บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
322
2 นาที
28 มิถุนายน 2567
ธุรกิจ Franchise & ธุรกิจ Chain Store ต่างกันอย่างไร

 
รูปแบบการขยายกิจการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แฟรนไชส์ และ เชนสโตร์ ทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจแบบไหนเป็นแฟรนไชส์ หรือเชนสโตร์ มาดูกัน
 
ธุรกิจแฟรนไชส์


เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของแบรนด์ (แฟรนไชส์ซอร์) ขายสิทธิ์กับบุคคลที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ให้สามารถใช้ชื่อแบรนด์ เทคโนโลยี และระบบการทำงานของแบรนด์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้ โดยแฟรนไชส์ซอร์จะให้ความช่วยเหลือในการจัดหาทำเลเปิดร้าน การฝึกอบรม การทำตลาด ระบบเทคโนโลยีการจัดการหน้าร้าน-หลังร้าน และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตไปพร้อมกับแฟรนไชส์ซอร์ 
 
ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์
 
ธุรกิจแฟรนไชส์แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ Product Franchise และ Business Format Franchise 

1. Product and Brand Franchise 
 

ธุรกิจแฟรนไชส์แบบนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเจ้าของแฟรนไชส์ รวมถึงการให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์ด้วย ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้หลายๆ คนเรียกว่า "แฟรนไชส์สร้างอาชีพ" ใช้เงินลงทุนต่ำหลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องซื้อวัตถุดิบบางส่วนจากเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อความเป็นมาตรฐานของแบรนด์ เช่น แฟรนไชส์ชานมไข่มุก ลูกชิ้นปลาระเบิด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่เกี๊ยว สเต๊ก เป็นต้น

2. Business Format Franchise 
 

ธุรกิจแฟรนไชส์ลักษณะนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิ์ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้จะแตกต่างจาก Product Franchise คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ระบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกอย่างจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งระบบหลังบ้าน-หน้าบ้าน 
 
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ Royalty Fee และ Marketing Fee ประมาณ 3-5% ของยอดขายรายเดือนให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้นำเงินส่วนนี้มาสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา ตัวอย่างแฟรนไชส์ระบบ เช่น 7-Eleven, คาเฟ่ อเมซอน, อินทนิล, เชสเตอร์, แดรี่ควีน, เดอะพิซซ่า คอมปะนี ฯลฯ 

3. Conversion Franchise 
 

ระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนาจาก Business Format Franchise โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้น ๆ ให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์เพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้า และให้สิทธิจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงให้สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่
 
ธุรกิจ Chain Store
 
  
ธุรกิจหรือร้านค้าที่เปิดดำเนินการมากกว่า 1 สาขาขึ้นไป จำหน่ายสินค้าและบริการเหมือนกันภายใต้ชื่อ หรือร้านค้า หรือแบรนด์เดียวกัน โดยรูปแบบดำเนินธุรกิจจะรวมศูนย์การบริหารงานไว้ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ รูปแบบร้านค้า รูปแบบการประกอบการ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การจัดการทรัพยากรบุคคล การจัดส่งสินค้าให้ทุกสาขา 
 
ร้านค้ารูปแบบเชนสโตร์ส่วนใหญ่จะมีภาพลักษณ์เดียวกัน ต่างกันบ้างเล็กน้อยแล้วแต่ทำเลพื้นที่ แต่มีมาตรฐานเหมือนกัน มีการจัดการรูปแบบแบบเดียวทุกสาขา เพราะส่วนกลางจะมีการสร้างระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานเอาไว้
 
 
ลักษณะทั่วไปของการดำเนินงานของธุรกิจเชนสโตร์ คือ 
  1. ความรับผิดชอบและการจัดการอยู่ที่สำนักงานใหญ่ส่วนกลาง ยกเว้นการขายที่อยู่กับแต่ละสาขา
  2. การบริหารงานถือว่าแต่ละสาขาเป็นศูนย์กำไร ผู้จัดการร้านเป็นผู้ดูแลการขาย ควบคุมค่าใช้จ่าย
  3. พนักงานแต่ละสาขาได้รับการฝึกอบรมจากส่วนกลาง เพื่อความเป็นมาตรฐาน
  4. แต่ละสาขาต้องรายงานผลการดำเนินไปยังส่วนกลาง
ตัวอย่างธุรกิจแบบเชนสโตร์ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต แม็คโคร โลตัส ร้านสุกี้ ร้านอาหารต่างๆ โรงแรม เป็นต้น

 
ข้อดีของธุรกิจเชนสโตร์ คือ สามารถลดต้นทุนสินค้าเมื่อสั่งซื้อในปริมาณมากๆ เมื่อต้นทุนสินค้าถูกลง ก็สามารถขายราคาต่ำได้ สร้างความได้เปรียบคู่แข่งในตลาด ดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการได้เป็นอย่างดี สร้างยอดขายและผลกำไรให้กับร้าน เหมือนกรณีพ่อค้าแม่ค้าร้านโชห่วยมักนิยมไปซื้อสินค้าจากแม็คโครมาขาย เพราะขายสินค้าราคาถูก 

ข้อเสียองธุรกิจเชนสโตร์ การเปิดหลายสาขาอาจมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ต้องใช้พนักงานจำนวนมาก พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าแต่พื้นที่อาจไม่เหมือนกัน อาจส่งผลต่อรายได้
 
สรุปก็คือ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างแฟรนไชส์และเชนสโตร์ คือ การรวมศูนย์บริหารและการจัดการ โดยธุรกิจเชนสโตส์จะมีการรวมศูนย์บริหารและการจัดการไว้ที่สำนักงานใหญ่ส่วนกลาง จัดหาและอบรมพนักงาน สาขามีหน้าที่ขาย ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละสาขาจะเป็นผู้จัดหาพนักงานเอง ดำเนินงานตามคู่มือของแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อให้ได้ยอดขายและกำไร 

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,736
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,853
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,245
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด