บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
6 กันยายน 2560
ตามไม่เห็นฝุ่น! ระบบการศึกษาฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก Vs  ไทยแลนด์


 
จากการจัดอันดับของ World Economic Forum : WEF ในปี 2017 เกี่ยวกับระบบการศึกษานั้นปรากฏฟินแลนด์ได้ตำแหน่งการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกไปซึ่งเป็นการสอบถามคนที่ทำงานในต่างประเทศ 14,300 คน ซึ่งมาจาก 174 ประเทศ และอาศัยอยู่ใน 191 ประเทศปรากฏว่ากว่า 70% นั้นยกเรื่องการศึกษาให้กับฟินแลนด์ทำให้ค่าเฉลี่ยนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งโลกที่ 21%

ส่วนสิงคโปร์ครองอันดับ 2 ตามมาด้วยสวิตเซอร์แลนด์และเกาหลีใต้ คำถามที่ตามมาในฐานะของคนไทยคือ แล้วอันดับการศึกษาในบ้านเราไปอยู่ตรงไหน หากอ้างอิงจากรายงานเดียวกันนี้จาก 174 ประเทศทั่วโลกของเราอยู่ในลำดับที่ 155 ซึ่งเรียกได้ว่าตามไม่เห็นฝุ่นกับระบบการศึกษาของฟินแลนด์เลยทีเดียว
 
จึงเป็นความน่าสงสัยและน่าสนใจว่าเหตุใดฟินแลนด์ถึงได้รับการยกย่องว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกและประเทศไทยเท่าที่ดูก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นแต่ทำไมถึงไม่ติดอันดับโลกแถมยังไปอยู่โซนท้ายๆอีกต่างหาก และถ้าจะมองให้ลึกกว่านั้นทุกวันนี้เราก็มีการปฏิรูปการศึกษาแล้วเช่นนี้จะสามารถยกระดับการศึกษาขึ้นมาได้ดีแค่ไหน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ลองเอาเรื่องนี้มาพูดคุยพอให้มองเห็นภาพสักเล็กน้อยจะได้มีแนวทางการต่อยอดการศึกษาในเมืองไทยที่ถูกที่ถูกทางได้มากขึ้น
 
เรื่องที่ไทยถูกจัดอันดับการศึกษาในโซนท้ายๆย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ทั้งนี้การศึกษาที่ดีคือรากฐานของเศรษฐกิจที่ดีเช่นกันด้วยเหตุนี้ อย่างที่เราทราบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาได้ระบุเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเอาไว้ชัดเจน

โดยให้เน้นแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนอย่างไรก็ดีหากเราลองมาวิเคราะห์เรื่องต่อเรื่องของการศึกษาไทยทำไมแตกต่างกับฟินแลนด์เราจะเห็นสิ่งที่แตกต่างด้วยกัน 5 เรื่องคือ
 
1.ระบบการศึกษาที่แตกต่าง


 
ภาพจาก goo.gl/Qcf4m5

ในขณะที่การศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลของไทย ดูเหมือนจะเป็นการเรียนและท่องจำไปเพียงเพื่อสอบ แต่ระบบการศึกษาในประเทศฟินแลนด์เน้นไปที่ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเป็นการศึกษารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Phenomenon-Based Learning (PBL)

ซึ่งเป็นการเรียนที่มาจากหัวข้อหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นการเรียนในลักษณะของโครงงานที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มและมีเนื้อหาการเรียนครอบคลุมหลายวิชา โดยที่ไม่ได้มุ่งเน้นศึกษาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงเช่นระบบการศึกษาทั่วไปที่หากศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ก็จะมุ่งเรียนเรื่องการคำนวณเพียงอย่างเดียว

2.การเข้าถึงที่ไม่ทั่วถึง

 
ภาพจาก goo.gl/Qcf4m5

ในขณะที่ประเทศไทยโรงเรียนชื่อดังจะอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆตามเมืองใหญ่ๆเป็นหลัก แต่ในพื้นที่ห่างไกลออกไปของบ้านเราจะหาโรงเรียนในลักษณะใกล้เคียงกับในตัวเมืองนั้นยากมาก ไม่ต้องพูดถึงค่าเทอมที่แตกต่างกันไปไม่อยู่ในเรทมาตรฐานเดียวกัน แต่ในฟินแลนด์ในฐานะที่เป็นรัฐสวัสดิการและมีประชากรแค่ประมาณ 5 ล้านคน

นักเรียนทุกคนในฟินแลนด์จะมีโอกาสได้เรียนฟรีจนจบชั้นปริญญาโทและมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยโรงเรียนส่วนมากเป็นโรงเรียนรัฐบาล ที่มีคุณภาพเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะอยู่ในตัวเมืองหรืออยู่ในชนบท ในฟินแลนด์จะเน้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน การคมนาคมขนส่งก็สะดวกสบาย หากโรงเรียนไกลจากบ้านของนักเรียนเกินกว่า 5 กิโลเมตร ก็จะมีรถรับส่งนักเรียนฟรีด้วย

3.มาตรฐานในการสอนของบุคลากรทางการศึกษา

 
ในขณะที่หน้าที่ของคุณครูในโรงเรียนไทยทั่วไปมีมากมายตั้งแต่งานสอนหลายชั่วโมงต่อวันหรือต่อสัปดาห์ งานตรวจการบ้าน งานบริหาร งานดูแลความประพฤติเด็ก งานด้านกิจกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย ในประเทศฟินแลนด์หน้าที่ของครูมีเพียงการสอนและตรวจการบ้านเท่านั้น

ไม่มีการงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารใด ๆ โดยเฉลี่ยแล้วงานสอนของครูในฟินแลนด์มีเพียง 120 – 180 นาที หรือ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน พร้อมวันหยุดพักผ่อนยาว เพื่อให้ครูไม่เครียดจนเกินไป และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด

4.จำนวนคาบเรียนที่มากเกินไปก็ใช่ว่าจะดี

 
ภาพจาก goo.gl/Qcf4m5

คนไทยอาจจะรู้สึกว่าถ้าจะเรียนให้เก่งต้องมีชั่วโมงเรียนให้มาก มีการบ้านเยอะเพื่อฝึกทบทวน นั้นก็ทำให้เด็กไทยแต่ละคนเข้าเรียนเฉลี่ยวันละ 6-9 ชม. แถมมีการบ้านอีกเพียบ ยังไม่รวมเรื่องการเรียนพิเศษนอกเวลา แต่ในฟินแลนด์ เด็กจะเข้าเรียนไม่เกินวันละ 5 ชม. และมีนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 20 คน หลังเลิกเรียนก็ไม่มีการบ้าน ไม่มีการสอบแบบให้เด็กต้องอ่านหนังสืออย่างหนัก แต่จะเน้นการวัดผลตามช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เด็กเครียดและแข่งขันกันเป็นที่หนึ่ง
 
5.วิธีการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาในระบบการศึกษา

 
อาชีพครูในฟินแลนด์ถือว่ามีเกียรติมากและได้เงินเดือนเทียบเป็นเงินไทยกว่า 130,000 บาท แต่การจะมาเป็นครูในฟินแลนด์ได้ต้องมีคุณสมบัติคือจบการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขานั้นๆ รวมถึงมีการคัดเลือกอย่างเข้มงวดอัตราการแข่งขันอยู่ที่ประมาณ 20 คนต่อ1 ตำแหน่งและจำกัดการสมัครคัดเลือกแค่ 10 ครั้งเท่านั้น
 
เหล่านี้คือภาพรวมที่ทำให้เรามองเห็นว่าเหตุใดการศึกษาบ้านเราจึงยังตามอีกหลายประเทศอยู่เยอะมาก เรื่องนี้ต้องได้ความร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และบุคคลทั่วไป พื้นฐานการศึกษาดี เศรษฐกิจก็เติบโตดีขึ้น ตรรกกะที่ดูเหมือนง่ายๆแต่ที่จริงทำยากถ้าไม่ตั้งใจทำจริงๆ
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
 
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก goo.gl/Qcf4m5
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,794
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,407
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
729
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
643
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
562
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
492
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด