บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
4.8K
2 นาที
16 พฤษภาคม 2555
SME หลังน้ำลด
 
ในช่วงนี้ประเด็นที่กระทบกับ SME ในบ้านเราโดยตรงคงหนีไม่พ้นภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ในภาคกลาง และ จังหวัดรอบ ๆ กรุงเทพฯ ในระยะเวลาไม่นานจากนี้เราคงรู้กันว่าความพยายามที่จะปกป้องกรุงเทพฯ ชั้นในไม่ให้เผชิญสภาวะน้ำท่วม อันจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจ

โดยรวมจะเป็นอย่างไร แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สุดท้ายน้ำก็จะต้องหาทางไหลลงทะเลอ่าวไทยไปได้ สิ่งที่ตามมาหลังน้ำลดคือ การฟื้นฟูทั้งสภาพบ้านเมือง และ เศรษฐกิจ ให้กลับไปอย่างน้อยจุดเดิมก่อนน้ำท่วมให้เร็วที่สุด ซึ่งผมเชื่อว่า ณ วันนี้ไม่ว่าจะหน่วยงานราชการ หรือ หน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ กำลังวางแผนที่จะดำเนินการฟื้นฟูโดยรวมกันอยู่ เราคงได้เห็นมาตรการ หรือ ความช่วยเหลือการฟื้นฟูจากหน่วยงานต่าง ๆ ออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากวันนี้เป็นต้นไป
 
ในช่วงที่ผ่านมาผมเชื่อว่า SME โดยรวมคงอยู่ในสภาวะตึงเครียดกับสถานการณ์น้ำท่วมกันมาก แต่จากนี้ไปสิ่งที่ต้องเผชิญก็คือ แล้วเราจะเป็นอย่างไรภายหลังน้ำลด ผมอยากให้ท่านผู้ประกอบการทั้งหลายตั้งสติและเริ่มคิดวางแผนถึงการดำเนินธุรกิจภายหลังน้ำลดว่าควรจะต้องทำอย่างไร  วิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายแน่นอน สิ่งที่ต้องทำคือ เราจะป้องกันตัวเองจากวิกฤติต่าง ๆ ไม่ว่าจากสภาวะเศรษฐกิจ หรือ จากภัยธรรมชาติ อย่างไรในอนาคตเพื่อไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนครั้งที่ผ่าน ๆ มา วิกฤติเศรษฐกิจในบ้านเราที่ใหญ่ที่สุดในช่วงที่ผ่านมาก็คือ วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 คนที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนนั้น
 
ถ้ายังจำกันได้ เราอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่มาก ดูเหมือนไม่มีทางออก แต่สุดท้ายเราก็ผ่านมาได้ ผู้ประกอบการหลายท่านก็ผ่านพ้นมาได้ และหลายท่านผมเชื่อว่าสามารถกลับมาได้ดีกว่าสมัยก่อนเกิดวิกฤติ เพราะรู้จักแปลงวิกฤติเป็นโอกาส และฉกฉวยโอกาสมาได้ ผมจึงอยากให้ท่านผู้ประกอบการคิดให้หนักครับว่า จะแปลงวิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสของท่านอย่างไรหลังน้ำลด
 
ผมขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่สามารถแปลงวิกฤติเป็นโอกาส โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ (Business Model) กรณีแรกคือ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ บริษัทที่ทำโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งในอดีตทุกโครงการจะต้องให้ผู้ซื้อซื้อโครงการจากแบบแปลน และนำเงินจากการดาวน์ไปทำโครงการ ลูกค้าจะไม่เคยเห็นบ้านจริงเลย เห็นแต่เพียงจากแบบ และ บ้านตัวอย่างเท่านั้น ในช่วงหลังวิกฤติ กำลังซื้อของคนซื้อบ้านลดลง

การพิจารณาก็มากขึ้น แลนด์แอนด์เฮ้าส์เล็งเห็นว่าคนส่วนใหญ่รีรอที่จะซื้อบ้าน เนื่องจากไม่แน่ใจในคุณภาพของบ้านที่จะซื้อ ดังนั้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยเปลี่ยนเป็น “บ้านสร้างเสร็จก่อนขาย” ซึ่งเป็นเจ้าแรกในตลาด คนซื้อก็สบายใจได้เห็นบ้านจริง และคุณภาพของบ้านก่อนตัดสินใจซื้อ ผลก็คือ โครงการของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ขายดีทุกโครงการ
 
ตัวอย่างที่สองคือ กรณีฟาร์มโชคชัย ก่อนวิกฤติครั้งที่แล้ว ฟาร์มโชคชัยทำธุรกิจหลักอย่างเดียวคือ ฟาร์มโคนม ไม่ได้มีธุรกิจหลักอื่นๆ แต่ภายหลังเกิดวิกฤติได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยมีการเพิ่มในส่วนการท่องเที่ยวฟาร์มขึ้นมา ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ฟาร์มโชคชัย นอกเหนือจากธุรกิจหลักคือ ฟาร์มโคนม และ โคเนื้อ
 
จากทั้งสองกรณีดังกล่าว จะเห็นว่าทั้งสองบริษัทยังคงยึดธุรกิจหลักของตัวเองไว้ เพียงแต่ว่าได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไป เพื่อสร้างความแตกต่าง หรือ เพิ่มช่องทางการทำรายได้เพิ่มมา โดยทั้งสองกรณีได้รับผลสำเร็จอย่างสูงจากการปรับเปลี่ยนครั้งนั้น
 
ผมเชื่อว่าท่านผู้ประกอบการที่เผชิญสภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้คงอยู่ในสภาวะที่ไม่ต่างจากสองบริษัทข้างต้น คือ เมื่อน้ำลดก็จะกลับมาดำเนินธุรกิจในสายเดิม เพียงแต่ว่าการกลับมาครั้งนี้จะกลับไปทำธุรกิจเหมือนเดิม 100% เลย หรือจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่จะเอื้อให้ตนเองมีความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น ผมเชื่อว่าวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ เราคงได้เห็นหลาย ๆ กิจการที่สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และได้รับผลประโยชน์ในระยะยาวมากขึ้น
 
ผมขออวยพรให้ท่านผู้อ่านสามารถพลิกฟื้นและกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิมกันทุกคนครับ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป

อ้างอิงจาก    ปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,791
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,403
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
490
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด