื่อทางการค้าหรือตรายี่ห้อของสินค้าให้แก่ผู้อื่นที่สนใจลงทุน ภายในระยะเวลา, สถานที่, และเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ตกลงกัน โดยมีลักษณะสำคัญครบทั้ง 5 ประการของระบบธุรกิจแฟรนไชส์
 
แฟรนไชส์ซี (Franchisee)

หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อทางการค้าหรือตรายี่ห้อของสินค้าที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยินยอมภายในระยะเวลา, สถานที่, และเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ตกลงกัน โดยมีลักษณะสำคัญครบทั้ง 5 ประการของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ 

 
ภาพจาก goo.gl/gJ7qg9

แฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)

หมายถึง ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ที่ผู้รับสิทธิ์จ่ายให้แก่ผู้ให้สิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ ในการเข้ามาดำเนินธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ซึ่งก็คือค่าธรรมเนียมแรกเข้านั่นเอง
 
รอยัลตี้ฟี (Royalty Fee)

หมายถึง ค่าตอบแทนที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้สิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ตามสัดส่วนของการดำเนินงานตลอดไป ซึ่งอาจจะเป็นต่อยอดขาย ต่อยอดกำไรหรือต่อยอดสั่งซื้อสินค้า/วัตถุดิบ แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบก็ได้

 
แอดเวอร์ไทซิ่งฟี (Advertising Fee)

หมายถึง ค่าตอบแทนที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้สิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อที่ผู้ให้สิทธิ์จะได้นำไปใช้ในการโฆษณา  ประชาสัมพันธ์  สินค้าหรือบริการโดยรวมของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นหรือเฉพาะจุดของผู้รับสิทธิ์ธุรกิจแฟรนไชส์ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน แต่จะมีหรือไม่ก็ได้เช่นกัน
 
แฟรนไชส์แพคเกจฟี (Franchise Package Fee)

หมายถึง ค่าตอบแทนที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้สิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อที่ผู้ให้สิทธิ์จะได้นำไปใช้ในการดำเนินงานไม่ว่าด้านใดก็ตาม เช่น ด้านโฆษณา  ประชาสัมพันธ์  จัดการฝึกอบรม  พัฒนาระบบงาน ฯลฯ  ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้เช่นกัน
 
ซิงเกิ้ลยูนิตแฟรนไชส์ (Single Unit Franchise)

หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสิทธิ์ในการเปิดธุรกิจเพียง 1 แห่ง 


มัลติยูนิตแฟรนไชส์ (Multi Unit Franchise)

หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสิทธิ์ในการเปิดธุรกิจได้มากกว่า 1 แห่ง ตามจำนวนที่ได้ตกลงไว้กับผู้ให้สิทธิ์ แต่ผู้รับสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์ในการขายสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง
 
ซับแอเรียแฟรนไชส์ (Sub-Area Franchise)

หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถขยายธุรกิจได้ตามจำนวนภายในระยะเวลา  และอาณาเขตพื้นที่ที่ผู้ให้สิทธิ์กำหนด  โดยจะเลือกขยายธุรกิจเอง  หรือขายสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้สนใจลงทุนเพิ่มเติมก็ได้ หากข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ให้สิทธิ์ (เจ้าของลิขสิทธิ์)ยินยอม  ตัวอย่างเช่น  เครือตันตราภัณฑ์  เชียงใหม่  เป็นซับแอเรียแฟรนไชส์ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในจังหวัดเชียงใหม่  เป็นต้น

 
มาสเตอร์แฟรนไชส์ (Master Franchise)

หมายถึง ผู้รับสิทธิ์ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้สิทธิ์จากบริษัทแม่ในต่างประเทศ  เพื่อที่จะไปทำธุรกิจนั้นในประเทศของตน  ซึ่งมักจะต้องมีแผนงานที่ชัดเจน  มีการลงทุนค่อนข้างสูง แต่ก็จะได้รับการถ่ายทอดทั้งด้านเทคโนโลยีและความรู้การบริหารงานในระดับสูง ตัวอย่างเช่น บริษัท เดอะไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ของไอศครีมเซเว่นเซ่นส์  เป็นต้น
 
ออฟเฟอริ่ง เซอร์คูลาร์  (Offering Circular)

หมายถึง หนังสือชี้ชวนที่ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ที่ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าประวัติ ผลการดำเนินงาน ค่าธรรมเนียม จำนวนร้านสาขาที่เปิดอยู่และที่ปิดไป ตลอดจนคดีฟ้องร้องที่เคยเกิดขึ้น


ดังนั้นทุกอย่างที่จะมีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อแฟรนไชส์ในวันนี้และในอนาคต และแม้กระทั่งฐานะการเงินของผู้บริหารระดับสูง และบริษัท ว่าเคยถูกฟ้องร้องให้ล้มละลายก่อนหน้านี้สิบปีหรือไม่ ก็ยังต้องเปิดเผยให้ผู้สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ทราบก่อนอย่างน้อยสิบวัน (มีเรื่องข้อที่จะต้องเปิดเผยรวมทั้งสิ้น 23 หัวข้อสำคัญ) เพื่อให้ผู้ที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจลงทุน 

แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้ เนื่องด้วยพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ยังไม่สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ และยังต้องอาศัยกฎหมายลูกที่จะต้องร่างและประกาศบังคับใช้ตามหลังจาก พรบ.ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์  จึงจะสามารถบังคับให้ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องมีออฟเฟอริ่ง เซอร์คูลาร์ได้ในอนาคต
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,689
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด