บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.4K
2 นาที
9 พฤศจิกายน 2559
4 วิธีง่ายๆเพื่อสร้างธุรกิจบริการให้แจ่ม! ว้าว! โดนใจ!

 
ธุรกิจบริการนั้นเป็นอีกสาขาของการลงทุนที่น่าสนใจยิ่ง

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยวในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาในบ้านเราเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ธุรกิจบริการหลายอย่างจึงต้องตีโจทย์ให้แตกเพื่อรองรับลูกค้าสำคัญทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างดี
 
แต่ทว่าการทำธุรกิจบริการก็ใช่ว่าใครจะเริ่มต้นได้ง่ายงานบริการมีความยากที่จะทำอย่างไรให้คนที่เข้ามาใช้บริการนั้นประทับใจติดใจงานบริการถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ทางความรู้สึกมากกว่าจะเห็นเป็นตัวสินค้า

ด้วยเหตุนี้ทาง www.ThaiFranchiseCenter.com จึงมี 4 วิธีง่ายที่ให้ทุกคนเอาไว้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างธุรกิจบริการที่ใครเห็นต้องประทับใจ ถึงขนาดที่อยากเป็นลูกค้าประจำหรือสมัครเป็นสมาชิกกันเลยทีเดียว
 
ทฤษฏีการสร้างงานบริการตามแบบของ Bernd Schmit

 
ทฤษฏีการสร้างงานบริการให้เป็นที่ต้องตาโดนใจนั้นหากจะหาหลักอ้างอิงแล้วคงไม่มีทฤษฏีไหนน่าสนใจไปกว่าทฤษฏีของ Bernd Schmit ที่กล่าวถึงความเป็น Brand Experience  คือ การสร้างประการณ์ผ่านประสาทสัมผัส ความรู้สึก การนึกคิด และพฤติกรรมการตอบสนอง ที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกลับไปสู่แบรนด์

ได้แก่ การออกแบบและอัตลักษณ์ของแบรนด์,บรรจุภัณฑ์,การสื่อสารและสภาพแวดล้อม กลายมาเป็น 4 มิติแห่งงานบริการที่ทำได้ตามนี้รับรองว่าลูกค้าทั้งคนไทยและต่างประเทศจะรู้สึกชื่มชมสนใจและอยากเป็นลูกค้าประจำกันอย่างต่อเนื่อง

4 วิธีแห่งการสร้างงานบริการให้โดนใจลูกค้า

1.สร้างประสาทสัมผัส (Sensory) ที่ดีให้กับลูกค้า

 
การสร้างประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสสามารถทำได้ด้วยกัน 5 ด้าน ได้แก่ สัมผัส, การมองเห็น, การรับรู้รส, การได้กลิ่น และ การได้ยินการอธิบายใดๆก็ไม่ชัดเจนเท่ากับตัวอย่างซึ่งในข้อนี้ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดเช่น 
 
(1)โรงแรมศาลารัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร โรงแรมบูทีคภายใต้แบรนด์ศาลา ที่ตกแต่งสไตล์ Urban Chic ดูดีมีสไตล์ในแบบคนเมืองเป็นการตกแต่งที่ผสมผสานความทันสมัยด้วยสีขาว ดำและความเก่าแบบดิบๆด้วยอิฐและปูนเปลือยที่เป็นผนังเดิมจนทำให้โรงแรมแห่งนี้ได้รับรางวัล Thailand Boutique Awards
 
(2) “Caturday Café” คาเฟ่แมวที่ออกแบบการสร้างประสบการณ์ผ่านองค์ประกอบของแบรนด์ ได้อย่างชัดเจนทำให้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากร้านคาเฟ่ร้านอื่นๆ  เช่น มาสคอตหน้าร้าน นาฬิกา จานรองแก้ว แก้วน้ำ เมนูอาหารนอกจากนี้ยังมีของระลึกให้ลูกค้าได้เลือกซื้อสะสมได้หลากแบบ หลากสี เช่น ผ้าคลุมไหล่ พวงกุญแจ เคสโทรศัพท์มือถือ

2. สร้างความรู้สึก หรือ Feeling ดีๆให้กับลูกค้า
 
 
 การสร้างประสบกาณ์ผ่านทางความรู้สึกซึ่งเป็นการทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ซึ่งการที่ลูกค้าจะรู้สึกดีได้นั้นก็เกิดจากปัจจัยหลายอย่างเช่น รู้สึกดีที่บริการตอบสนองได้ตรงจุด , รู้สึกดีที่มีบริการเกินความคาดหมาย , รู้สึกดีที่เห็นแล้วประทับใจ รวมถึง รู้สึกดีเหมือนกับได้เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ตัวอย่างของธุรกิจบริการดีๆที่ใช้กลยุทธ์สร้าง FEELING ให้ลูกค้าเช่น
 
(1)Petxi Limo บริการขนส่งสัตว์เลี้ยง ที่รู้จักสร้างความประทับใจให้ลูกค้าด้วยการให้พนักงานพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อลูกค้าเพื่อให้เข้าใจตรงกันและทำงานบริการให้เป็นไปตามความต้องการนั้น
 
(2) โรงแรมพระนครนอนเล่น มีการบริการแบบเพื่อน ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนมาพักที่บ้านเพื่อน ไม่ใช่ในฐานะแขกผู้มาเยือน ซึ่งมีการสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
 
3. สร้างงานบริการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงการแก้ปัญหา (Think)
 
 

งานบริการที่ดีที่จะอยู่ในใจของลูกค้าไม่ใช่จะมีแต่ด้านเสริมสร้างความสุขอย่างเดียว งานบริการที่ครองใจลูกค้าได้ส่วนหนึ่งต้องมาจากธีมของงานบริการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความตระหนักและนึกคิดถึงปัญหาที่ตัวเองมีโดยที่งานบริการนั้นคือทางออกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยหลักของการสร้างงานบริการโดยยึดเอาแนวทางนี้มีด้วยกันหลากหลายวิธีคิด

เช่น สร้างความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นใด , การสร้างงานบริการที่ปรับเปลี่ยนไปตามปัญหาของแต่ละบุคคลรวมถึงต้องรู้จักการสานสัมพันธ์ให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้งด้วย ตัวอย่างของงานบริการในประเภทนี้เช่น
 
(1) MyBeBe Spa สปาเด็กที่แรกของประเทศไทย แต่ในต่างประเทศนั้นมีมานานแล้วการเริ่มต้นสปาเด็กจึงเป็นความแตกต่างในงานบริการที่ชัดเจนและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าการให้เด็กเข้ามาทำสปาจะได้รับประโยชน์ที่สำคัญอย่างไรบ้าง
 
(2) Yunomori Onsen ธุรกิจสปาและออนเซน ที่เด่นในงานบริการแบบปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้าโดยมีใบสำหรับเช็คความต้องการว่า อยากให้นวดตำแหน่งไหนเป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงบริเวณไหน น้ำหนักในการนวดหนักเบาเท่าไหร่ รวมถึงการเลือกกลิ่นอโรมา ทั้งนี้ถือว่านี่คืองานบริการที่มีความเด่นชัดเฉพาะตัวบุคคลมากที่สุดด้วย
 
4.สร้างงานบริการที่ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้ (Behavior)

 
 
อาจจะดูแล้วก็ งงๆกันสักหน่อยว่างานบริการอะไรที่จะต้องทำให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม งานบริการประเภทนี้ส่วนใหญ่ที่เด่นชัดจะเน้นหนักไปทางสถานสุขภาพต่างๆ ที่ต้องรู้จักการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ลูกค้าได้เปลี่ยนพฤติกรรมแบบเก่าเพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือจะเอาให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกับกระแสสังคมผู้สูงอายุที่มากขึ้น

สถานดูแลคนชราที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นก็ควรยึดหลักการนี้ไว้เช่นกัน เพราะการทำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้สูงอายุเองซึ่งถ้าสถานบริการไหนสามารถทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและอยากเข้าไปใช้บริการกันมากขึ้นนั่นเอง
 
หัวใจของงานบริการที่แท้จริงไม่ใช่แค่เรื่องของผลกำไรแต่คือความเชื่อมั่น เชื่อใจที่ผู้ประกอบการต้องสร้างให้ลูกค้ารู้สึกได้ เมื่อรู้สึกดี รู้สึกมั่นใจก็เป็นการการันตีคุณภาพงานบริการของธุรกิจนั้นๆ เรื่องผลกำไรจึงค่อยตามมา ธุรกิจบริการจึงเป็นงานที่สลับซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป ต้องอาศัยใจรักและชื่นชอบอย่าแท้จริงเป็นสำคัญด้วย
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,794
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,407
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
721
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
643
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
561
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
491
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด