บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.9K
3 นาที
20 มีนาคม 2563
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ย้อนอดีตโรคระบาดในเมืองไทย
 

สถานการณ์ตอนนี้คนไทยต้องไม่ตื่นตระหนก หรือหวาดวิตกจนเกินไป การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จริงก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากลองย้อนประวัติศาสตร์กลับไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลน่าสนใจที่บ่งบอกว่า “พวกเราคนไทย” เคยผ่านประสบการณ์ในลักษณะนี้กันมาแล้ว ซึ่งทุกครั้งเราก็สามารถผ่านพ้นมาได้ด้วยดี และเชื่อว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในครั้งนี้เราก็จะผ่านไปได้ด้วยดีเช่นกัน ลองมาดู 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ย้อนอดีตโรคระบาดในเมืองไทย มีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้นตอนไหนบ้าง
 
1. ไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษ


ภาพจาก bit.ly/2WuYuuw
 
ไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ มีอาการคือผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ ในประเทศไทยไข้ทรพิษมีปรากฏครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ช่วง พ.ศ. 2460-2504 มีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี เหตุเพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เริ่มระบาดจากเชลยพม่า โดยมีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และมีผู้เสียชีวิต 15,621 คน ในปี 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษถูกกวาดล้างหมดแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรคนับแต่นั้น และโรคฝีดาษก็ไม่เคยกลับมาระบาดอีกเลย

2. “กาฬโรค” ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
 
ในยุคพระเจ้าอู่ทองเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของ “โรคห่า” หรือที่มาเรียกกันใหม่ในภายหลังว่า “กาฬโรค” โดยมีพาหะคือ “หมัด” และ “หนู” คาดว่าจะกระจายมาจากเรือสำเภาที่เข้ามาเทียบท่าค้าขาย  ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 บันทึกความรุนแรงของโรคห่าในครั้งนั้นว่า “น้ำลายพิษ” ของมังกร (นาค) จากหนองน้ำ ฆ่าคนเมืองร้าง” ซึ่งจากการแพร่ระบาดในครั้งนั้นก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสังคมโดยเฉพาะด้านภาษาและวัฒนธรรม
 
3. “อหิวาตกโรค” ในสมัยรัชกาลที่ 2


ภาพจาก bit.ly/2vA11Zp
 
ข้อความจากพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 กล่าวถึงเหตุการณ์ระบาดของไข้ป่วงหรือลงราก ที่ภายหลังเรียกว่า อหิวาตกโรค ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นทั้งในกรุงเทพและหัวเมืองใกล้เคียงประมาณ 30,000 คน 
 
ในพงศาวดารฉบับเดียวกันระบุว่า “ครั้นเมื่อถึงเดือนเจ็ดข้างขึ้น เกิดไข้ป่วงมาแต่ทะเล ไข้นั้นเกิดมาแต่เกาะหมากก่อน แล้วข้ามมาหัวเมืองตะวันตก เดินขึ้นมาถึงปากน้ำเจ้าพระยา ชาวเมืองสมุทรปราการตายลงเป็นอันมาก ก็พากันอพยพขึ้นมากรุงเทพมหานครบ้าง แยกย้ายไปตามทิศต่างๆบ้าง ที่กรุงเทพฯ วันขึ้น 6 ค่ำเดือน 7 ไปจนถึงวันเพ็ญ ตายทั้งหญิงทั้งชาย ศพที่ป่าช้าแบศาลาดินในวัดสระเกษ วัดบางลำพู  วัดบพิตรพิมุข วัดปทุมคงคา แลวัดอื่นๆ ก่ายกันเหมือนกองฟืน ที่เผาเสียก็มากว่ามาก แลที่ลอยในแม่น้ำลำคลองเกลื่อนกลาดไปทุกแห่ง จนพระสงฆ์หนีออกจากวัด คฤหัสถ์หนีออกจากบ้าน”
 
4. “อหิวาตกโรค” อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3
 
ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 อหิวาตกโรคกลับมาระบาดอีกครั้ง คราวนี้เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระยะเวลากว่า 1 เดือน หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในขณะนั้นรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน และอหิวาตกโรคนี้ก็กลับมาระบาดอีกครั้งในต้นรัชกาลที่ 5 ในช่วงเพียงเดือนเดียวมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 6,600 คนกระทั่งแพทย์ตะวันตกและความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขมีมากขึ้น อหิวาตกโรคก็ไม่น่ากลัวเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป
 
5. “กาฬโรค” อีกครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 5


ภาพจาก bit.ly/395rICX
 
กาฬโรคได้กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5  โดยเริ่มแพร่ระบาดจากเมืองท่าของจนและฮ่องกง เคลื่อนตัวไปอินเดีย แอฟริกา  ยุโรป สิงคโปร์  ออสเตรเลีย และไทย มาตรการป้องกันขณะนั้นคือบังคับให้เรือที่มาจากพื้นที่ระบาดให้จอดรอตรวจโรคก่อน รวมถึงจอดรอที่เกาะไผ่ ห่างจากฝั่งราว 8 กิโลเมตรจนครบ 9 วัน จึงอนุญาตให้เข้ากรุงเทพฯได้ ซึ่ง “พระบำบัดสรรพโรค” หรือ “หมอฮันส์ อะดัมสัน” ลูกครึ่งเดนมาร์ก-มอญ  หรือที่คนไทยเรียกว่า “หมอลำสั้น” นับเป็นแพทย์ไทยประจำด่านตรวจคนแรกที่เป็นผู้ออกประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค
 
6. “โรคเรื้อน” ในสมัยรัชกาลที่ 6


ภาพจาก bit.ly/2QxJKHy
 
สมัยโบราณเรียกว่า “ขี้ทูด กุฏฐัง” โดยมีอาการแสดงออกที่ผิวหนัง ในช่วงระบาดมีสถิติผู้ป่วยนับแสน มีการสร้าง “นิคมโรคเรื้อน” หลายแห่งทั่วประเทศ อาจด้วยการแพทย์ในขณะนั้นยังไม่ก้าวหน้าทำให้โรคนี้เป็นที่หวาดกลัวของคนทั่วไป จนกระทั่งในปี 2430 นพ.เจมส์ ดับบลิว แม็คเคน คณะแพทย์มิชชั่นนารีจากอเมริกา ใช้การรักษาด้วยวิทยาการสมัยใหม่โดยใช้ยาปฏิชีวนะอันเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการขจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย
 
7. “ไข้หวัดสเปน” ในปี พ.ศ.2465


ภาพจาก bit.ly/2UqLXG3

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีทาหารอาสาจากประเทศไทยเดินทางไปร่วมรบและเมื่อทหารอาสาเหล่านี้เดินทางกลับมา ได้นำโรคระบาดดังกล่าวเขามาแพร่ระบาดอย่างหนักในปีพ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1919) ประชากรของประเทศสยามอยู่ที่ 8,478,566 คน มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ถึง 2,317,633 คน คิดเป็นอัตราการติดเชื้อถึง 36.6%  ชาวสยามเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปนถึง 80,263 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1.0%
 
ในเวลานั้นประเทศสยามยังแบ่งการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ ปรากฎว่ามณฑลที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือมณฑล เสียชีวิตมากที่สุดคือมณฑลปราจีน (ได้แก่เมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม และเมืองพนมสารคาม) มีผู้ติดเชื้อคิดเป็นร้อยละของประชากร 42.3% แต่มณฑลที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุดคือมณฑลพายัพ (นครเชียงใหม่บวกกับเมืองแม่ฮ่องสอนและเมืองเชียงราย นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน นครแพร่ เมืองเถิน) มีอัตราการตาย 1.5%
 
8. “วัณโรค” แพร่ระบาดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2


ภาพจาก bit.ly/3a1Q1Db
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการระบาดของ “วัณโรค” หรือที่เรียกว่า “ทุเบอร์คุโลลิส” สถิติใน พ.ศ.2490 ระบุว่าเฉพาะเขตกรุงเทพมีผู้เสียชีวิต 217 คน จากประชากร 1 แสนคน “หลวงพยุงเวชศาสตร์” อธิบดีกรมอนามัยในขณะนั้นจึงได้ตั้ง “สถานตรวจโรคปอด” ย่านยศเส เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2492
 
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นก็ได้มีการตั้ง “กองการปราบวัณโรค” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพทยสมาคม  โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีบทบาทอย่างยิ่งในการริเริ่มการต่อต้านวัณโรคในประเทศไทย และในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อนุมัติสร้างโรงพยาบาลสำหรับรักษาวัณโรคเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ใช้ชื่อว่า “โรงพยาบาลวัณโรคกลาง”
 
9. ไข้หวัดนก H5N1


ภาพจาก bit.ly/2WvVLB6
 
ไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2547 และมีการระบาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศจีนและฮ่องกง  โดยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นในสัตว์ปีก โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปี 2547 คือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดโดยมากถึง 60 จังหวัด
 
10. การแพร่ระบาดของ “โควิด-19”


ภาพจาก bit.ly/33Frtxy
 
โควิด-19 เริ่มระบาดในจีน ที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน หลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้กลุ่มแรกไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จีนและ WHO ระบุตรงกันว่า ไวรัสชนิดนี้คือ “เชื้อไวรัสโคโรน่า” ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ใหม่ หลังจากก่อนหน้านี้พบไวรัสโคโรน่ามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยมีการระบาดในมนุษย์ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดจึงเป็นสายพันธุ์ที่ 7  
 
ปัจจุบัน (20 มีนาคม 2563) สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังกว่า 120 ประเทศทั่วโลก มีผู้ป่วยรวมกันกว่า 245,612 คนและผู้เสียชีวิตอีกกว่า 10,048  คน รักษาหายแล้ว 88,437 คน ในส่วนของประเทศไทย ยอดผู้ป่วยรวมถึงตอนนี้ (20 มีนาคม 2563) จำนวน 272 คน รักษาหายแล้ว 42 คน  รักษาตัว 229 คน เสียชีวิต 1 คน  และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังอีก 8,729 คน
 
สิ่งที่เราต้องทำในตอนนี้คือ “มีวินัยต่อตัวเองและสังคม” มาตรการของภาครัฐที่พยายามป้องกันจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ด้วยความร่วมมือไม่ใช่เอะอะก็โทษแต่ว่าราชการไม่ดี รัฐบาลไม่ดี หากมัวแต่โทษคนอื่นไม่โทษตัวเอง ไม่ช่วยตัวเอง เห็นทีวิกฤติครั้งนี้น่าจะกินเวลายาวนานกว่าที่คิด
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
  
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด