บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
2.7K
2 นาที
21 กรกฎาคม 2560
SME ขอสินเชื่อใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน มีชัยไปกว่าครึ่ง

ปัจจุบันการขอกู้เงินจากธนาคารของผู้ประกอบการ SME มีทั้งใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งถ้าหากไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน อาจทำให้การอนุมัติสินเชื่อของธนาคารเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะธนาคารต้องพิจารณาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสของ SME ถ้าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ธนาคารจะให้สินเชื่อได้ง่าย เพราะผู้ที่ได้รับสิทธฺแฟรนไชส์ได้รับการพิจารณากลั่นรองจากเจ้าของแฟรนไชส์มาแล้ว
 
แต่ถ้า SME มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันกับทางธนาคาร ก็จะช่วยให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายกว่าการไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาท่านผู้ประกอบการ SME ไปว่าถ้าหากจะไปขอสินเชื่อธนาคาร 
 
โดยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน จะสามารถใช้หลักทรัพย์อะไรบ้างในการค้ำประกัน เพื่อให้ธนาคารอนุมัติเร็วขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลที่มีประโยชน์จากธนาคารกรุงศรี มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ 
 
1.ใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
 
ขอสินเชื่อวงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท - 12 ล้านบาท หากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) สามารถใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารมาค้ำประกันเงินกู้ได้ 
 
ดอกเบี้ยที่จะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% - MRR+3% แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยครับ
อย่างไรก็ตาม หาก SME ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากๆ วงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท ก็สามารถนำบัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้เช่นกัน

โดยกรณีนี้ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อโดยตรง ทำเรื่องขอสินเชื่อในกรณีพิเศษ หากเป็นเงินกู้วงเงินมากๆ ธนาคารจะถือว่าเราเป็นลูกค้าพิเศษ โดยดอกเบี้ยที่ SME จะได้รับก็คือ MOR+1.25% - MLR+1.50% ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME ว่ามีแนวโน้มเติบโตมากน้อยแค่ไหน
 
2.ใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
 
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ได้แก่ โรงงาน ที่พักอาศัย (บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม) และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น โดยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างสามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ SME ได้โดยวงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท - 12 ล้านบาท 
 
หากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) เมื่อนำสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ ดอกเบี้ยที่จะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% - MRR+3% แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
 
กรณีการขอกู้แบบจุใจ 20 ล้านบาท การใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาค้ำประกัน ก็สามารถยื่นขอกู้ได้เช่นกัน เช่นเดียวกับกรณีแรก หากเป็นเงินกู้วงเงินมากๆ ธนาคารจะถือว่าเราเป็นลูกค้าพิเศษ โดยดอกเบี้ยที่ SME จะได้รับก็คือ MOR+1.25% - MLR+1.50% ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME ว่ามีแนวโน้มเติบโตมากน้อยแค่ไหน
 
3.การเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับเงินกู้ SME 
 
ค่าธรรมเนียมครั้งแรกในการจัดวงเงินสินเชื่อนั้น หรือ Front-End-Free นั้นจะสูงสุดไม่เกิน 2% ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติ (ขั้นต่ำ 20,000 บาท) และเจ้าของธุรกิจ SME ควรเตรียมค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นไปตามประกาศของธนาคาร อย่างไรก็ตาม วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ธนาคารให้ได้ในบางกรณีจะไม่เกิน 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน 
 
หมายความว่า หากเราต้องการกู้เงิน 3 ล้านบาท ถ้าเรานำบัญชีธนาคารไปค้ำประกัน เราควรมีเงินสดในบัญชีอย่างน้อย 1 ล้านบาท และที่สำคัญในบางกรณี จะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อในปีแรกด้วย 
 
หากเราใช้บสย.(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) เป็นผู้ช่วยในการค้ำประกัน โดยเจ้าของกิจการ SME สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับทางเจ้าหน้าที่สินเชื่อได้โดยตรง
จะเห็นได้ว่าการเตรียมข้อมูลก่อนไปขอสินเชื่อย่อมได้เปรียบอย่างมาก เพราะหากเราไม่พร้อม และไม่ได้เตรียมหลักทรัพย์ค้ำประกันได้อย่างถูกต้องครบถ้วน โอกาสที่ SME จะถูกปฏิเสธสินเชื่อก็เป็นไปได้สูง จะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปด้วย 
 
SME สามารถเข้าไปดูสินเชื่อแต่ละประเภทของธนาคารต่างๆ https://www.thaifranchisecenter.com/loan/
อ่านบทความ SMEs อื่นๆ goo.gl/3wh2Yo
 

Tips
  1. ใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  2. ใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  3. การเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับเงินกู้ SME 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด