บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
5.3K
2 นาที
19 ตุลาคม 2559
11 วิธีของ Howard Schultz ให้คุณรวยด้วยธุรกิจร้านกาแฟ

 
ในยุคที่เราเห็นร้านกาแฟกันมากมายพอๆกับร้านสะดวกซื้อ

ไม่ว่าจะกาแฟโบราณ กาแฟสด กาแฟพรีเมี่ยม ทั้งแบบรถเข็น เป็นแฟรนไชส์ หรือว่าเป็น Coffee Shop สวยงามก็ตามที แต่เมื่อมีจำนวนร้านค้ามากก็ต้องมีเสียงบ่นตามมาว่ามีร้านค้ามากกว่าคนซื้อทีนี้ก็เป็นปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ร้านกาแฟที่เราลงทุนนั้นเติบโตได้ดีท่ามกลางคู่แข่งจำนวนมาก 
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าคงไม่มีใครสอนธุรกิจการทำกาแฟให้รุ่งเรืองได้ดีเท่ากับ Howard Schultz ผู้ก่อตั้งStarbucks และสามารถขายกาแฟได้กว่าวันละพันล้านบาทเลยทีเดียว
 
จุดเริ่มของ Starbucks

ในปี 1971 ร้านกาแฟเล็กๆแห่งหนึ่งได้เกิดขึ้นในรัฐ Seattle สหรัฐอเมริกาหลังจาก Howard Schultz ได้ซื้อต่อกิจการนี้มาตั้งแต่ปี 1987 โดยเริ่มต้นจากการขายเมล็ดกาแฟดิบคุณภาพดีก่อนจะเริ่มต้นขายกาแฟสดพร้อมดื่มในอีกหลายปีต่อมา กว่า 40 ปีที่พัฒนาจากร้าน Starbucks เล็กๆจนสามารถขยายสาขาได้กว่า 21,000 แห่งใน 65 ประเทศทั่วโลก

สิ่งที่เราอยากเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องผลกำไรแต่คือKnowhowว่าร้านเล็กๆในวันนั้นต้องใช้วิธีอย่างไรเพื่อให้ยิ่งใหญ่ระดับโลก

11 แนวคิดสู่ความสำเร็จของ Howard Schultz กับStarbucks แบรนด์กาแฟระดับโลก
 
Howard Schultz เป็น CEO ที่ให้ความสำคัญกับ Passion ในการทำงาน แม้จะยอมรับว่าชื่นชอบกาแฟแต่สิ่งที่เหนือกว่าคือ “ความหลงใหลในการสร้างธุรกิจ” หัวใจของ Starbucks คือการส่งมอบประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่ชีวิตผู้คนด้วยวัฒนธรรม  Starbucks จึงเป็นบริษัทแห่งแรกในอเมริกาที่มีการเสนอหุ้นแก่พนักงาน

แม้กระทั่งพนักงานพาร์ทไทม์ก็มีโอกาสที่จะถือหุ้นของบริษัทได้เช่นกัน และนี่คือจุดแข็งแบบภาพรวมที่ทำให้ Starbucks เป็นแบรนด์กาแฟที่ทุกคนให้การยอมรับระดับโลก ซึ่งนอกจากนี้ยังมีอีก 11 แนวคิดที่ Howard Schultz นำมาใช้เป็นหลักการบริหารที่ถือว่าได้ผลดียิ่ง
 
1.กำหนดภารกิจให้เป็นเพียงหนึ่งเดียว

คำกล่าวหนึ่งของ Howard คือ “To inspire and nurture the human spirit-one person, one person, one cup, and one neighborhood at time” หมายถึงการเป็นที่พิงใจให้ผู้คน หนึ่งคน หนึ่งถ้วย หนึ่งหมู่บ้าน ก็คือจุดยืนที่ชัดเจนว่า Starbucks ไม่ได้ขายแค่กาแฟแต่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ทุกคนสามารถปลีกออกมาจากสังคมที่วุ่นวายเพื่อเจอเพื่อนสนิท เพื่อนัดพบหรือพูดคุยได้อย่างเป็นกันเอง
 
2.ต้องพูดคุยกับลูกค้า

สิ่งที่ Starbucks สอนคือให้พนักงานสอบถามความต้องการของลูกค้า หากเป็นลูกค้าใหม่พนักงานต้องเสนอตัวเข้าช่วยเหลือว่าลูกค้าต้องการอะไร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ง่ายที่มีประสิทธิภาพมาก เมื่อรู้ความต้องการ พนักงานก็สรรหาสิ่งที่ต้องการมาให้ เท่ากับเป็นการปิดการขายได้อย่างถาวรและยาวนาน
 
3.ต้องรู้จักชื่อลูกค้าและพนักงาน

Starbucks ให้ความสำคัญกับ Relationship ทั้งลูกค้าและพนักงาน ยิ่งเป็นลูกค้าประจำยิ่งต้องจำทั้งชื่อลูกค้าและเมนูที่สั่งประจำ เป็นการสร้างความภักดีให้กับแบรนด์สินค้าสร้างการยอมรับและจดจำได้เป็นอย่างดี
 
4.รู้จักประยุกต์การใช้เทคโนโลยี

Starbucks ตอบสนองความต้องการในโลกยุคไอทีด้วยการเพิ่มบริการ Wi-Fi ฟรี และเมื่อพบว่ามีลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วและนำกลับไปทานที่อื่นจึงพัฒนากาแฟซองสำเร็จชื่อ Starbucks VIA Ready Brew รวมถึงนำเทคโนโลยีชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นมาใช้ กลายเป็น Retailer กลุ่มแรกๆ ที่เข้าสู่ Mobile Technology
 
5.มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า
 
Starbucks ให้ยึดถือความเชื่อที่ว่าลูกค้าส่วนมากเป็นคนดี ดังนั้นเมื่อลูกค้าบอกว่าเสิร์ฟกาแฟผิดจะต้องเปลี่ยนสินค้าให้อย่างไม่มีเงื่อนไข Starbucks เชื่อว่าทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาด แต่การยืดอกรับผิดคือการแสดงความเป็นมืออาชีพตัวจริง
 
6.ต้องเข้าถึงในทุกพื้นที่
 
Starbucks ไม่คำนึงว่าจะมีคู่แข่งในพื้นที่มากมายสักแค่ไหน สิ่งที่ Starbucks ต้องการคือ การปรากฏอยู่ทุกที่ เข้าถึงได้ง่าย แม้บางแห่งจะเป็นสถานที่ไม่น่าสนใจนักก็ตาม การทำเช่นนี้ทำให้แม้แต่พื้นที่เล็กๆก็ยังเป็นทางเลือกของลูกค้ารายใหม่ๆได้เช่นกัน
 
7.เพิ่มการตลาดโซเชี่ยล ขายโดยไม่ต้องขาย

Starbucks ใช้โซเชี่ยลทำตลาดได้อย่างชาญฉลาดไม่ว่าจะเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม แต่ละโพสต์ของ Starbucksไม่เน้นขายของแต่เป็นการส่งมองเรื่องราวดีๆ ผ่านทางรูปภาพเป็นแนวคิดการสร้างStory ที่น่าสนใจและสร้างความประทับใจให้ผู้ติดตามได้กดไลค์กดแชร์ กลายเป็นComment มหาศาล เป็นเหมือน Viralที่แผ่ขยายวงกว้าง

8.ปรับปรุงสินค้าให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่น
 
Starbucks นั้นมีสาขาอยู่ทั่วโลก สิ่งสำคัญคือการศึกษาถึงเชื้อชาติ รสนิยมของแต่ละท้องที่เพื่อปรับเมนูให้สอดคล้องกับความต้องการนั้น จึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำไม Starbucks ถึงครองใจคอกาแฟได้ทั่วโลก
 
9.มีคุณภาพเดียวกัน
 
แต่ทั้งนี้การปรับเมนูในแต่ละประเทศ สูตรของ Starbucks ในประเทศนั้นๆ ต้องเหมือนกันทั้งประเทศ แต่สิ่งที่เหมือนกันทั่วโลกคือคุณภาพในการบริการ ที่กลายเป็นจุดแข็งทางการตลาดที่สำคัญอย่างมาก
 
10.รู้จักการสร้างเครือข่ายพันธมิตร เพื่อขยายธุรกิจให้ก้าวไกล
 
แม้ว่า Starbucks จะมีสาขามากมายแต่การสร้างไมตรีเพื่อต่อยอดธุรกิจนั้นก็สำคัญมาก ดังนั้น Starbucks จึงจับมือกับ Barnes and Noble นำร้านกาแฟไปเปิดในร้านหนังสือ หรือการจับมือกับ Apple ให้คนสามารถซื้อเพลงที่ได้ยินในร้านผ่านทาง iTune
 
11.ต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานแก่ผู้นำ
 
กำไรของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญแต่คนสำคัญที่ทำให้เกิดกำไรคือลูกค้า Starbucks จะอบรมผู้บริหารให้เข้าใจในปรัชญาข้อนี้เพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า รวมถึงการถ่ายทอดความตั้งใจนี้ไปถึงพนักงานทุกคนในสาขาเพื่อให้มีปรัชญาการทำงานที่เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
 
และนี่เป็นตัวอย่างของการสร้างธุรกิจที่น่าสนใจ และคงคลายความสงสัยว่าต้องทำอย่างไรให้สร้างกำไรด้วยร้านกาแฟได้อย่างยั่งยืนสิ่งสำคัญคือการนำแนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแบรนด์ไม่จำเป็นต้องเหมือนทั้งหมดแต่ให้ใกล้เคียงและมีแนวทางคล้ายๆกันธุรกิจร้านกาแฟที่ลงทุนจากแบรนด์เล็กๆตอนนี้ก็อาจจะกลายเป็นแบรนด์ใหญ่ติดระดับโลกในอนาคตก็เป็นได้
 
และสำหรับใครก็ตามที่กำลังคิดหาลู่ทางเกี่ยวกับการทำธุรกิจร้านกาแฟ เรารวบรวมแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและพร้อมเป็นทางลัดให้การลงทุนนั้นได้ผลเร็วยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ goo.gl/nZwn5s
 
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/9pNAAb , goo.gl/DVrDpo
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด