บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
3.6K
3 นาที
13 พฤษภาคม 2563
รวม 10 ธุรกิจไทย ไม่ยึดติด เปลี่ยนตัวเองสู้ COVID 19


 
“ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน” หลายคนที่เคยรวยจากธุรกิจหลัก หลายคนที่เคยมีรายได้อู้ฟู่จากอาชีพที่ทำ เชื่อว่าหลายคนเช่นกันคงไม่คิดว่าจะมีวันนี้  “วันที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID 19” ที่ชัดเจนว่ารุนแรงกว่าน้ำท่วมเมื่อปี 54 รุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 40 การแพร่ระบาดของ COVID 19 ครั้งนี้ทำให้คนตกงานจำนวนมาก กิจการหลายอย่างต้องปิดตัวลง รายได้ของคนทั่วประเทศหดหายอย่างคาดไม่ถึง
 
หลายธุรกิจในตอนนี้ต้องมองถึงความเปลี่ยนแปลงหากยังยึดติดและไม่คิดจะสู้ต่อ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าคงรอวันแต่จะอดตายสถานเดียวเท่านั้น ลองมาดู 10 ธุรกิจ 10 แนวคิดที่ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยทำ แต่หันมาสู้กับโชคชะตา พาชีวิตตัวเองจากจุดวิกฤติให้มีชีวิตชีวามีรายได้เลี้ยงครอบครัวมากขึ้น ไปดูกันว่ามีธุรกิจแบบไหนอย่างไรกันบ้าง
 
1. พ่อใหญ่ไผ่ จากนักจัดอีเว้นท์ใหญ่สุดในอีสาน สู่พ่อค้าก๋วยจั๊บออนไลน์


ภาพจาก Manager Online
 
พ่อใหญ่ไผ่ หรือคุณประภาส เกียรติวีรวัฒนา เจ้าของบริษัท ดีไซน์งาม ครีเอชั่น จำกัด ยักษ์ใหญ่ด้านการรับจัดงานอีเว้นท์ทางภาคอีสาน โดยบริษัทจะรับจัดบูธนิทรรศการ เปิดตัวสินค้า ออกแบบป้ายโฆษณา ในช่วงเวลาปกติทุกเดือนมีคิวงานนับสิบแห่ง
 
แต่พอเกิดการแพร่ระบาดของ COVID 19 งานหดหายไปทั้งหมด และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับมาดีขึ้นเมื่อไหร่ นำไปสู่การตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพใหม่ด้วยการเป็นพ่อค้าก๋วยจั๊บออนไลน์ เป็นสินค้าก๋วยจั๊บพร้อมทานคล้ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่แต่ละซองมีเส้น มีเครื่องปรุงมาให้พร้อมจำหน่ายราคาห่อละ 29 บาท ไลฟ์สดขายผ่านเฟสบุ๊ควันแรกยอดสั่งซื้อกว่า 4,000 ห่อ ซึ่งพ่อใหญ่ไผ่มองว่านี่คืออีกอาชีพที่จะพาตัวเองก้าวพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ไปได้
 
2. จากธุรกิจทัวร์มาขายบะหมี่


ภาพจาก ฐานเศรษฐกิจ
 
คุณสุรวัช อัครวรมาศ เจ้าของบริษัททัวร์ กู๊ดลัคเอ็กซ์เพรส จำกัด ที่ทำธุรกิจท่องเที่ยวมานานกว่า 30 ปี โดยเน้นทัวร์จีนและไต้หวัน เป็นหลักที่ผ่านมาเจอปัญหาก็ผ่านมาได้ทั้งการแพร่ระบาดของซาร์ส , H1N1
 
จนกระทั่งปัญหาล่าสุดคือการแพร่ระบาดของ COVID19 ที่ส่วนตัวของคุณสุรวัช มองว่าตัวเองมีภูมิต้านทานด้านเศรษฐกิจแบบนี้ดี แต่สำหรับลูกน้องแล้วไม่ใช่ หลายคนมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูง หลายคนเป็นกำลังหลักของครอบครัว หากตอนนี้จะปิดกิจการย่อมส่งผลต่อลูกน้องและครอบครัวจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของการเปิดร้าน “จี๊กิม บะหมี่ฮกเกี้ยน” ใช้พนักงานที่เคยทำบริษัททัวร์มาช่วยกันขายบะหมี่ เพื่อให้ทุกคนยังมีงานทำและมีเงินเดือนจุนเจือครอบครัวต่อไป
 
3. The Cassette Music Bar ไลน์ดนตรีสดให้ลูกค้าชมผ่านเฟสบุ๊ค


ภาพจาก facebook.com/TheCassetteMusicBar
 
The Cassette Music Bar ร้านอาหารกึ่งบาร์ที่เปิดเพลงยุคเทปคาสเซ็ตต์ในย่านเอกมัย เป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่ปรับตัวมาทำไลฟ์แสดงดนตรีสดให้แฟนเพลงได้ดูผ่านเฟซบุ๊ก โดยเป็นแนวคิดจากเจ้าของธุรกิจคือ คุณพิณภัสร์ สิริอัครเศรษฐ
 
ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้แก่นักดนตรี ที่ช่วงนี้จะขาดรายได้นานต่อเนื่อง โดคงคอนเซปท์และคาแรคเตอร์เพลงไทยในยุคเทปคาสเซตต์และต้องเป็นเพลงแบบ Positive ส่วนนักดนตรี ต้องคัดเลือกคนที่มีทักษะการพูดเอ็นเตอร์เทนผ่านหน้ากล้องได้
 
4. เจ้าของค่ายมวย สู่สารพัดอาชีพที่ทำแล้วได้เงิน


ภาพจาก smmsport
 
วงการมวยก็ถือว่าได้รับผลกระทบจาก COVID 19 หลังจากที่สนามมวยถูกสั่งปิดชั่วคราว เจ้าของค่ายมวยต่างๆ ก็ต้องดิ้นรนหาอาชีพทำกันในช่วงนี้ ยกตัวอย่าง หัวหน้าค่ายมวยแป๊ะ มีนบุรี  ที่ผันตัวเองไปทำกุ้งอบเกลือขาย , หัวหน้าค่ายมวยที.เอ็น.มวยไทยยิม ที่ผันตัวเองมาทำน้ำพริกกากหมูโคตรแซ่บออกขาย หรือหัวหน้าค่ายมวย บุญเยี่ยม ส.บุญเยี่ยม ที่ต้องออกมาขับแท็กซี่เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว เป็นต้น
 
รวมถึงบรรดานักมวยชื่อดังอีกหลายคนที่ต้องพลิกชีวิตหากอาชีพที่ทำแล้วได้เงินเช่น แสงมณีเสถียรมวยไทยยิม นักชกค่าตัวหลักแสนที่หันไปขี่มอเตอร์ไซดส่งอาหาร หรือจอมเข่าลอย อีที ทีเด็ด 99 ที่หันไปรับจ้างรำมวยหน้างานศพที่จังหวัดบ้านเกิดของตัวเอง เป็นต้น
 
5. จากนักบินสู่ก๋วยเตี๋ยวเรือกัปตัน


ภาพจาก bit.ly/2T35YTf
 
นาวาตรี ราชิต สันป่าแก้ว หรือกัปตันยุทธพลิกผันจาก "กัปตันเครื่องบินโดยสาร" สายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่ง รายได้เดือนละหลายแสน แต่เมื่อเกิดวิกฤติจาก COVID 19 บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้และประกาศหยุดงานชั่วคราว กัปตันยุทธจึงต้องเปลี่ยนมาเป็นพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยวใช้ชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวเรือกัปตัน” ในห้องแถวหน้าหมู่บ้านกฤษดานคร ย่านปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทั้งๆ ที่ ไม่เคยทำอาหารเลย และไม่มีทักษะในการขายก๋วยเตี๋ยวมาก่อนด้วย
 
6. จากแม่ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สู่แม่ค้าเมี่ยงปลาทู


ภาพจาก bit.ly/3dCVPED
 
คุณปุ๋ย โชติกา แม่ค้าอัญมณี-พลอยและเครื่องประดับ ตลาดริมเมย ชายแดนไทย-เมียนมา ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดตลาดริมเมยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID 19  เมื่อรายได้หดหายทั้งหมดจากธุรกิจเดิมจึงพลิกชีวิตสู่ธุรกิจใหม่ คือ การเป็นแม่ค้าขายเมี่ยงปลาทู โดยมีเมนูน่าสนใจ เช่น เมี่ยงปลาทู + หมู 3 ชั้นนึ่ง +เส้นหมี่ขาวรวกและผัก จิ้ม ปลอดสารพิษ ล้างสะอาด ผักคะน้า & สลัด & ผักชี + เส้นหมี่ลวก พร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด ราคาชุดละ 150 บาทพร้อมจัดส่งถึงที่ เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่อาชีพใหม่ที่ไม่ยึดติดและยอมแพ้กับปัญหาที่ต้องเจอ
 
7. จากเจ้าของโรงแรมสู่พ่อค้าขายข้าวแกง


ภาพจาก bit.ly/3ctwGfh
 
คุณณภพ ลายวิเศษกุล กรรมการผู้จัดการ โรงแรมลายทอง จ.อุบลราชธานี ที่ไม่ยอมแพ้แม้ต้องปิดกิจการโรงแรม โดยการรวมพลังกับพนักงานโรงแรมร่วม 100 ชีวิต นำความรู้และประสบการณ์พลิกแพลงทำข้าวแกงขายในราคาที่ใครก็เอื้อมถึง เริ่มต้นที่ 20 บาท โดยตั้งใจที่จะไม่ปลดพนักงานแม้แต่คนเดียวและต้องการสร้างรายได้ให้แก่พนักงานเพื่อช่วยเหลือกันในยามวิกฤติเช่นนี้
 
8. จากเจ้าของรีสอร์ทสู่พ่อค้ารถพุ่มพวง3199


ภาพจาก matichon
 
คุณธนพล วงศ์พร้อมมูล เจ้าของโรงแรมเอราวัณปริ๊นเซส, 3199 Mountain Camp และ 3199 คาเฟ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี หลังจากที่ธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้ต้องปรับตัวจากรีสอร์ต ร้านอาหารหรู กลายมาเป็น ‘รถพุ่มพวง 3199’ ร้านขายของชำและรถส่งอาหารเคลื่อนที่แบบติดดิน ยกเอาตลาดสดมาไว้ในรถคันเดียว ตระเวนส่งตรงถึงมือลูกค้าตามชุมชนต่างๆ ในเมืองกาญจนบุรี โดยใช้แนวคิดที่ว่าลูกค้ามาหาเราไม่ได้เราก็ไปหาลูกค้าแทน โดยเน้นสินค้าสดใหม่อร่อย ผักผลไม้ เนื้อหมู น้ำพริก ของแห้ง กับข้าว หรือแม้แต่กาแฟสด จะถูกเสิร์ฟถึงหน้าประตูบ้าน
 
9. จากนักร้องนำสู่ธุรกิจร้านตัดผม


ภาพจาก bit.ly/2WpEjOq
 
คุณธนานัตร์ บุ้งจันทร์ หรือ “ไอซ์ ซันชายน์” ศิลปินนักร้องนำวง “ซันชายน์” ที่หลังจากหมดสัญญากับทางอาร์เอส และหันไปเล่นดนตรีโฟล์คซองในร้านอาหารแต่เมื่อเจอปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดกิจการชั่วคราว ทำให้ขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง ได้พลิกแนวคิดสู่ร้านตัดผมที่บ้านเกิดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ชื่อร้าน ธรรมดาบาร์เบอร์ ด้วยเหตุผลว่านอกจากงานร้องเพลงที่ชอบยังมีเรื่องของแฟชั่นที่ตัวเองก็สนใจด้วย
 
10. จากมัคคุเทศก์ ครูสอนภาษา สู่แม่ค้าพริกแจ่วบองออนไลน์


ภาพจาก salaryinvestor
 
คุณ ธิดารัตน์ ษิณปักษา ที่แต่เดิมมีอาชีพอิสระได้แก่การเป็นมัคคุเทศก์ (ฟรีแลนด์) เป็นครูสอนภาษา ที่สามารถสร้างรายได้กว่าเดือนละหลายหมื่นบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้งานทุกอย่างต้องหยุดชะงัก ทำให้รายได้หดหายไปเกือบทั้งหมด เหตุนี้จึงได้พลิกแนวคิด พลิกชีวิตหันมาทำพริกแจ่วบองและรับขนมมาขาย เริ่มจากขายคนใกล้ตัว คนรู้จัก คนในหมู่บ้าน และเริ่มทำการตลาดในเพจเฟสบุ๊ค ปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายจากน้ำพริกแจ่วบองและขนมได้ดีใกล้เคียงกับรายได้ที่เคยมีก่อนหน้านี้และเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายจะกลายเป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้มีรายได้สูงขึ้นอีกกว่าเท่าตัวในอนาคต
 
คำว่าชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไปคือสิ่งที่ทุกต้องทำในช่วงนี้ ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 กันอย่างถ้วนหน้า แต่บางคนเลือกที่จะอยู่นิ่งรอรับเงินช่วยจากคนอื่น ในขณะที่อีกหลายคนดิ้นเพื่อให้ตัวเองและลูกน้องอยู่รอด ปัญหาเดียวกันแต่ต่างความคิดต่างวิธีการเอาตัวรอด แต่เชื่อว่าคนที่พยายามคิดพยายามดิ้น คือนักสู้ตัวจริงที่อนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะมีวิกฤติอะไรที่หนักหนากว่านี้เกิดขึ้นอีกบ้างแต่คนกลุ่มนี้ที่คิดและพยายามอยู่รอดจะยังยืนหยัดอยู่ได้ต่างจากคนที่เอาแต่รอรับเงินช่วยเหลือที่นับถอยหลังรอวันอดตายอย่างเดียว
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ขอบคุณข้อมูล
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด