บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.1K
3 นาที
6 มิถุนายน 2562
กลวิธี Managing Organization ปรับองค์กร 5.0


ภาพจาก https://pixabay.com

การจัดองค์การ เป็นกระบวนการจัดโครงสร้างขององค์การทั้งหมด การแบ่งงาน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ปฏิบัติงาน การกำหนดกลุ่มงาน การกำหนดความสัมพันธ์ในสายการบังคับบัญชาและการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทรัพยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ การจัดองค์การจึงครอบคลุมการจัดงาน จัดคน และ วัตถุสิ่งของทั้งหมดขององค์การ
 
Organizational Design การพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ มีองค์ประกอบ 6 อย่าง
 
1.Work specialization ความชำนาญงาน เลือกคนให้เหมาะกับงานให้ตรงกับเนื้องานให้ ได้มากที่สุด

โดยเริ่มวางโครงสร้างของคน จากคุณสมบัติ อายุ เพศ และการศึกษา สาขาวิชาที่เรียน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน แบ่งงานออกเป็นขั้นตอน และใช้พนักงานคนละกลุ่มในแต่ละขั้นตอนบ้าง เพื่อสนับสนุนกัน จะทำให้พนักงานเกิดความชำนาญมากขึ้น 
 
2.Departmentalization การจัดฝ่ายและแผนกงาน แตกออกได้เป็น 5 รูปแบบ


ภาพจาก https://pixabay.com
  • Functional Departmentalization แบ่งตามหน้าที่ที่ปฏิบัติ
  • Product Departmentalization แบ่งกลุ่มงานตามผลิตภัณฑ์
  • Geographical Departmentalization แบ่งกลุ่มงานตามอาณาเขตขาย
  • Process Departmentalization แบ่งตามกระบวนการผลิตสินค้าขององค์การ
  • Customer Departmentalization แบ่งกลุ่มงานตามลักษณะลูกค้าองค์การ
3.Chain of Command การจัดสายบังคับบัญชา จากผู้บริหารสูงสุดลดลงมาถึงผู้ปฏิบัติงาน
 
ระดับล่างสุด เป็นการชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนขึ้นตรงกับใคร หรือจะต้องรายงานต่อใครเป็นขั้นตอนจะช่วยลดช่องว่างและอุดรูรั่วได้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกที่ต้องเข้าใจหลักการบริหารทีมให้เกผลลัพธ์กตอบสนองตามแผนรวมขององค์กรให้ได้ด้วย
 
4.Span of Control การจัดช่วงการบังคับบัญชา


ภาพจาก https://pixabay.com

การกำหนดความสามารถของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งควรมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คนจึงจะบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล สูงสุด

5.Centralization and Decentralization การรวมอำนาจและกระจายอำนาจ
  • การรวมอำนาจ คือ การที่การตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ
  • การกระจายอำนาจ คือ การมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับรองทำการตัดสินใจ
6. Formalization การจัดระเบียบงาน การกำหนดมาตรฐานของงานต่างๆในองค์การ กำหนด กฏเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติให้กับพนักงาน


ภาพจาก https://pixabay.com
  • หากมีมาก (Highly formalized)  พนักงานขององค์การนั้นแทบจะไม่ต้องใช้ดุล พินิจในการปฏิบัติงาน เพราะต้องทำตามกฏระเบียบทุกอย่าง
  • หากมีน้อย (Low formalized) พนักงานจะมีความเป็นอิสระในวิธีการปฏิบัติมากCommunication  การติดต่อสื่อสารในองค์กร เป็นการถ่ายโอนและการทำความเข้าใจในความหมาย (transfer and understanding of meaning) ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อ สามารถส่งผลต่อความหมายและผู้รับเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
  • การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) 
  • การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร (Organizational Communication)
Functions of Communication หน้าที่ของการติดต่อสื่อสารที่สำคัญ 4 ประการ


ภาพจาก https://pixabay.com
 
  1. Control ควบคุมพฤติกรรมของพนักงาน ในสายการบังคับบัญชาของทุกองค์การ การปฏิบัติงานของ พนักงานตามที่กำหนดไว้ในคำอธิบายลักษณะงาน (Job description) จะต้องมีการติดต่อสื่อสาร และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บังคับบัญชาลำดับถัดขึ้นไป
  2. Motivation การสร้างแรงจูงใจพนักงาน ในการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารจะต้อง อธิบายรายละเอียดของงาน เป้าหมายของงาน ลักษณะของผลงานที่ดี และวิธีปฏิบัติให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น รวมทั้งผลตอบแทนที่จะได้หากผลงานดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยหารติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
  3. Emotional Expression การทำงานร่วมกันของพนักงานภายในหน่วยงาน เป็นสังคมที่บรรดาพนักงาน มีความผูกพันธ์ และมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน จึงเป็นสถานที่ซึ่งพนักงานจะได้พูดคุยแสดงความรู้สึกต่างๆ ปรับทุกข์สุขกันตามธรรมชาติของสังคมมนุษย์
  4. Information พนักงานแต่ละคน แต่ละกลุ่มจำเป็นต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับงาน เกี่ยวกับ หน่วยงาน เพื่อนร่วมงาน สิทธิประโยชน์ และข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นวาจาหรือรูปแบบการติดต่อสื่อสารอื่นๆ
Organizational Communication รูปแบบทิศทางของการสื่อสาร


ภาพจาก https://pixabay.com
  • Downward communication การติดต่อสื่อสารจากผู้บริหารมายังพนักงานในรูปการแจ้งข่าวสาร คำสั่ง การประสานงานหรือการประเมินผลการทำงานของพนักงาน
  • Upward Communication การติดต่อสื่อสารจากพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในรูปแบบการรายงานผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการเสนอความเห็นของเสนอแนะต่างๆ ไปยังผู้บังคับบัญชา
  • Lateral Communication การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในระดับเดียวกันขององค์การเดียวกัน เป็นการติดต่อสื่อสารในแนวนอน (horizontal) ทำให้เกิดความร่วมมือ หรือประสานงานกันเพื่อเกิดประโยชน์ขององค์การ
  • Diagonal Communication การติดต่อสื่อสารในองค์การเดียวกัน ข้ามแผนกงานและข้ามระดับสายการบังคับบัญชา
  • ปัญหาการติดต่อสื่อสารผ่าน internet
  • ปัญหาในเรื่องกฏหมาย และ ความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร
  • ทำให้เกิดปัญหาพนักงานขาดการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ต่อกัน
  • การจัดการทรัพยากรความรู้ขององค์การ
  • บทบาทการติดต่อสื่อสารในการให้บริการแก่ลูกค้า
  • การเลือกใช้คำอย่างมีศิลป์ในการติดต่อสื่อสาร
การจัดโครงสร้างองค์เพื่อจะสื่อสารตามสายการบังคับบัญชา ถือ เป็นการวางกลยุทธ์ เพื่อจัดแม่ทัพของแต่ละฝ่ายให้มีหน้าที่ดูแลและบัญชาการในขอบเขตที่เรากำหนดบทบาทหน้าที่ให้ครบถ้วนก่อนที่จะรับลูกทีมหรือพนักงานฝ่ายปฎิบัติการต่อไป เพื่อสร้าง Human Resource Management  ที่เรามักจะเรียกกันว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 
 
บทบาทและหน้าที่ของ Human Resource หรือแผนกบุคคล
 

ภาพจาก https://pixabay.com
 
องค์การที่เน้นความสำคัญด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายมุ่งเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน เพิ่มแรงจูงใจ ลดการทำงานแบบเฉื่อยชา รักษาพนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่ในองค์การ และชี้นำให้พนักงานที่ด้อยประสิทธิภาพให้ออกจากองค์การ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน
  1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
  2. การสรรหา
  3. หารคัดเลือก
  4. การปฐมนิเทศ
  5. การฝึกอบรม
  6. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  7. การจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
  8. การพัฒนาอาชีพ
Managing Generalization in the Workplace ช่วงอายุก็มีผลในการทำงานได้เช่นกัน

ภาพจาก https://pixabay.com
  • Baby Boomer  คือ กลุ่มคนที่อายุ 44 – 65 ปี จะเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา  อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ   อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว  มีความทุ่มเทกับการทำงานและองค์กรมาก คนกลุ่มนี้จะไม่เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจาก    มีความจงรักภักดีกับองค์กรอย่างมาก
  • Generation X  คือ กลุ่มคนที่อายุ 30 – 43 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work – life balance)  มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติงเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง
  • Generation Y   คือ กลุ่มคนที่อายุ 8 – 29 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไข คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร  อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
บทความวันนี้ก็มาจากความรู้ของวิชา Managing Organization ยังมีปัญหาเรื่องของคนอีกมาก ที่จะมานำเสนอกันต่อในหัวข้อ Personality and Behavior ที่น่าสนใจ ก่อนที่จะไปคุยเรื่อง Type of Organizational Strategies หรือกลยุทธ์ระดับองค์กร ที่จะช่วยทำให้ธุรกิจ อยู่รอดท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงได้ 

กลยุททธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือคุณค่าให้เกิดแก่กับคนที่สำคัญต่อองค์กรจะสามารถสร้างผลผลิตกับสินค้าและบริการในการสร้างคุณค่าที่ดีได้อย่างแน่นอน

 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด