บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
2 นาที
14 มกราคม 2563
นายกฯ ให้ขุดดิน=ขาดความรู้เศรษฐศาสตร์
 

ภาพจาก  www.matichon.co.th

การที่นายกฯ แนะนำให้ชาวบ้านขุดบ่อเพื่อกักเก็บน้ำไว้เองในยามแล้งนั้น แสดงว่านายกฯ และทีมงานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เท่าที่ควร ถือว่าเป็นอันตรายต่อการบริหารประเทศ
 
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวว่าเมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า “. . .การขุดดินแลกน้ำ ขุดดินแลกบ่อก็ให้ทำกันไปด้วย ส่วนดินที่ขุดเจ้าของที่ก็ขายให้คนที่ขุดไป ตนถามแล้วตามกฎหมายทำได้ ก็ขุดกันบ้าง ถ้าเอาที่ดินทั้งหมดเก็บไว้โดยที่ไม่มีแหล่งน้ำ แล้วจะปลูกอะไรได้ หลายคนก็เป็นห่วงว่าที่น้อย น้ำมาไม่ถึง อย่างไรก็ส่งไม่ถึงแล้วจะทำอย่างไรรัฐบาลจะไปทำอะไรให้ทุกอย่างคงไม่ได้ขนาดนั้น พยายามทำให้มากที่สุด ท่านก็ต้องช่วยตัวเองบ้าง เช่น ขุดบ่อ อย่างน้อยก็มีน้ำอุปโภค บริโภค. . .” <1>
 
การที่นายกฯ กล่าวเช่นนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะขาดความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ไม่เฉพาะนายกฯ แต่ทีมงานก็คงไม่มีความรู้เพียงพอ จึงปล่อยให้นายกฯ กล่าวออกมาเช่นนี้  สิ่งที่นายกฯ พึงทราบก็คือ
 
1. ในการขุดบ่อดินขนาด 10 ไร่ ที่มีความลาดเอียง 60 องศา (ปกติ 45 องศาถ้าเป็นดินแข็ง แต่ดินลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลางค่อนข้างอ่อน คงต้องมีความลาดเอียดสูง) กำหนดให้ขุดลึกลงไป 25 เมตร (ถ้าเกินกว่านั้นคงจะพบน้ำใต้ดิน) และมีขอบบ่อประมาณ 6 เมตรตามกฎหมาย ก็จะได้ดินประมาณ 93,000 ลูกบาศก์เมตร ปกติดินขายในราคา 343.33 บาทต่อลูกบาศก์เมตร <2> ก็จะได้เงิน 31.93 ล้านบาท ทั้งนี้มีกำไรประมาณ 40% หรือ 12.77 ล้านบาท หรือตกไร่ละ 1.2 ล้านบาท (ทอนมาเป็นเงินปัจจุบันจากระยะเวลาในการขุด คงเหลือน้อยกว่านี้)

ในแง่หนึ่งแม้ที่ดินภาคกลางอาจมีราคาประมาณไร่ละ 0.4 ล้านบาท การขุดดินนี้จะมีกำไร  แต่การขุดในที่ดินขนาดเล็กเพียง 10 ไร่ย่อมไม่เพียงพอ การทำบ่อดินใช้ที่ดินขนาดนับร้อยๆ ไร่เป็นสำคัญ  การให้ประชาชนไปรวมตัวทำกันเองจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก  รัฐบาลควรมีส่วนสำคัญในการประสาน
 
2. ปกติเกษตรกรอาจมีที่ดินเฉลี่ยประมาณ 20 ไร่ การขุดบ่อกักเก็บน้ำให้เพียงพอก็คงเป็นไปไม่ได้ อย่างผลผลิตข้าว 1 ไร่ ต้องใช้น้ำประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร <3> หากปลูกข้าว 20 ไร่ ก็ต้องใช้น้ำ 20,000 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับต้องขุดบ่อที่มีขนาดประมาณ 2 ไร่เศษ  การที่จะให้เกษตรกรแต่ละรายขุดบ่อกันเองแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก จะเอาดินไปขายที่ไหน อย่างไร ต้นทุนค่าดำเนินการเป็นอย่างไร การรวมตัวกันเองก็เป็นสิ่งที่ยากเช่นกัน จะจัดแบ่งแปลงที่ดินกันอย่างไร ควรใช้ระบบการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) <4> มาดำเนินการ
 
3. บ่อขนาดจิ๋วของทางราชการ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท ขนาด 20 x 20 x 3 เมตร <5> ถ้าขุดบ่อขนาด 2 ไร่ ก็คงเป็นเงิน 160,000 บาท ชาวบ้านทั่วไปจะไปหาต้นทุนมาได้อย่างไร  ยิ่งถ้ารวมกันหลายครอบครัว จะพร้อมใจกันลงเงินขุดบ่อได้มากน้อยเพียงใด
 
4. ในการขุดบ่อยังมีต้นทุนบางประการ เช่น ต้นทุนในการทำทางเข้าออกในการขุดบ่อ ต้นทุนการชักน้ำเข้าบ่อ (ไม่ใช่รอแต่การเติมด้วยน้ำฝน) ซึ่งในหลายพื้นที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการนำน้ำจากคลองชลประทานหรือคลองธรรมชาติ เป็นต้น
 
รัฐบาลต้องมีองค์กรบริหารจัดการน้ำและที่ดินที่มีประสิทธิภาพในการสร้างอ่างเก็บน้ำ-เขื่อนในพื้นที่ต่างๆ แม้ในที่ลุ่มเพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้งอย่างยั่งยืน
 
อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2QOruKG
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,790
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด