บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
15K
2 นาที
3 พฤษภาคม 2558
เปิดร้านกาแฟก่อน ตั้งชื่อร้านกาแฟทีหลัง

ก่อนที่ผมจะเปิดร้านกาแฟ นอกจากใช้เวลาส่วนหนึ่งในการเลือกทำเล ไปเรียนชงกาแฟ คิดสูตรเครื่องดื่มประจำร้าน ผมยังพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์บางอย่างให้กับร้านกาแฟของตัวเอง พยายามมองหาจุดเด่นร้านกาแฟของตัวเอง เอาจุดเด่นมาตั้งเป็นชื่อร้าน ออกแบบโลโก้ คิดสโลแกนที่เข้ากับโลโก้ รวมไปถึงบรรยากาศที่ตนเองต้องการ


การเปิดร้านกาแฟสดไม่ต่างจากการทำธุรกิจทั่วไปหรอกครับ หาทำเล คิดโปรดักส์ ประเมินต้นทุน ทำแผนการตลาด การสื่อสาร ลฯล คิดไปก็วนเวียนกลับไปกลับมา ผมได้แนวคิดหนึ่งในการทำร้านกาแฟที่แตกต่างจากความคิดเดิมๆที่เคยคิดไว้ ความคิดนี้ผมได้มาเจอหนังสือเล่มหนึ่งในห้องสมุดครับ

ปกติแล้ว ก่อนจะเปิดร้านกาแฟมักจะขั้นตอนการคิดชื่อร้านกาแฟ ออกแบบโลโก้ ออกแบบสโลแกน สกรีนโลโก้ลงกระดาษ สกรีนโลโก้ลงแก้ว ทำเว็บไซค์ ตกแต่งร้าน สีโทนร้าน เพลงที่ร้านจะเปิด หรือพูดรวมๆทั้งหมด ก็คือการคิดถึงภาพลักษณ์โดยรวมของร้านกาแฟ (หรือการสร้างจุดเด่น) ที่ต้องการสื่อสารให้แก่กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าคอกาแฟนั้นเอง

แต่แนวคิดที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้ต่างออกไป หนังสือเล่มนี้ได้บอกว่า การเปิดร้านกาแฟขอให้ทำเท่าที่จำเป็นต้องทำเท่านั้น ที่เหลือไว้ค่อยทำหลังจากเปิดร้านกาแฟไปแล้ว  โดยให้เหตุผลว่าคนเปิดร้านกาแฟไม่มีทางรู้ว่าตลาดหรือกลุ่มลูกค้านั้น ประทับใจอะไรจากร้านกาแฟ ต้องการอะไรจากกาแฟแต่ละแก้ว จนกว่าจะเปิดร้านกาแฟก่อน ?!

หมายความว่า เมื่อจะเปิดร้านกาแฟให้คำนึงถึงสิ่งจำเป็นหลักๆเท่านั้น ได้แก่ ทำเล ค่าเช่า สูตรกาแฟ งบลงทุน ส่วนเรื่อง ชื่อร้านกาแฟ โลโก้ สโลแกน โทนสีร้าน เพลงที่ร้านจะเปิด ไม่ต้องคิดหรือทำใดๆทั้งสิ้น ค่อยทำหลังจากเปิดร้านไปแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือ จะได้ประหยัดเงินลงทุนในช่วงระยะเริ่มต้น

อีกส่วนหนึ่งก็คือ เมื่อได้ทำการทดสอบตลาดหรือลองขายได้สักพัก โดยธรรมชาติจะเริ่มมีลูกค้าประจำเข้ามา และคนทำร้านกาแฟก็จะเริ่มรู้ว่าร้านกาแฟของตัวเองมีจุดเด่นอะไร จากการสอบถามลูกค้าประจำนี่แหละ จากนั้นจึงนำจุดเด่นร้านกาแฟที่ลูกค้าบอกมาตั้งเป็นชื่อร้านในเวลาต่อไป แล้วจึงออกแบบโลโก้ โทนสี เว็บไซค์

จุดเด่นบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกาแฟก็มีนะครับ แต่เป็นจุดเด่นที่พูดแล้วคนต้องนึกภาพในสมองได้ ร้านกาแฟที่หนึ่งตั้งอยู่ที่หัวมุม ลูกค้าที่ซื้อก็มักจะคุยกับเพื่อนว่า “ไปซื้อกาแฟที่ร้านหัวมุมก่อนนะ” เราจึงได้ชื่อร้านกาแฟที่ลูกค้ารู้จักและเข้าใจ โดยไม่ต้องคิดให้เปลืองสมอง

อีกคนที่เปิดร้านโดยเอาลักษณะรูปร่างของตัวเองมาตั้งเป็นชื่อร้านกาแฟว่า “ร้านกาแฟนายอ้วน”  ใจเจ้าของร้านจริงๆแล้วไม่ได้อยากจะใช้ชื่อนี้ แต่ลูกค้าหลายคนเข้าใจกันแล้วว่า “ถ้าไปซื้อกาแฟต้องซื้อร้านที่คนชงอ้วนๆนะ ร้านนั้นชงถูกปากที่สุดแล้ว” เจ้าของร้านก็เอาคำนั้นๆมาตั้งเป็นชื่อร้านซะเลย

เช่นเดียวกับร้านที่ชื่อว่า ร้านกาแฟคนสวย ร้านกาแฟไอ้ใบ้ ร้านกาแฟหมอผี ร้านกาแฟตาแว่น ร้านกาแฟลึกลับ ร้านกาแฟเดินยาก ร้านกาแฟปากทาง ร้านกาแฟเสาไฟฟ้า ลฯล เป็นชือร้านอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นชื่อร้านที่ออกมาจากความเข้าใจของลูกค้าหมู่มาก เพราะพวกเขาเข้าใจแล้วว่าร้านนั้นอยู่ตรงไหน รสชาติเป็นอย่างไร และจะพูดในกลุ่มเพื่อนต่อร้านนั้น โดยแทนด้วยสรรพนามอะไร

เมื่อได้ชื่อจากความต้องการของลูกค้าแล้ว จึงค่อยไปออกแบบโลโก้ สโลแกน โทนสี เพลง ฯลฯ ตามมาทีหลัง ร้านกาแฟบางร้านก็อาศัยความเห็นจากลูกค้านี่แหละครับ เพราะลูกค้าคือคนที่เข้าใจร้านกาแฟนั้นๆมากที่สุด บางทีอาจจะเข้าใจมากกว่าเจ้าของร้านกาแฟด้วยซ้ำ

แนวคิดนี้อาจจะดูแย้งกับแนวคิดทางการตลาดที่ว่า ต้องออกแบบทุกอย่างให้เสร็จก่อนจะเริ่มดำเนินธุรกิจ ต้องมีแผนการสื่อสารทางการตลาด ต้องกำหนดจุดเด่นร้านกาแฟจากจุดแข็งของตนเอง เพื่อให้ลูกค้าจดจำและแข่งขันในตลาดได้  แต่จุดแข็งที่ว่านั้นก็ต้องเกิดจากการสำรวจตลาดก่อนจะเปิดร้านกาแฟอยู่ดี ทำไมไม่เปิดมันไปก่อนแล้วค่อยสำรวจจุดแข็งนั้นในภายหลัง ?!

เรื่องการกำหนดชื่อร้านเป็นเรื่องที่สำคัญพอสมควร รองๆมาจากทำเลและรสชาติของกาแฟ  แต่หากตั้งชื่อร้านที่สอดคล้อง เหมาะเจาะกับความเข้าใจของลูกค้า ก็จะเป็นส่วนเสริมให้ลูกค้ารู้จัก และเข้าใจร้านกาแฟของคุณมากขึ้นครับ


อ้างอิงจาก coffeeindy.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
718
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
497
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด