บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
2 นาที
17 พฤษภาคม 2562
Managing Innovation and Change (Thai Program)


ภาพจาก https://bit.ly/2VGklQw

Managing Innovation and Change (Thai Program) [FO / Online Campus / Weekday/8Week /Term 2-2018 Section 87 ] คือ อีก 1 วิชาที่สร้างลำดับความคิด ด้านนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาของ Business Cycle หรือ ที่เราคงคุ้นเคยได้ยินกับคำว่าวงจรธุรกิจ ที่มีขึ้นและก็มีลง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเมืองนวัตกรรมในอนาคต และด้วยคำนิยาม S Curve Model  ในการสร้างรูปแบบของธุรกิจด้วยนวัตกรรมนั้นเอง
 
ทางผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอความรู้เชิงวิชาการ จากตำราที่ได้เรียนวิชาการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้เกิดแนวคิด ที่ถูกต้องและนำไปบอกเล่ากันต่อไปครับ
 
คำอธิบายรายวิชา (Course Description):
 
ภาพจาก https://pixabay.com

เป้าหมายของหลักสูตรนี้ คือ การศึกษาถึงโครงสร้างของการบริหารนวัตกรรม นักศึกษาที่เรียนจะได้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม ในการสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ธุรกิจในขนาดต่าง ๆ ทุกภาคส่วน สำหรับธุรกิจในปัจจุบัน 
 
อาจกล่าวได้ว่า นวัตกรรมมักจะเกิดขึ้น เพราะความผลิกผันของอุตสาหกรรม (industry disruption) และ การเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน 
 
ด้วยเหตุนี้ วิชานี้ จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้เครื่องมือ ที่เรามักจะมองว่าเป็นทฤษฎีต่างๆ นำมาสร้างสรรค์ความผลิกผันให้แก่อุตสาหกรรม ผ่านมุมมองของธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตั้งรับกับความผลิกผันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้
 
วัตถุประสงค์ผลของการเรียนรู้ 
  1. เพื่อให้สามารถอธิบายถึงความหมายของนวัตกรรม และ เข้าใจถึงความแตกต่างของนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์, นวัตกรรมเชิงรูปแบบธุรกิจ, นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป และ นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด เป็นต้น
  2. เพื่อให้สามารถอธิบายถึงรูปแบบการสร้างความมั่งคั่งเชิงนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ในบริบทที่หลากหลาย และ ความเกี่ยวเนื่องระหว่าง นวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้
  3. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถอธิบายได้ถึงการบริหารนวัตกรรมจากมุมมองของบริษัทที่ดำรงอยู่ใน ปัจจุบันที่ต้องพึ่งพานวัตกรรมในการอยู่รอด อาทิเช่น วงจรชีวิตนวัตกรรม และ การลำเลียงนวัตกรรม
  4. เพื่อให้สามารถระบุอุปสรรค ในการสร้างนวัตกรรม และ กระบวนการและความสามารถขององค์กรเพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรม อาทิเช่น ความสามารถเชิงพลวัตร และ การสำรวจและการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นต้น
  5. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้แนวความคิดต่าง ๆ อาทิเช่น นวัตกรรมแบบผลิกผัน และ นวัตกรรมแบบเปิดได้
  6. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและกรอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม อาทิเช่น ทฤษฎีน่านน้ำสีคราม, กรอบธุรกิจแบบแคนวาส, คุณค่าธุรกิจแบบแคนวาส และ กรอบธุรกิจแคนวาสแบบลีน เพื่อบรรลุการสร้างนวัตกรรม
  7. เพื่อเรียนรู้หลักการสร้างสตาร์ทอัพยุคใหม่ จากการพัฒนานวัตกรรม
  8. พัฒนาศักภาพในการนำเสนอ และ “ขาย” แนวความคิดทางธุรกิจเชิงนวัตกรรม อาทิเช่น การใช้วิธีการนำเสนอแบบ NABC (Need, Approach, Benefits, Competition)
ภาพจาก https://pixabay.com
 
ตลอด 8 สัปดาห์ที่ได้เรียนรู้ และปฎิบัติในคลาสเรียน ได้ทดลองใข้เครื่องมือมาประกอบการตัดสินใจ ทำให้เข้าใจการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องมากกว่าเดิม
 
การเรียนรู้จากตำราจะทำให้เรามั่นใจมากขึ้นจากเดิมที่ได้แต่ฟัง จากมุมมองหลายคน จากคนที่สำเร็จแล้ว ก็ไม่ได้ไล่เลียงลำดับ จากบันไดขั้นแรก แต่จะพูดถึงบันไดขั้นสุดท้ายมากกว่าจึงทำให้เหล่า Start Business เข้าใจตนเองผิดว่ากำลังทำ Start-up Models อยู่ก็ได้
 
คนที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจก็มักอยากจะสร้างความแตกต่างไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะครับ แต่องค์ประกอบของธุรกิจมีมากกว่าสินค้าหรือบริการที่ดีหรือแตกต่างจากคนอื่น
 
สิ่งเหล่านี้ จึงต้องตั้งคำถามกับตัวเองใหม่ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
 
ติดตามเรื่องราวดีๆจากบทความของ Thai franchise ได้ทุกวันนะครับ เลือกที่ชอบและที่ใช่พอนะครับ ไม่นั้นจะสับสนไปหมดได้นะครับ 
 
บทความถัดไปจะมาขยสยเครื่องมือที่ใช้ทำนวัตกรรมกันต่อนะครับ
 
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด