บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
843
2 นาที
24 กรกฎาคม 2566
น้ำแข็ง แบบไหน ที่เหมาะสำหรับร้านอาหาร
 

น้ำแข็งที่ร้านอาหารใช้คือเงินที่ละลายหายไปได้แบบไม่รู้ตัว! บางทีรู้ทั้งรู้แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะน้ำแข็งคือสิ่งสำคัญที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมี ถ้าเป็นอย่างนี้ร้านอาหารก็ควรมีความรู้ในการเลือกน้ำแข็งที่เหมาะกับร้าน และต้องรู้ลึกซึ้งให้มากขึ้นว่าทำยังไงถึงจะลดต้นทุนเรื่องน้ำแข็งให้น้อยลงได้
 
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตได้แก่
 
  1. น้ำแข็งชนิดซอง(หรือเรียกว่าน้ำแข็งก้อน) เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ
    • น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส
    • น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น
  2. น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ
น้ำแข็งประเภทไหนที่เหมาะกับร้านอาหาร?


น้ำแข็งร้านอาหาร ก็ต้องแยกย่อยอีกว่า เป็นน้ำแข็งที่จะเสิร์ฟให้ลูกค้า หรือว่าเป็นน้ำแข็งสำหรับใช้ในการแช่เย็นวัตถุดิบ ซึ่งถ้าสำหรับเสิร์ฟลูกค้านำมาใส่กับเครื่องดื่มในร้านอาหาร น้ำแข็งที่เหมาะสมก็อยู่ในกลุ่มน้ำแข็งก้อนขนาดเล็กที่มีหลายแบบคือ
  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)
  • น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)
  • น้ำแข็งถ้วย (Gourmet )
แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติในการละลายที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นร้านอาหารระดับภัตตาคารหรือในโรงแรมใหญ่เลือกใช้แบบน้ำแข็งถ้วย (Gourmet ) เพราะมีความพรีเมี่ยมมากที่สุด เครื่องดื่มไม่เสียรสชาติ แต่ถ้าเป็นร้านอาหารทั่วไปจะเลือกใช้น้ำแข็งน้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube) หรือน้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget) แล้วแต่ความต้องการของร้าน
 
แล้วน้ำแข็งสำหรับแช่คือน้ำแข็งแบบไหน?
 

น้ำแข็งสำหรับ “แช่เย็นวัตถุดิบ” ไม่ว่าจะร้านอาหารเล็กหรือใหญ่ มักจะเลือกใช้น้ำแข็งแผ่น (Flake) ซึ่งก็เป็นน้ำแข็งประเภทหนึ่งที่ผลิตจากเครื่องอัตโนมัติเช่นกัน ซึ่งหลายคนสับสนและแยกไม่ออกระหว่าง น้ำแข็งแผ่น (Flake) กับ น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget) ที่ดูกรุบกรอบคล้ายกันมาก
 

แต่น้ำแข็งแผ่น (Flake) จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางไม่เป็นก้อน โดยความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% ให้ความเย็นเร็ว แต่มีอณูไม่หนาแน่น จึงละลายได้เร็ว เหมาะสำหรับใช้แช่อาหารสด ไม่เหมาะนำมาบริโภค ซึ่งนอกจากร้านอาหารก็มีอีกหลายธุรกิจที่นิยมนำไปใช้ เช่น ห้าง Tesco Lotus , ห้าง Makro, ห้าง Big C, โรงงานลูกชิ้น โรงงานไส้กรอก โรงงานเนื้อสัตว์ ห้องแช่เย็นจำพวกอาหารสด เป็นต้น
 
อยากลดต้นทุน “น้ำแข็ง” ในร้านอาหาร ควรทำยังไง?
 

โดยทั่วไปร้านอาหารอาจต้องใช้ปริมาณน้ำแข็งเฉลี่ย 4 ถุงต่อวัน (ขึ้นอยู่กับขนาดร้านอาหาร) ทั้งต้องนำน้ำแข็งมาแช่วัตถุดิบต่างๆ และน้ำแข็งที่ต้องเสิร์ฟลูกค้าซึ่งต้องแยกกันเพื่อความสะอาด ถ้าคิดราคาน้ำแข็งกระสอบละ 60 บาทเท่ากับ 240 x 365 = 87,600 บาท ร้านอาหารใหญ่ๆ หลายแห่งก็ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องทำน้ำแข็งใช้เอง ที่คำนวณแล้วว่าลดต้นทุนค่าน้ำแข็งได้หลายเท่าตัว ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องทำน้ำแข็งที่เลือกซื้อ
 
หรือบางร้านที่ไม่ได้มีเครื่องทำน้ำแข็งเองก็ต้องมีโรงโม่น้ำแข็งที่ใช้งานกันอยู่ประจำซึ่งความที่เป็นลูกค้าประจำอาจทำให้ได้ต้นทุนน้ำแข็งที่ถูกลง อย่างไรก็ดีปริมาณน้ำแข็งที่ใช้ก็สัมพันธ์กับขนาดร้าน ปริมาณลูกค้า ยิ่งร้านมีขนาดใหญ่ลูกค้ามาก การใช้น้ำแข็งก็ต้องมาก 
 
แต่ตลกร้ายของเรื่องนี้คือบางทีร้านอาหารกลับมองต้นทุนน้ำแข็งเป็นเรื่องเล็กน้อย ยิ่งขายดี ยิ่งมีลูกค้ามาก หักลบรายจ่ายทุกอย่างแล้วยังมีกำไรเหลือแต่ละเดือน ก็ยิ่งมองข้ามต้นทุนน้ำแข็ง ทั้งที่หากให้ความสำคัญและบริหารจัดการต้นทุนน้ำแข็งให้ดีกว่าเดิม กำไรของร้านก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แล้วแบบนี้จะไม่ดีกว่าหรือ???
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
888
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
559
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด