บทความทั้งหมด    บทความสร้างอาชีพ    ความรู้ค้าขาย    ความรู้สร้างอาชีพ
2.6K
3 นาที
1 กันยายน 2563
อาชีพเพิ่มรายได้ “การเลี้ยงปลานิล” ทำง่าย รายได้ดีจริง


ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวคือภาพลักษณ์ของเมืองไทยที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี อาชีพการเลี้ยงปลาถือเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรรมที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน และยิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็ได้ผนวกเอาความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับการเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขายได้ราคามากขึ้น

หนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่น่าสนใจคือ “ปลานิล” ที่ได้ชื่อว่าเลี้ยงง่าย จับขายได้ไว หลายคนเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าของตัวเองเป็นบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งหากศึกษาวิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าจะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี ในที่นี้เราได้รวบรวมวิธีเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล การทำบ่อ การดูแล มาฝากเป็นข้อมูลให้ได้ศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน
 
เทคนิคการเตรียมบ่อ
1. ลักษณะของบ่อ

ภาพจาก bit.ly/3jL58pd

ควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ระดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ 1 เมตร ตลอดปี ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต และใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วย โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ

ดังนั้น จึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆ สำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออก เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกมาอีกด้วย แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง และต้องมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย
 
2. การเตรียมบ่อ
 
ภาพจาก bit.ly/2Dhbj4y
  1. บ่อใหม่ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักมีคุณภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
  2. บ่อเก่าจำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่างๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรค์ต่อการหมุนเวียนของอากาศ ซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันตรายต่อปลา และเป็นการจำกัดเนื้อที่ซึ่งปลาต้องใช้อยู่อาศัยอีกด้วย
  3. การใส่ปุ๋ยเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เพราะโดยทั่วไปแล้วปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจากที่ผู้เลี้ยงให้ ดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลา ควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ มูลวัว มูลควาย มูลหมู มูลเป็ดและมูลไก่ นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์ดังกล่าวแล้ว ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆ ก็ใช้ได้อัตราการใส่ปุ๋ย ในระยะแรกนั้นควรใส่ประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะหลังๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก 
เทคนิคการปล่อยปลาลงเลี้ยง
  1. จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว ดังนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนัก สำหรับบ่อขนาดเนื้อที่ 1 งาน (400 ตารางเมตร) ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง 50 คู่ หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง 400 ตัว หรือ 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร
  2. เวลาปล่อยปลา เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปล่อยปลา ควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็น เพราะระยะเวลาดังกล่าวนี้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไป ก่อนที่จะปล่อยปลา ควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลา แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ จุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำพร้อมตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปอย่างช้าๆ
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพาะเลี้ยง
 
ภาพจาก bit.ly/31JIFTc

การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล ให้สังเกตลักษณะภายนอกของปลาที่ปราศจากบาดแผล พ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมีย จะมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้สังเกตได้จากสีของตัวปลาที่เข้มสดใส ขนาดของปลาตัวผู้และตัวเมียควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ 15-25 ซม. น้ำหนักตั้งแต่ 150-200 กรัม สำหรับอัตราส่วนในการพ่อแม่พันธุ์ประมาณไร่ละ 400 ตัว และควรปล่อยอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว แม่ปลา 3 ตัว เพื่อโอกาสในการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติที่มากขึ้น
 
การให้อาหารปลานิลในบ่อ
 
ภาพจาก bit.ly/2DlcL64

การเลี้ยงปลานิลจำเป็นต้องให้อาหารสมทบหรืออาหารผสมได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียดในอัตราส่วน 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100-200 กก./ไร่/เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอาหารธรรมชาติในบ่อได้แก่พืชน้ำขนาดเล็ก ไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อน การให้อาหารปลานิลจึงถือเป็นต้นทุนหลักของเกษตรกร ส่วนใหญ่ที่ใช้กันเช่น รำข้าว ผสมกับปลาป่น กากถั่ว และวิตามิน นอกจากนี้ยังมีแหนเป็ด และสาหร่าย ก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่ปลานิลได้อย่างดีเช่นกัน
 
ระยะเวลาในการเติบโตและผลผลิต
 
ภาพจาก bit.ly/3gM99ri

ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ย 500 กรัมในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กก./ไร่/ปี ซึ่งระยะเวลาในการจับจำหน่ายขึ้นอยู่กับขนาดของปลานิลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปหากเป็นปลานิลในบ่อรุ่นเดียวกันจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะจับจำหน่าย ราคาของปลานิลถ้าเป็นไซด์ขนาด 0.7-1.2 กิโลกรัม ราคาประมาณกิโลกรัมละ 65 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วย)
 
หากคำนวณต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อบ่อจากเกษตรที่ประสบความสำเร็จให้ตัวเลขคร่าวๆ ว่าหากเป็นการเลี้ยงประมาณ 6 เดือนแล้วจับขายได้ปลาน้ำหนักประมาณ 800 กรัมขึ้นไป ต้นทุนในการเลี้ยงต่อ 1 บ่อจะอยู่ประมาณ 30,000 บาท แต่ก็สามารถขายมีรายได้ต่อบ่อ 40,000 -50,000 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่คือค่าอาหารซึ่งเกษตรกรที่มีความชำนาญก็จะมีวิธีทำสูตรอาหารที่ประหยัดมากขึ้น ทำให้มีกำไรจากการลงทุนมากขึ้นเช่นกัน
 
*** เทคนิคและวิธีการเลี้ยงอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น***
 
ปัญหาและอุปสรรคของการเลี้ยงปลานิลก็คือเรื่องโรค และศัตรูที่อาจรบกวน เกษตรกรต้องมีความรู้รอบด้านและหาวิธีเลี้ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ดีปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลการเลี้ยงปลานิลที่เราสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ หรือจะลองปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์เลี้ยงปลานิลมายาวนานก็จะถ่ายทอดเทคนิคและภูมิปัญญาที่ในตำราอาจไม่ได้พูดถึงให้เราได้ทราบและนำไปปรับปรุงใช้ต่อไปได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ http://www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/32pB4s2 , http://1ab.in/fLc
 
ในยุคที่คนตกงาน ว่างงาน ช่องทางการเป็นเกษตรกรกลายเป็นแนวทางสร้างอาชีพที่หลายคนสนใจ จุดเด่นของเมืองไทยคือภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมที่มีมานาน หากรู้จักนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีให้เหมาะสมอาจจะเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีกว่าทำงานประจำ หนึ่งในเกษตรกรรมที่น่าสนใจคือ “การเลี้ยงกุ้งฝอย”..
47months ago   3,484  7 นาที
อาชีพที่สร้างรายได้ดีบางทีก็เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่หลายคนนึกไม่ถึง โดยเฉพาะการเลี้ยง “ปูนา” ที่บางคนรู้จักดีและเคยกินอยู่บ่อยๆ แต่ไม่นึกว่าจะสามารถเพาะปูนาขายได้ โดยปกติทั่วไปปูนา จะขุดรูในทุ่งนา ตามคันนา คันคู หรือคันคลอง โดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ และแหล่งอาหาร และรูนั้นจะอยู่ใ..
47months ago   2,476  5 นาที
บทความสร้างอาชีพมาใหม่
บทความอื่นในหมวด