บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.1K
3 นาที
23 สิงหาคม 2560
10 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ In-N-Out ร้านเบอเกอร์ในอเมริกา

 
ภาพจาก goo.gl/GZyziG

พูดถึงตลาดฟาสฟู้ดต์ในอเมริกาเราคงจะนึกถึง McDonald's หรือ Burger King ที่เป็นยักษ์ใหญ่ในบ้านเราซึ่งงานนี้ขอบอกเลยว่าไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะร้านที่เป็นชื่อรองและไม่แบรนด์เนมอย่าง Five Guys , Shake Shake หรือ In-N-Out Burger กลับมีคนพูดถึงมากกว่า

โดยร้านที่กล่าวมานี้คนอเมริกาได้นำมารีวิวเปรียบเทียบกันอยู่บ่อยครั้งว่าแบรนด์ไหนจะอร่อยถูกใจคนอเมริกาที่สุด แต่เนื่องจากฟาสฟู้ดต์ทั้ง 3 แห่งที่ว่านี้ยังไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่นักแม้แต่ในอเมริกาเองก็ยังมีสาขาไม่คลอบคลุมอย่าง Five Guys และ Shake Shake ก็เป็นธุรกิจที่เติบโตได้ดีในฝั่งตะวันออกของประเทศและ In-N-Out Burger ก็เป็นธุรกิจที่คนฝั่งตะวันตกของอเมริการู้จักกันอย่างดี
 
แต่ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com สนใจนั้นคือรูปแบบการทำธุรกิจของ In-N-Out Burger  ที่ถือว่าเติบโตแบบไม่ง้อระบบแฟรนไชส์ซึ่งอาจจะทำให้เป็นธุรกิจที่มีสาขาของตัวเองน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แห่งที่ใช้ระบบแฟรนไชส์มาขยายธุรกิจโดย Five Guys นั้นมีกว่า 1,000 สาขารวมถึงมีสาขาในต่างประเทศอย่างแคนาดา อังกฤษ และยูเออี ส่วน Shake Shake มีร้านสาขาของตัวเอง 66 แห่งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง

แม้จะดูสาขาไม่มากแต่ Shake Shake ก็เอาตัวเองเข้าไปในตลาดหุ้นเรียบร้อย แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ In-N-Out Burger  ที่นอกจากไม่ใช้ระบบแฟรนไชส์ยังไม่สนใจการเข้าตลาดหุ้นอีกด้วย เราลองมาดู 10 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ In-N-Out Burger ให้เห็นภาพชัดเจนว่าในเมื่อไม่ง้ออะไรมากมายขนาดนี้แล้วธุรกิจนี้ทำไมคนถึงสนใจกันนัก

1.เป็นร้านเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสงครามโลก

 
In-N-Out Burger  เป็นร้านฟาสฟู้ดต์เก่าแก่จากแคลิฟอร์เนีย เปิดบริการครั้งแรกในปี 1948 ตั้งแต่สมัยสงครามโลก โดยคู่สามีและภรรยา Harry Snyder & Lynsi Snyder ปัจจุบันเป็นการสืบทอดกิจการในรุ่นที่ 3 ร้าน In-N-Out Burger นั้นมีแฟนคลับเยอะมากถึงขนาดที่มีสินค้าที่ระลึกเป็นของตัวเองขายภายในร้านเลยทีเดียว

2.เน้นการทำธุรกิจแบบครอบครัวไม่สนระบบแฟรนไชส์
 
In-N-Out Burger มีนโยบายชัดเจนว่าไม่รับแฟรนไชส์รวมถึงการไม่เข้าตลาดหุ้น แต่จะขอเน้นความเป็นธุรกิจครอบครัว และขยายตัวอย่างช้าๆซึ่งปัจจุบันก็มีสาขาประมาณ 300 แห่ง กระจายตัวอยู่ในรัฐทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น แคลิฟอร์เนีย แอริโซนา  เนวาดา ยูทาห์ เท็กซัส เป็นต้น  

3.การตลาดของ In-N-Out Burger เน้นใช้ pop-up store เป็นหลัก

 
ถึงแม้จะดูว่า In-N-Out Burger ไม่ได้เน้นตลาดต่างประเทศแต่ทางร้านก็ใช้ระบบของ pop-up store ในการขายแฮมเบอร์เกอร์ที่ดูเหมือนจะได้ผลดีในต่างประเทศเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการเปิด pop-up store ของ In-N-Out Burger ในออสเตรเลียย่าน Surry Hills ถนน Bourke St. โดยเป็นการเช่าพื้นที่ของร้านอาหารและบาร์ Dead Ringer ซึ่งงานนี้ลูกค้าแห่สนใจราวกับแจกฟรีและมีการแจกสายรัดข้อมือสีเหลืองที่ระบุชื่อร้านเอาไว้ ซึ่ง In-N-Out Burger ตั้งเงื่อนไขให้สิทธิการซื้อ 1 คนต่อ 1 ชิ้น ปรากฏว่าแฮมเบอร์เกอร์ขายหมดภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
 
4.In-N-Out Burger มีเมนูแฮมเบอร์เกอร์ 3 รายการเท่านั้น
 
แม้จะเป็นสินค้ายอดนิยมขนาดนี้แต่ In-N-Out Burger ก็มีเมนูเบอร์เกอร์เพียง3 รายการเท่านั้นคือ แฮมเบอร์เกอร์  ชีสเบอร์เกอร์  และ Double-Double (เป็นการผสมระหว่างเนื้อสองและชีสสอง) สำหรับอาหารเมนูอื่นๆ ที่มีบริการเช่น เฟรนช์ฟรายและมิลค์เชค ราคาของ In-N-Out Burger นั้นค่อนข้างจะถูกกว่าคู่แข่งรายอื่นโดยเริ่มต้นที่ 2.10 ดอลลาร์เท่านั้น
 
5.พนักงานของ In-N-Out Burger นั้นใส่ใจรายละเอียดลูกค้าทุกคน

 
วิธีการเสิร์ฟสินค้าของ In-N-Out Burger คือจะต้องมีการใส่ผักกาดแก้วและมะเขือเทศ ราดซอสเทาซันไอแลนด์ โดยลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใส่หัวหอมหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่พนักงานจะคอยถามลูกค้าตอนมาสั่งสินค้า  รวมถึงหากอยากได้สินค้าที่มิกซ์แอนด์แมทวัตถุดิบก็สั่งที่เคาร์เตอร์ได้เช่นกัน

6.สไตล์แต่งร้านเน้นอารมณ์ย้อนยุคแบบชิลๆ
 
การตกแต่งและบรรยากาศในร้านก็จะให้สไตล์ความเป็นครอบครัวมากสักหน่อยได้อารมณ์เหมือนเป็นร้านฟาสฟู้ดต์แบบย้อนยุค สีที่เป็นสัญลักษณ์ของ In-N-Out Burger คือโทนสีขาวแดงและมีสีเหลืองแซมบ้างเล็กน้อย สำหรับใครที่เคยไปทาน In-N-Out Burger ก็จะรู้ได้ทันทีว่าอารมณ์เหมือนกินแฮมเบอร์เกอร์ที่บ้าน
 
7.ใช้ระบบครัวเปิดเป็นเสน่ห์ของธุรกิจ

 
เสน่ห์ของร้าน In-N-Out Burger อีกอย่างคือการเป็นครัวเปิดที่ให้ลูกค้าได้เห็นบรรยากาศการทำอาหารอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากฟาสฟู้ดต์ที่เราเห็นทั่วไปซึ่งจะมีแค่เคาเตอร์ด้านหน้าไว้รับออร์เดอร์แต่ที่ In-N-Out Burger เราเห็นได้ทุกขั้นตอนของการทำ เห็นพ่อครัวทุกคน เป็นเอกลักษณ์อีกด้านที่ In-N-Out Burger มีไม่เหมือนใคร
 
8. In-N-Out Burger มีระบบฟาร์มผลิตวัตถุดิบของตัวเอง
 
และเนื่องจากทางร้านไม่ได้มีเมนูอาหารมากมายนักทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบได้ทั้งหมดและเรื่องวัตถุดิบนี้ก็เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ครองใจลูกค้าอเมริกันได้อย่างดีเนื่องจากอระบบการผลิตอาหารของ In-N-Out Burger ไม่ใช่การแช่งแข็ง ไม่มีระบบอุ่นร้อนหรือไมโครเวฟอย่างที่ร้านฟาสต์ฟู้ดทั่วไปใช้ บริษัทเลี้ยงวัวไว้ล้มเอง อบขนมปังเองและส่งวัตถุดิบสดๆ มาปรุงอาหารจากฟาร์มของตัวเอง ทำให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารที่เรียกว่าสดใหม่แบบที่ฟาสฟู้ดต์รายอื่นไม่มี
 
9.พนักงานของ In-N-Out Burger ได้รับอาหารฟรี 1มื้อด้วย

 
ด้วยระบบการดูแลกันเป็นครอบครัว พนักงานของ In-N-Out Burger ก็เป็นเหมือนคนหนึ่งในครอบครัวเช่นกันด้วยเหตุนี้ทางร้านจึงมีนโยบายให้พนักงานทุกคนสามารถสั่งอาหารรับประทานได้ฟรี  1 มื้อ แต่ก็ไม่ใช่จะสั่งได้ทุกอย่างมีเว้นแค่มันฝรั่งทอด กับ มิลค์เชคเท่านั้นที่สั่งไม่ได้ ก็แสดงว่างานนี้แฮมเบอร์เกอร์กินฟรีได้นั่นเองสำหรับพนักงาน
 
10.ข้อกำหนดเรื่องการแต่งกายของ In-N-Out Burger 

 
พนักงานของ In-N-Out Burger กล่าวว่าเรื่องการแต่งกายก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ In-N-Out Burger กำหนดโดยจะต้องเป็นการสวมใส่กางเกงที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความร้อนจากอาหารได้ใช้สำหรับการส่งอาหารนอกพื้นที่รวมถึงจะต้องใส่หมวกและมีอุปกรณ์เชื่อมต่อไว้ติดต่อพูดคุยกันโดยสะดวก และพนักงานผู้หญิงก็ต้องเก็บรวบผมเอาไว้ใต้หมวกให้เรียบร้อยด้วย
 
เรียกได้ว่า In-N-Out Burger เป็นธุรกิจที่มีจุดยืนในตัวเองอย่างแข็งแกร่งและสามารถเติบโตได้อย่างดีในระบบธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งจะว่าไปแล้วการยืนหยัดและแสดงจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจนคือ Brand Awareness ที่สำคัญมาก ก็คงต้องชมทีมบริหารที่สามารถทำให้ In-N-Out Burger เดินหน้าในเส้นทางของตัวเองได้อย่างน่าชื่นชมจนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจไทยหรือธุรกิจที่คิดจะเริ่มต้นใหม่ควรดูไว้เป็นแบบอย่างกับการสร้างจุดยืนตัวเองที่ชัดเจนไม่โลเลโอนเอียงไปมา อันเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการสร้างความสำเร็จในการทำธุรกิจ
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/szbR2J
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,794
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,407
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
729
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
643
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
562
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
492
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด