บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การบริหารเงินส่วนบุคคล
3.0K
2 นาที
11 พฤศจิกายน 2559
6 เทคนิค SMEs บริหารเงินสู้เศรษฐกิจ

 
ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ทำให้เจ้าของธุรกิจ รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs ต้องคิดหนัก

ว่าจะบริหารจัดการเงินอย่างไร เนื่องจากขายของไม่ได้ เพราะผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ

บางรายที่ยังพอขายได้ ก็ต้องเจอกับการขอยืดเวลาการจ่ายเงินของคู่ค้า หรือแย่สุดคือเก็บเงินไม่ได้เลย ซึ่งทำให้เงินที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจสะดุดตามไปด้วย
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงอยากนำเสนอเทคนิคการบริหารจัดการเงิน แบบง่ายๆ ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไว้ต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ น่าจะสามารถช่วยให้ SMES ประคองตัวให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ 

1.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 

 
จัดลำดับความสำคัญให้ได้ สิ่งไหนยังไม่จำเป็นก็ลดการใช้จ่าย อะไรที่ประหยัดได้ก็ควรประหยัด เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง หรือการสต๊อกวัตถุดิบ เป็นต้น การมีสภาพคล่องทางการเงินในช่วงเศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตที่ดี ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่ายลงได้  
 
2.ดูกระแสเงินสดอย่างใกล้ชิด 

 
ด้วยการเดินบัญชี (Statement) อย่างสม่ำเสมอ หรือการการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะทำให้ผู้ประกอบการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ รวมถึงสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจ ว่ามีเงินหมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ จะได้วางแผนการเงินไว้รองรับ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย
 
3.ชะลอการลงทุน 


 
ผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้จักประเมินความจำเป็นให้รอบด้าน เพราะช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้ ไม่ควรเสี่ยงที่จะลงทุน แต่หากพิจารณาแล้วว่าเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจก็ควรคว้าไว้ และควรกลั่นกรองวางแผนอย่างรอบคอบ ที่สำคัญอย่านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

บางคนอาจมองว่าการนำเงินตรงนี้นิดไปโปะตรงนั้นหน่อย เป็นเรื่องไม่เสียหายอะไร แต่หารู้ไม่ว่ามันส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้อย่างมหาศาล เพราะลืมคิดไปว่า เงินที่ว่านี้ก็คือสภาพคล่องของธุรกิจ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นก็มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจชะงักงันได้เลยทีเดียว
 
4.รักษาคุณภาพของลูกหนี้ 


 
นาทีนี้การขายของไปแล้วได้เงินสดมาถือไว้ในมือนั้นอุ่นใจที่สุด เพราะมีความไม่แน่นอนจากการขายเชื่อสูง ว่าขายไปแล้วจะเก็บเงินได้หรือไม่ เนื่องจาก SMEs ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะขายเงินสดแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นก็ต้องจัดสรรความเสี่ยงตรงนี้ให้สมดุล

นอกจากนี้ต้องรู้จักเลือกลูกค้า หรือลูกหนี้ โดยเลือกลูกค้าเก่าที่ค้าขายคุ้นเคยกันอยู่แล้ว หรือหากเป็นลูกค้าใหม่ ก็พิจารณาที่มีความน่าเชื่อถือ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประวัติดี ซึ่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้สามารถสอบถามจากคนในท้องที่ได้ หรือหากเป็นคู่ค้าใหม่ในต่างประเทศ ก็ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้จากหน่วยงานราชการ
 
5.ยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ตามจำเป็น 

 
หากมีความจำเป็นจริงๆ ควรเจรจากับคู่ค้า เพื่อต่อรองขอยืดระยะเวลาการจ่ายเงินออกไปก่อน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในกิจการ นอกจากนี้หาก SMEs มีภาระผ่อนเงินกู้กับสถาบันการเงิน แต่เงินหมุนเวียนไม่ทันจริงๆ

ในกรณีนี้ SMEs ควรเข้าไปปรึกษาสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ไปตามตรง เพื่อร่วมกันแก้ไขหาทางออกก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป พึงระลึกไว้เสมอว่า การรักษาเครดิตเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก
 
6.หมั่นติดตามข่าวสาร 
 
ในภาวะเช่นนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ทันการณ์ ไม่ว่าจะเลวร้ายแค่ไหน หากมีการเตรียมความพร้อม ปัญหาก็จะบรรเทาลงได้ รวมถึงจะได้ทราบข้อมูลข่าวสารความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน 
 
จะเห็นว่าในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ก็คือ การบริหารเงินหรือสภาพคล่องอย่างมีสติ มีวินัย และเตรียมตัวให้พร้อมกับทุกสถานการณ์ แล้วธุรกิจของคุณจะยืนหยัดผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างภาคภูมิครับ 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด