บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.1K
2 นาที
5 กรกฎาคม 2567
พลิกโฉม! 5 เทคนิค ทำธุรกิจแนวญี่ปุ่น ไม่เคยบอกใคร
 

การทำธุรกิจแบบคนญี่ปุ่นเน้น “สร้างคุณค่า” ก่อนคิดถึง “กำไร” ข้อมูลน่าสนใจยังระบุอีกว่าจากผลสำรวจบริษัทอายุเกินร้อยปี 5,586 แห่งทั่วโลก พบว่า 56% เป็นบริษัทจากญี่ปุ่น เบื้องหลังความสำเร็จนี้มี 5 แนวคิดสำคัญที่คนทำธุรกิจนำเอาไปปรับใช้ได้
 
1.ริเน็น (Rinen)
 
ภาพจาก https://bit.ly/4cKJmx6
 
หลักการของ “ริเน็น” คือการตอบคำถามว่า “ธุรกิจของเราเกิดมาเพื่ออะไร?” และยึดมั่นในจุดยืนนั้น โดยไม่เอากำไรเป็นที่ตั้งเพราะแนวคิดนี้เน้นแสวงหา “ความสุข” มากกว่าผลประโยชน์ ก็มีหลายธุรกิจที่ใช้แนวคิดนี้ในญี่ปุ่น เช่น
  • บริษัทอินะ ฟู้ด อินดัสทรี ซึ่งแม้ว่าเป็นเพียงบริษัทผลิตผงเจลลาติน แต่กลับที่จะมีกำไรเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลากว่า 48 ปี 
  • “ริวเก็ตสึ” ร้านขนมอายุกว่าร้อยปีในจังหวัดฮอกไกโด ที่ยึดริเน็นเป็นหลักในการทำธุรกิจ ด้วยคีย์เวิร์ดที่ว่า “จะมุ่งมั่นสานสายสัมพันธ์คนในครอบครัวผ่านขนม”
  • ฟุกุจุเอ็น ร้านขายใบชาเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1790 ในเมืองเกียว ภายใต้หลักคิด “ผู้เรียกแขกที่ไร้เสียง” คือจงดำเนินธุรกิจด้วยคุณธรรม และมุ่งมั่นทำสินค้าด้วยความซื่อสัตย์ จะเป็นสิ่งที่เรียกลูกค้าเข้ามาเองโดยไม่จำเป็นต้องตะเบ็งเสียงขายสินค้า เป็นต้น
2.ไคเซ็น
 
ภาพจาก https://bit.ly/3W8UT3L
 
หลักการของ “ไคเซ็น” มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ “การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุงเฉพาะจุดที่มีปัญหาเท่านั้นโดยรักษาวิธีการทำงานแบบเดิมที่มีอยู่แล้วทำให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Toyota ที่คิดระบบ Just In Time ซึ่งเป็นการผลิตตามความต้องการจริงของลูกค้า แทนการผลิตแบบ Mass Production ที่เป็นการผลิตแบบจำนวนมาก 
 
3.โคดาวาริ

ภาพจาก https://bit.ly/3VS1vlZ
 
หลักการของ “โคดาวาริ” เน้นที่การพิถีพิถัน มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานแต่ละอย่างให้ออกมาดีที่สุด ไม่ให้มีข้อผิดพลาด ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือร้านซูชิ Sukiyabashi Jiro ที่เคยได้รับมิชลินสตาร์ 3 ดาว ซึ่งมีกระบวนการผลิตซูชิที่พิถีพิถันตั้งแต่การไปเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดีที่สุด และมีเทคนิคการปั้นซูชิที่แตกต่างกันสำหรับเสิร์ฟให้ลูกค้าผู้หญิงและผู้ชาย เป็นต้น
 
4.ซัมโปะ โยชิ
 
ภาพจาก https://bit.ly/3WbcPen
 
มี 3 หลักการในแนวคิดนี้ คือ 
  • ทำธุรกิจที่ดีต่อตัวเอง เงินอาจไม่ใช่ทั้งหมด แต่การทำธุรกิจต้องสร้างรายได้ 
  • การวางกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาว การลดความเสี่ยง จึงสำคัญ
  • การทำธุรกิจที่ดีต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าด้วยสินค้า , บริการ และความซื่อสัตย์
ตัวอย่างที่ชัดเจนในแนวคิดนี้คือ ร้าน The Body Shop ที่ดำเนินธุรกิจโดยใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มีจริยธรรมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแลดล้อม ทำให้บริษัทเติบโตมาร้านค้ากว่า 2000 แห่งมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มียอดขายกว่า 538 ล้านดอลลาร์ในปี 2002
 
5.โอโมเตนาชิ
 
ภาพจาก https://bit.ly/3WkJMoN
 
แนวคิดทำธุรกิจที่ให้บริการด้วยความเต็มใจ และความเอาใจใส่อย่างแท้จริง เพื่อมอบความประทับใจเเละประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ถ้าใครเคยไปญี่ปุ่นจะพบว่าแนวคิดนี้มีอยู่ในหลายธุรกิจเช่น ไม้จิ้มฟันที่บรรจุมาพร้อมกับตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งจากร้านสะดวกซื้อ หรือการขอบคุณลูกค้าด้วยการโค้งคำนับด้วยท่าทีที่สุภาพพร้อมรอยยิ้มที่แจ่มใส เป็นต้น
 
ถ้าให้สรุปพอสังเขปถึงแนวคิดการทำธุรกิจของคนญี่ปุ่นพบว่า
  • คนญี่ปุ่นเวลาทำอะไร เขาจะทำไปให้สุดทาง ไม่ว่าสิ่งที่ทำมันจะเล็กหรือใหญ่ เขาจะทุ่มเทกับมัน เวลาเจอปัญหา
  • สิ่งที่จะคิดต่อคือจะแก้ยังไงมากกว่าคิดว่าทำอย่างอื่นดีกว่าไหม
  • คนญี่ปุ่น จะไม่ค่อยมีแนวคิดที่ ทำอะไรก็ได้ที่สบายๆ เขาจะคิดเสมอว่า ทำยังไงให้มันดีกว่านี้ และลงรายละเอียดทุกจุดตั้งแต่ต้น
และที่เราเห็นว่าคนญี่ปุ่นเวลาทำงานเขาจะมุ่งมั่นและตั้งใจกันมากๆ นั้นเพราะการปลูกฝังความคิดของแต่ละองค์กรที่มุ่งเน้นไปที่ความสุขของพนักงาน ให้ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ดี มีสวัสดิการที่ดี พนักงานก็มีกำลังใจในการทำงาน และพร้อมที่จะทุ่มเทให้แก่บริษัท
 
ด้วยแนวคิดเหล่านี้ทำให้ธุรกิจของญี่ปุ่นดูมีเสน่ห์และเป็นอีก Soft Power ที่น่าสนใจมาก ตัดกับมาดูในประเทศไทยก็ต้องยอมรับว่าวิธีบริหารจัดการของหลายองค์กรยังห่างไกลจากแนวคิดเหล่านี้ดูง่าๆย แค่บางบริษัทที่พนักงานมาทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม มาให้ครบๆ เวลา ก็เพราะเขาไม่รู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ทำ จึงไม่มีแรงผลักดันที่อยากคิดหรืออยากทำอะไรดีๆ เพื่อองค์กร ก็เป็นผลกระทบต่อเนื่องไปถึงประสิทธิภาพและการเติบโตของธุรกิจในอนาคตด้วย
 
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
888
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
559
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด