บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    บริหารทีมงาน พนักงาน
3.0K
2 นาที
3 เมษายน 2560
5 วิธีเทรนเนอร์ สร้างให้คนอยากทำงานเป็นทีม

 
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งภายในองค์กรหรือแม้แต่ในการทำธุรกิจที่ต้องมีทีมงานมีลูกน้อง นั้นคือการไม่ร่วมมือกันทำงานส่งผลให้เกิดความเสียหายและทำให้ประสิทธิภาพของการทำธุรกิจนั้นเติบโตไม่เต็มศักยภาพ

โดยเฉพาะความคิดของใครหลายคนที่มองว่าการทำงานตัวคนเดียวจะดีกว่าการทำงานเป็นทีมโดยกล่าวอ้างเหตุผลนานาประการที่สุดท้ายแล้วก็จะปฏิเสธการทำงานในลักษณะทีมซึ่งเป็นเรื่องอันตรายที่ธุรกิจทั้งหลายต้องแก้ไขโดยเร็ว
 
และในฐานะที่เจ้าของกิจการเองมีส่วนสำคัญในการกำหนดบทบาทและโครงสร้างการทำงาน ก็ควรให้ทักษะของการพูดในการโน้มน้าวใจและชี้ให้เห็นข้อดีของการทำงานเป็นทีมซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมความรู้มาให้คนที่ต้องทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์หรือสอนคนในองค์กรให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมว่าดีกว่าการทำงานตัวคนเดียวอย่างไร

ทั้งนี้เหล่าเทรนเนอร์เองก็ต้องรู้จักการวิเคราะห์แนวทางของปัญหาเพื่อจะสร้างหัวข้อในการนำเสนอได้อย่างตรงประเด็นเพื่อทำให้การสื่อสารมีคุณภาพและสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กรได้ดีขึ้น
 
1.หาสาเหตุของการทำงานคนเดียว


ภาพจาก pixabay 

ก่อนที่จะเทรนด์ให้คนในองค์กรรู้จักการทำงานเป็นทีมว่าดีและมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ผู้เป็นเทรนเนอร์ต้องวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้บางคนชอบการทำงานแบบตัวคนเดียว โดยต้องวิเคราะห์ว่าปัญหาที่เขามีคืออะไรถึงทำให้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของความคิด ความรู้สึก เช่น คิดว่าตัวเองเก่งกว่า หรือรู้สึกว่าคนอื่นทำงานได้ดีไม่เท่าตัวเอง

รวมถึงความคล่องตัวที่มักถูกใช้เป็นข้ออ้างเสมอๆ ยังไม่รวมเรื่องปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน ทั้งหมดนี้คนเป็นเทรนเนอร์ต้องพยายามหาเหตุผลให้ได้เพื่อให้แก้ไขและแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
 
2.ชี้ให้เห็นข้อดีของการทำงานเป็นทีม

ภาพจาก pixabay
 
คงไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีกว่าการชี้ให้เห็นถึงด้านบวก โดยเฉพาะเรื่องการทำงานเป็นทีมที่คนเป็นเทรนเนอร์สามารถรวบรวมเอาข้อดีของการทำงานเป็นทีมมาเป็นหัวข้อในการบรรยายให้พนักงานได้มองเห็นคุณค่า ได้มองเห็นประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง

รวมถึงการพูดเพื่อให้พนักงานผ่อนคลายและสบายใจกับการทำงานเป็นทีมที่ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายใดๆ ยิ่งถ้ามีการยกตัวอย่างหรือทำให้พนักงานมองเห็นภาพควบคู่การอธิบายก็จะยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น
 
3.นำมาปฏิบัติจริงอย่างไร
 

ภาพจาก pixabay 

ทั้งนี้เมื่อสามารถอธิบายให้พนักงานได้มองเห็นความสำคัญและชี้ให้เห็นประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมได้เรียบร้อยสิ่งสำคัญที่สุดคือการนำสิ่งที่เรียนรู้เหล่านั้นมาฝึกปฏิบัติให้ใช้งานได้จริง

ทั้งนี้ถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานโดยบางคนอาจเก่งทฤษฏีแต่พอปฏิบัติจริงก็จะมีปัญหาแตกต่างกันไปทำให้ไม่เกิดผลได้เต็มที่การลงมือปฏิบัติคือการเรียนรู้ปัญหาร่วมกันในอีกมิติหนึ่ง

รวมถึงเป็นการหาทางออกในปัญหาที่เกิดขึ้นจริงระหว่างการทำงานเพื่อให้แก้ไขและสร้างความเข้าใจร่วมกันได้ง่ายขึ้น เป็นกลยุทธ์สำคัญของการเป็นเทรนเนอร์ที่ไม่ใช่จะดีแค่เนื้อหาแต่ต้องให้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ถือเป็นก้าวแรกของการทำงานเป็นทีมที่ดีด้วย

4.สร้างแรงจูงใจให้รู้สึกคล้อยตาม

ภาพจาก pixabay
 
การใช้เนื้อหาที่เน้นเรื่องราวประกอบนั้นเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในการสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกอยากจะทำตาม ทั้งนี้เทรนเนอร์ที่ดีก็ต้องมองหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้พนักงานได้เห็นดีด้วยกับแนวคิดที่นำเสนอ โดยอาจหาข้อมูลเรื่องการสร้างแรงจูงใจได้จากสื่อทางโซเชี่ยลทั้งบทเพลง คลิปวีดีโอ ที่มีอยู่จำนวนมากหากเราสร้างแรงจูงใจได้แล้ว

ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม ก็จะเริ่มปรากฎให้เห็นทีละน้อย พนักงานจะเริ่มมีความเห็นคล้อยตาม จนมองเห็นข้อดีของการทำงานเป็นทีม นั้นก็เท่ากับว่าการจูงใจของเรานั่นเริ่มได้ผลเป็นที่เรียบร้อย

5.ถามความรู้สึกของพนักงาน

ภาพจาก pixabay
 
เมื่อเราได้กระตุ้นความรู้สึกของพนักงานแล้ว สิ่งหนึ่งที่เทรนเนอร์มักมองข้ามไปไม่ได้ คือ การถามความรู้สึก โดยควรถามว่าหลังจากที่ได้ฟังไปแล้ว เขารู้สึกอย่างไร พอจะให้ความร่วมมือได้หรือไม่ หรือไม่เช่นนั้น เทรนเนอร์อาจจะถามคำถามอื่น เช่น รู้สึกอย่างไรหากการทำงานเป็นทีม จะทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น หากเราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เราจะรู้สึกอย่างไร เป็นต้น

คำถามเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกให้อยากทำตาม และให้ความร่วมมือมากขึ้น แม้ว่าวิธีการจะไม่ได้เกิดผลในทันที แต่อย่างน้อยก็จะทำให้พนักงานนึกได้ว่ามีวิธีการนี้อยู่ หากจะนำมาปรับใช้เมื่อไรก็ย่อมทำได้ เพราะเคยมีคนชี้นำแนวทางไว้แล้ว
 
จะเห็นได้ว่าปัญหาของคนที่ชอบทำงานคนเดียวไม่ใช่ว่าเขาจะปฏิเสธการทำงานเป็นทีมแต่บางครั้งอาจเกิดมาจากความมั่นใจมากเกินไปหรือบางครั้งก็เกิดจากความไม่มั่นใจว่าจะทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือไม่

คนที่เป็นเทรนเนอร์ต้องมองปัญหาเหล่านี้ให้ลึกซึ้งเพื่อสร้างเนื้อหาในการนำเสนอที่ตรงประเด็นและชัดเจน รวมถึงการใช้ทักษะในการพูดที่ดีนอกจากนี้ควรมีประเมินผลหลังการนำเสนอเพื่อดูว่าสิ่งที่ได้สื่อสารออกไปนั้นใช้ได้ผลดีกับผู้ที่เข้ารับการอบรมหรือรับฟังได้แค่ไหน
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม

ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,646
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,314
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
519
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
457
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด