บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
1.9K
3 นาที
19 กรกฎาคม 2562
สมรภูมิกาแฟไทยฝุ่นตลบ! แบรนด์เล็กต้องมีจุดยืน อย่าดิ้นตามแบรนด์ใหญ่  
 
ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า “สมรภูมิร้านกาแฟ” ในเมืองไทยดุเดือดเลือดพล่านมากแค่ไหน มีตั้งแต่รถเข็นข้างทาง แบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ ต่างแข่งขันยึดหัวหาดในทุกพื้นที่ขาย ตั้งแต่แก้วหลักสิบไปจนถึงหลักพันก็มี จากการประเมินของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารคาดธุรกิจกาแฟปี 2019 มีมูลค่ากว่า 25,860 ล้านบาท เติบโตจากปี 2018 ที่มีมูลค่า 23,470 ล้านบาท
 
ขณะที่สมาคมกาแฟไทย / สมาพันธ์กาแฟอาเซียน รายงานว่า ตลาดร้านกาแฟในไทยมีมูลค่าตลาดรวม 17,000 ล้านบาท แบ่งเป็นร้านกาแฟทั่วไป 9,000 ล้านบาท และพรีเมียม 8,000 ล้านบาท 

แม้ว่าการแข่งขันของธุรกิจร้านกาแฟจะร้อนแรงมากแค่ไหน แต่ต้องบอกว่าตลาดไทยยังมีความน่าสนใจ ตรงที่คนไทยบริโภคกาแฟมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 100 แก้ว/คน/ปี คาดภายในระยะเวลา 5 ปี (2018 - 2022) จะเติบโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว

ภาพจาก https://bit.ly/2M1P98g
 
หากพูดถึงเจ้าตลาดแบรนด์ร้านกาแฟในเมืองไทยในขณะนี้ ก็หนีไม่พ้นสตาร์บัคส์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในมือของเสี่ยเจริญ และคาเฟ่ อเมซอน เป็นของกลุ่มปตท. ในขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่างซีพี ก็มีถึง 7-8 แบรนด์กาแฟอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็น All Café, Gold Kudsan Bakery & Coffee, กาแฟมวลชน, Arabitia Café, Jungle Café, Bellinee’s, สตาร์ คอฟฟี่ และ ทรู คอฟฟี่

ภาพจาก www.facebook.com/punthaicoffee/
 
กลุ่มบางจาก็มีแบรนด์กาแฟอินทนิล และกลุ่มพีทีก็มีอีก 2 แบรนด์ คือ กาแฟพันธุ์ไทย และคอฟฟี่ เวิลด์ และยังมีแบรด์กาแฟชื่อดังอีกมายมายทั้งแบรนด์ต่างประเทศ และแบรนด์ของคนไทย ซึ่งรวมแล้วมากกว่า 110 ยี่ห้อร้านกาแฟในเมืองไทย จึงทำให้เกิดการแข่งขันอย่างร้อนแรง เมื่อสมรภูมิร้านกาแฟเดือดเช่นนี้ แล้วแบรนด์กาแฟรายเล็กๆ จะอยู่อย่างไร
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลและเคล็ดลับจะมานำเสนอให้ทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบการแบรนด์ร้านกาแฟเล็กๆ ได้ปรับตัว ให้สามารถยืนหยัดอยู่รอดในสมรภูมิร้านกาแฟ ที่กำลังแข่งขันกันอย่างร้อนแรงในเมืองไทย   
 
กาแฟแบรนด์เล็ก อยู่รอดได้อย่างไร  
 
ภาพจาก www.facebook.com/punthaicoffee/

สาเหตุที่ทำให้เชนร้านกาแฟในเมืองไทยเติบโตอย่างมาก มาจากหลายปัจจัย เช่น การที่มีผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทั้งแบรนด์ของไทยและแบรนด์จากต่างประเทศ บวกกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่บริโภคกาแฟมากขึ้น 
 
จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ รวมถึงการเข้าถึงช่องทางจำหน่ายร้านกาแฟที่ง่าย และหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันของร้านกาแฟที่ชูเรื่องของการยกระดับการชงกาแฟ ที่มีความเป็นพรีเมี่ยมมากขึ้น
 
ดังนั้น การจะอยู่รอดและแข่งขันของกาแฟแบรนด์เล็กๆ ในยุคปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องรู้จักธุรกิจและรู้จุดยืนของตนเองให้ดี พร้อมทั้งโฟกัสตลาดอย่างชัดเจน เพราะไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าตลาด หรือครองตลาดได้ทุกกลุ่ม (Segment) 
 
แม้แต่ Café Amazon ที่ได้ชื่อว่ามีสาขามากที่สุด แต่ก็ยังวางตำแหน่งทางการตลาดของตนเองไว้ในกลุ่มหนึ่ง หรือ Starbucks อาจจะทำบางอย่างไม่ได้เหมือนกับแบรนด์ท้องถิ่น (Local Brand) จะเห็นว่าแต่ละแบรนด์จะมีจุดยืนของตัวเองที่แตกต่างกันออกไป นั่นคือสิ่งที่ กาแฟแบรนด์เล็กต้องทำเช่นกัน เข้าใจแบรนด์ของตัวเองให้ได้ เพื่อหาจุดแตกต่างของธุรกิจให้เจอ
 
แบรนด์เล็ก ต้องมีจุดยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภค
 
ภาพจาก www.facebook.com/luckincoffees/

ยกตัวอย่างกรณี ร้านกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นของจีน Luckin Coffee  สตาร์ทอัพกาแฟเจ้าถิ่นแดนมังกร ที่ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของแบรนด์ระดับโลกอย่าง Starbucks ได้ ด้วยระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี สามารถขยายสาขาได้มากกว่า 2,000 แห่ง 
 
อีกทั้งยังมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มอีก 2,500 แห่งภายในสิ้นปีนี้ นั่นหมายความว่า จำนวนสาขาของ Luckin Coffee กำลังจะแซงหน้า Starbucks ที่เข้ามาเปิดตลาดในจีนตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว และมีสาขาประมาณ 3,600 แห่ง
 
ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ Luckin Coffee เป็นที่นิยมของชาวจีนอย่างมาก นอกเหนือจากกลยุทธ์การตั้งราคาที่เน้นความถูก ซึ่งเฉลี่ยราคาเครื่องดื่มของ Luckin Coffee จะถูกกว่าของ Starbucks ประมาณ 20 – 30% แล้ว 

ภาพจาก  www.facebook.com/luckincoffees/
 
สิ่งที่ทำให้กาแฟท้องถิ่นรายนี้โดดเด่นขึ้นมา ก็คือ การเป็นร้านกาแฟแห่งเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์การบริโภคสไตล์จีนได้เป็นอย่างดี เพราะทุกๆ การสั่งซื้อและการชำระเงินจะทำผ่านแอปพลิเคชันทั้งหมด โดยจะการมีบริการเดลิเวอรี่จัดส่งถึงที่ภายใน 30 นาที 
 
หรือลูกค้าสามารถเดินออกไปรับกาแฟเองได้ที่สาขาที่สะดวกที่สุด ซึ่งนับเป็นการตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวจีน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมการใช้จ่ายแบบเงินสด และต้องการความสะดวกรวดเร็วนั่นเอง
 
ภาพจาก  www.facebook.com/luckincoffees/
 
เช่นเดียวกับในญี่ปุ่น เมื่อผู้ผลิตกาแฟพร้อมดื่มแบรนด์ BOSS ลุกขึ้นมาเปิดร้านกาแฟที่ชื่อว่า TOUCH-AND-GO COFFEE ซึ่งจุดเด่นของร้านนี้คือ การที่ลูกค้าสามารถสั่งกาแฟ โดยเลือกเมนูตามที่ต้องการได้ผ่านทาง LINE Official Account  พร้อมชำระเงินผ่าน LINE Pay หรือบัตรเครดิตก็ได้ จากนั้นลูกค้าสามารถกำหนดเวลาในการไปรับกาแฟได้เอง 
 
โดยสามารถไปรับกาแฟได้ที่ Locker ตามหมายเลขที่แจ้งเตือนเข้ามา กลายเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ใหม่ที่มอบให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟในยุคนี้ ซึ่งเป็นการเชื่อมผสานระหว่างออนไลน์ (Online) กับออฟไลน์ (Offline) ได้เป็นอย่างดี
 
ดอยช้างชูนวัตกรรมคุณภาพ จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ 
 
ภาพจาก www.facebook.com/doichaangcoffeeoriginal/

ขณะที่กาแฟดอยช้างแบรนด์กาแฟท้องถิ่นของไทย ก็ยังยืนหยัดต่อสู้ในสมรภูมิกาแฟที่กำลังฝุ่นตลบในเมืองไทย เดินหน้าพัฒนาในเรื่องนวัตกรรมคุณภาพ โดยเฉพาะพัฒนากาแฟคั่วให้มีคุณภาพสูง ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการความพิเศษ 
 
เน้นความเป็นมาตรฐาน ที่สำคัญจะไม่เข้าสู่ตลาดกาแฟสำเร็จรูป เพราะจุดยืนของดอยช้างคือกาแฟพรีเมี่ยม เน้นความเป็นตัวของตัวเอง ชูจุดขายคนปลูกกาแฟ พนักงานตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ นี่คือแบรนด์แอมบาสเดอร์ของดอยช้าง 

ภาพจาก https://bit.ly/30KFWWj
 
ความเป็นพรีเมี่ยมของกาไม่ใช่เป็นแบรนด์กาแฟร้านใหญ่โต ที่เห็นกันเกลื่อนตาทั้งในปั้ม นอกปั้ม รวมถึงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ แต่ความพรีเมี่ยมของกาอยู่ที่ตัวโปรดักส์ หรือคุณภาพของเมล็ดกาแฟ คนชง พนักงาน นั่นเอง   
 
แม้ว่าตลาดกาแฟในเมืองไทยจะมีการแข่งขันกันสูง มีแบรนด์ร้านกาแฟมากมาย ทั้งแบรนด์ไทย แบรนด์นอก แต่ร้านกาแฟแต่ละแบรนด์ไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม 
 
ดังนั้น กาแฟแบรนด์เล็กของไทย ถ้าอยากอยู่รอดต้องมีจุดยืนของตัวเอง ไม่ต้องดิ้นรนตามการเคลื่อนไหวของกาแฟแบรนด์ใหญ่ๆ เพียงแต่แบรนด์เล็กต้องเน้นคุณภาพมาตรฐาน รู้จักนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

อ้างอิงข้อมูล
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด