บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
3.0K
2 นาที
12 กันยายน 2560
อีคอมเมิร์ซบูม ดันโลจิสติกส์โต! ตลาดนี้ยังแบ่งกันกินได้อีกเยอะ  

 
ภาพจาก https://th.kerryexpress.com

การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้ส่งผลให้รูปแบบการขนส่งต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเน้นไปที่บริการการขนส่งแบบด่วน โดยมีบริษัทขนส่งต่างชาติเข้ามาให้บริการมากขึ้น โดยวิธีการเข้ามาลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบการร่วมทุน และการเข้ามาเปิดสาขาในไทย 
 
โดยข้อได้เปรียบของบริษัทบริการขนส่งจากต่างประเทศ คือ มีเงินลงทุนจำนวนมาก พร้อมที่จะลงทุน อีกทั้งภาพลักษณ์เป็นที่รู้จักย่างแพร่หลาย เพราะได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง
 
ขณะที่บริษัทขนส่งไทยรายใหญ่ๆ ก็มีความพร้อมที่จะต่อยอดธุรกิจ มุ่งเน้นรูปแบบการให้บริการลักษณะขนส่งด่วนเช่นกัน บริษัทเหล่านี้จะได้เปรียบในเรื่องการแข่งขัน และเรื่องต้นทุน เพราะส่วนมากธุรกิจขนส่งเหล่านี้ จะมีการลงทุนในธุรกิจเดิมอยู่แล้ว ทั้งเรื่องรถขนส่ง ศูนย์กระจายสินค้า และทรัพยากรบุคคล
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดขนส่งพัสดุรายย่อยในไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-20% ต่อปี โดยปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวธุรกิจ E-Commerce ในรูปแบบค้าปลีก-ค้าส่ง โดยในแต่ละปีเติบโตสูงถึง 30% โดยทุกวันนี้มีมูลค่า 700,000 ล้านบาท เมื่อการค้าออนไลน์ขยายตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้บริการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน 
 
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดขนส่งพัสดุด่วนมีการแข่งขันสูง ทั้งรายเก่า และรายใหม่ แต่ยังถือเป็น New Market และมีการเติบโตมาก เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นแต่ละรายจะวางตำแหน่งของตัวเองอย่างไร ในสนามการแข่งขันที่กำลังรุนแรง

Kerry Express ปลุกโลจิสติกส์ให้ตื่นตัว

 
ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าการแข่งขันธุรกิจโลจิสติกส์กำลังแข่งขันกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ "เคอรี่ เอ็กซ์เพรส" ทำให้กลุ่มทุนไทยต้องปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับ-ส่ง พัสดุภัณฑ์ รายใหญ่ในประเทศต้องปรับตัว ไม่ต่างกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน
 
 
ภาพจาก goo.gl/TE4LHJ
 
Kerry Express บริการรับของจากหน้าบ้านไปส่งให้ (Door-to-Door) เก็บเงินปลายทาง (COD) ส่งต่างประเทศ, aCommerce รับของจากหน้าบ้านไปส่งให้ (Door-to-Door) เก็บเงินปลายทาง (COD) ส่งต่างประเทศ บริการ Warehouse ขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค, 
 
 
ภาพจาก goo.gl/PtiUSp
 
Siamoutlet ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping พร้อมให้บริการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดผ่าน LINE Group, dpx Ecommerce ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping และยังมีบริการนำเข้าและเคลียร์สินค้าจากต่างประเทศให้ด้วย 
 
MYCLOUD ช่วยจัดเก็บสินค้า (Warehousing) แพ็คของให้ด้วย (Packing) ส่งของ Shipping และยังมีบริการปลีกย่อยอื่นๆที่เหมาะกับเจ้าของธุรกิจ อาทิ บริการรับสินค้าจาก Supplier บริการ QC ของแทนเรา ฯลฯ
 
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ให้บริการที่เน้นการรับส่งของ ไม่เน้นคลังสินค้า เช่น Alphafast ที่ให้บริการความคล่องตัวในการส่งของและเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ในราคาที่ถูก, 
 
 
ภาพจาก goo.gl/HKe6xL
 
Nim Express เครือข่ายขนส่งใหญ่รองจากไปรษณีย์ไทย นอกจากส่งของแล้วยังมีบริการ Warehouse ที่เป็นห้องเย็นเก็บของสด ด้วย หรือกลุ่มของ Sendit และ lalamove ที่ให้บริการส่งของและเอกสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีบริการด่วน ส่งของด่วนถึงที่ภายใน 3 ชั่วโมง ตลอด 24 ชั่วโมง แต่คิดราคาตามระยะทาง

SCG โดดลงร่วมแจมแบ่งเค้ก
 
แม้แต่ “เอสซีจี” (SCG) ถึงได้ร่วมทุนกับ “ยามาโตะ กรุ๊ป” (YAMATO Group) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แมวดำ” ยักษ์ขนส่งพัสดุรายใหญ่อันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 46% จัดตั้ง “บริษัท ยามาโตะ เอเชีย จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 633 ล้านบาท สัดส่วนการถือหุ้น “เอสซีจี” 65% และ “ยามาโตะ กรุ๊ป” 35% 
 
 
ภาพจาก goo.gl/8d38H5
 
โดยให้บริการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ภายใต้ชื่อ “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” (SCG Express) เอสซีจี เองก็ลงมาเล่นตลาดโลจิสติกส์เช่นกัน โดยเปิดตัวธุรกิจใหม่อย่าง เอสซีจี เอ็กซ์เพรส ที่มีการร่วมทุนกับ Yamato Asia โดยเน้นการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน ทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C คาดว่าจะขยายพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศไทย ภายในปี 2018
 
ดีเอชแอล หันมาทำโลจิสติกส์อย่างเต็มตัว หลังจากศูนย์กระจายสินค้า 40 กว่าแห่งได้ผลตอบรับดีเกินคาด จึงต่อยอดโดยใช้กลยุทธ์ขยายจุดรับกระจายสินค้าออกไปในต่างจังหวัด ซึ่งคาดว่าผลตอบแทนจะเติบโตถึง 30-35% และผู้ประกอบการสามารถใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery – COD) ซึ่งมีบริการนำส่งเงินค่าสินค้าคืนผู้ขายเป็นประจำทุกวัน
 
 
ภาพจาก goo.gl/jtqYA5
 
ลาล่ามูฟ แอพฯ บริการขนส่งสินค้า และขนย้ายแบบออนดีมานด์ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ยังขยายฐานลูกค้าในไทยเพิ่มขึ้นถึง 600% ในปีที่ผ่านมา โดยโฟกัสไปที่กลุ่ม SMEs และลูกค้ารายย่อย เน้นความสะดวกต่อธุรกิจคนรุ่นใหม่ คำนวณอัตราค่าบริการโดยอัตโนมัติ โดยคิดค่าบริการพื้นฐานตามระยะทาง และมีรถบริการหลายประเภท
 
นอกจากการส่งของในรูปแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย ยังมีบริการอื่นๆ ที่ช่วยส่งของให้ถึงที่หมายที่น่าสนใจ เช่น ม้าขาว รับ-ส่ง พัสดุขนาดเล็กที่ 7-11 (เซเว่น อีเลเว่น) ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมทั้งสามารถรับชำระเงินผ่านแคชเชียร์ของร้านค้าได้อีกด้วย และ ATT Skybox บริการรับฝากของตามสถานี BTS ต่างๆ
 
เห็นได้ว่าช่วงนี้ ถือว่าวงการบริษัทขนส่งของไทยกำลังก้าวไปอีกขั้น จากเดิมที่เอกชนมีแต่ด่วนและแพง เช่น DHL, Fedex แต่ตอนนี้มีแบบไม่ด่วนมาก แต่ไม่แพง เช่น Kerry, LaLamove, Acommerce, Nim Express etc ออกมาเพียบเลย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตลาดอีคอมเมิร์ซกำลังบูมอย่างมาก จึงทำให้ตลาดโลจิสติกส์ใหญ่ขึ้น จนเริ่มอยู่กันได้
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด