บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
2.4K
3 นาที
18 พฤษภาคม 2559
แหล่งเงินทุนสำหรับ Startup อยากหาเงินทุนสักก้อน ต้องอ่าน!
 
“Startup” หมายถึงการเริ่มต้นอาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย แต่การเริ่มต้นที่ง่ายดายก็อาจล้มเหลวได้ไม่เป็นท่า คำว่าแจ้งเกิดหรือล้มเหลวจึงมีแค่เส้นบางๆ ที่กั้นไว้ตรงกลางเท่านั้น ความยิ่งใหญ่ของธุรกิจระดับโลกเช่น Facebookหรือ Alibaba จึงอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่า Startup เมืองไทยอยากก้าวขึ้นไปให้ถึงจุดนั้นบ้าง
 
แต่ในโลกของธุรกิจเงินทุนยังเป็นปัจจัยที่สำคัญความฝันหลายอย่างถูกบังคับให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ ดังนั้นสิ่งที่ Startup ต้องทำเป็นอย่างแรกนอกจากแผนไอเดียธุรกิจแบบสุดเจ๋งแล้ว การหาเงินทุนมารองรับก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันไป
 
www.ThaiFranchiseCenter.com เองก็มองเห็นถึงความสำคัญอย่างที่สุดของคำว่าแหล่งเงินทุนจึงสรรหาข้อมูลเพื่อบอกต่อสำหรับ Startup เพื่อให้การเริ่มต้นธุรกิจเป็นไปได้ง่ายขึ้นในที่นี้เราจำแนกออกมาให้ทราบกันทั้ง 2 แนวทางคือการเลือกใช้วิธีระดมทุนกับเงินกู้เพื่อเหล่า Startup ของธนาคารต่างๆในประเทศไทย
 
Startup ไทยแม้จะเริ่มต้นช้าแต่ก็มาแบบก้าวกระโดด 

 ประเทศไทยเริ่มเห็นเทรนด์การสร้าง Startup มาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งถือว่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซียกว่า 10 ปี แต่ในความช้าที่ว่านี้ก็มีความแข็งแกร่งจนนักลงทุนต่างชาติเองก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถ้าพูดถึงการระดมทุนนั้นมีด้วยกัน 2 แบบคือการระดมทุนแบบร่วมลงทุน((Venture Capital) และ การระดมทุนมวลชน (Crowdfunding)
 
จากข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2557-2558 พบว่าในปี 2557 Startup ไทยสามารถระดมทุนรวมกันได้ทั้งปีอยู่ที่มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังไม่นับรวมที่ขายไป

แต่ในปี 2558 ผ่านไปเพียงครึ่งปีกลับสามารถระดมทุนไปแล้ว 25 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับตลาด Startup เมืองไทยนั้นมีอัตราการเติบโต 2 เท่าในทุกปี ซึ่งการระดมทุนเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของธุรกิจนี้เรามาจำแนกให้เห็นภาพชัดเจนได้ดังนี้
 
1.ระดมทุนแบบร่วมลงทุน (Venture Capital)

Venture Capital (VC) คือ หนึ่งในแหล่งทุนของ Startup มีทั้งกลุ่มองค์กร หรือกองทุนร่วมลงทุนที่ต้องการนำเงินที่มีอยู่มาร่วมลงทุนกับ Startup ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยแลกกับสัดส่วนของหุ้น

รวมถึงอำนาจในการตัดสินใจต่าง ๆ ระยะเวลาการลงทุนมักจะอยู่ที่ 3-5 ปี แต่การจะได้เงินมา Startup ก็ต้องมีโปรดักส์ให้เห็น หรืออย่างน้อยมี Prototype พร้อมกับจำนวนผู้ใช้มากพอในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน Business Model ที่เป็นไปได้ Financial Projection ที่สมเหตุสมผล ถึงจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและดึงดูดเงินทุนให้เข้ามาได้
 
ซึ่งบริษัท Startup ใหญ่ ๆ ในต่างประเทศล้วนแล้วเคยผ่านการเติบโตจากเงินทุนของ VC ทั้งนั้น เช่น Google, Facebook สำหรับ Startup ไทยหลายรายก็สามารถระดมทุนได้สำเร็จจาก VC ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เช่น aCommerce ผู้ให้บริการทางด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร  ซึ่งการระดมทุนส่วนนี้ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเพื่ออะไรในกรณีของ aCommerce คือการเพิ่มขนาดแวร์เฮ้าส์ พัฒนาแพลตฟอร์มให้แข็งแกร่ง และเพิ่มทีมงานอีกกว่า 300 ชีวิต

2.ระดมทุนมวลชน Crowdfunding

Crowdfunding หรือการระดมทุนจากมวลชน มีข้อดีคือขั้นตอนที่ง่ายและใช้เวลาสั้นกว่าการระดมทุนด้วยวิธี Venture Capital และการขอกู้จากธนาคาร

แต่ข้อเสียคือเงินทุนที่ได้จากวิธีนี้จะต่ำกว่าแบบแรกพอสมควรในปี 2557 ตลาดทุน Crowdfunding ทั่วโลกมีมูลค่าสูงกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการเติบโตสูงถึง 1,000% โดยเว็บไซต์ที่โด่งดังและใหญ่ที่สุดในโลกด้าน Crowdfunding คือ Kickstarter
 
ความจริง Crowdfunding นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของStartupเมืองไทย เพียงแต่ Crowdfunding Plattorm สัญชาติไทยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปแบบการให้คืนเป็นรางวัล (Rewards) และการบริจาค (Donation) เช่น Afterword เปิดโอกาสให้นักเขียนระดมทุนผลิตหนังสือจากคนอ่านโดยตรง

โดยเปิดระดมทุนครั้งแรกกลางปี 2557 สามารถระดมทุนได้ 1.2 ล้านบาท ภายในเวลา 9 เดือน มีการผลิตหนังสือแล้ว 8 เล่ม หรือ Taejai.com จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดี ๆ เพื่อสังคม ปัจจุบันมีสมาชิก 8,000 คน มีสมาชิกสนับสนุนโครงการต่าง ๆ 2,400 คน เป็นเงิน 6.7 ล้านบาท ให้กับโครงการสร้างสรรค์กว่า 80 โครงการเป็นต้น

และนอกจากวิธีการระดมทุนใน 2 รูปแบบที่กล่าวไปแล้วอีกวิธีหนึ่งที่ดูจะคุ้นเคยกับคนไทยมากที่สุดก็คงเป็นการขอกู้เงินจากธนาคารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันแทบทุกธนาคารจะมีสินเชื่อเพื่อSMEs Startup  โดยเฉพาะ ผู้ที่จะใช้เงินทุนในลักษณะนี้จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของธนาคารที่จะขอเงินกู้ทั้งในเรื่องคุณสมบัติผู้กู้,อัตราดอกเบี้ย,เงื่อนไขการชำระคืน

นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือ “ความสามารถในการจ่ายคืน” นั้นหมายถึงพื้นฐานของธุรกิจที่ต้องเข้มแข็งและมีการตลาดที่ดีมากพอ ซึ่งธนาคารเองก่อนที่จะปล่อยกู้ได้นั้นก็ต้องมาวิเคราะห์มองศักยภาพของผู้กู้เช่นกัน
 
ตารางเปรียบเทียบสินเชื่อธุรกิจSMEs ของแต่ละธนาคาร
 
ธนาคาร
ชื่อสินเชื่อ
วงเงิน (บาท)
อัตราดอกเบี้ย
เวลาผ่อนชำระ
SME Bank
Small SMEs
1,000,000
MRR+1% (เกิน 3 ปี) MRR+2%(ไม่เกิน3 ปี)
สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
กสิกรไทย
K SME Start-Up Solution
100,000-500,000
MRR + 9% ต่อปี
36 เดือน (3 ปี)
กรุงศรีอยุธยา
สินเชื่อเกินร้อยวงเงินสูงผ่อนนาน
200,000 - 12,000,000
MRR + 2.0%
สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
กรุงไทย
สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่
สูงสุด 2,000,000
MRR + 2.5%
สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
ไทยพาณิชย์
สินเชื่อธุรกิจรายย่อย กล้าคิดก็กล้าให้
สูงสุด 5,000,000
ร้อยละ 11.870 ต่อปี (ลูกค้าสินเชื่อทั่วไป)
สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
กรุงเทพ
บัวหลวงทันใจ
สูงสุด 10,000,000
ขั้นต่ำ MRR + 2%
ตามการพิจารณาของธนาคาร
ออมสิน
เพื่อผู้ประกอบการรายใหม่
ไม่เกิน 200,000 บาท
MLR + 2%
สูงสุดไม่เกิน 60 เดือน
 
หลักการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ผ่านการพิจารณาจากธนาคารนั้นสิ่งที่ต้องประกอบกันมีหลายอย่างซึ่งทางธนาคารเองก็แนะนำว่า สิ่งสำคัญสำหรับการขอสินเชื่อทุกประเภทประวัติทางการเงินของตัวเองต้องดี ต้องมีรายได้เข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เครดิตทางการเงินต้องไม่ขึ้นบัญชีดำ

นอกจากนี้การเตรียมเอกสารทุกอย่างต้องพร้อมเพราะถ้าพลาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปอาจต้องไปตั้งต้นเริ่มใหม่ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการได้สินเชื่อมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดีเทคนิคในการขอสินเชื่อจากธนาคารก็ควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองเป็นสำคัญเช่นกลุ่ม Startup  ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากพอเพียงแต่มีแนวคิดน่าสนใจธนาคารที่เปิดสินเชื่อกลุ่มนี้แนะนำธนาคารออมสินกับธนาคารไทยพาณิชย์

ส่วนถ้าเป็นธุรกิจที่เริ่มได้ระยะหนึ่งมีประสบการณ์ระดับหนึ่งสินเชื่อที่น่าสนใจคือธนาคารกสิกรไทยกับ SME Bank แต่ถ้ามองการณ์ไกลอยากขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดดและมั่นใจในศักยภาพมากพอรวมถึงต้องการวงเงินสูงๆธนาคารกรุงเทพและธนาคารกรุงศรีอยุธยาน่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด
 
สำหรับ Startup ท่านใดที่สนใจเรื่องการขอสินเชื่อจากธนาคารเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/loan/ 
 
 
เรียบเรียงโดย ThaiFranchiseCenter.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด